จากภูมิสถาน สู่นามถนน
ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง
16.8784698, 98.8779052
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 601
ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก
การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย
16.8784698, 98.8779052
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 763
พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน
เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น
16.8784698, 98.8779052
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 645
จุดชมวิวถนนลอยฟ้า
จุดชมวิวถนนลอยฟ้านี้ ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล มากถึง 1,100 เมตร เป็นเส้นทางที่จะไปยังอำเภออุ้มผาง โดยระยะทางจากอำเภอแม่สอดไปยังอำเภออุ้มผาง เพียงแค่ 164 กิโลเมตร แต่เส้นทางต้องขี่ลัดเลาะไปตามเขา ซึ่งมีโค้งมาก ถึง 1,219 โค้ง มีทั้งโค้งวงแคบ โค้งวงกว้าง และขับรถยังไม่ทันจะหมดโค้งแรกก็เจอกับโค้งที่สอง ซึ่งคนที่ขับขี่รถบนถนนเส้นนี้จะต้องมีทักษะ ความชำนาญในการขับรถบนพื้นที่ราบสูงและเขา เพราะค่อนข้างอันตราย โดยระหว่างทางจะมีจุดแวะพัก เพื่อให้ชมวิว ที่ตรงนี้ท่านสามารถมองเห็น ธรรมชาติ ความงดงามของแปลงผักที่ปลูกแบบขั้นบันไดของชาวเขาชนเผ่าม้ง
16.2320989, 98.9558527
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,690
ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”
16.4264988, 99.2157188
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,774
ถนนพระร่วง
ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร
16.5681843, 99.4659323
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 3,831
ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร
เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย
16.4699409, 99.5269352
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,990
องค์การบริหารส่วนตําบลหัวถนน
ตำบลหัวถนน ได้ชื่อมาเพราะว่าเมื่อก่อนเป็นตำบลที่เป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างตำบลวังไทร ตำบลคลองสมบูรณ์ จะผ่านไปตำบลคลองขลุง จึงได้ชื่อว่า เป็นหมู่บ้าน ตำบลที่อยู่หัวถนนของตำบล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหัวถนน, หมู่ที่ 2 บ้านโนนดุม, หมู่ที่ 3 บ้านเนินพลับ, หมู่ที่ 4 บ้านหนองขาม , หมู่ที่ 5 บ้านหัวยาง , หมู่ที่ 6 บ้านถนนใหญ่, หมู่ที่ 7 บ้านหนองกระทุ่ม, หมู่ที่ 8 บ้านโนนทัน , หมู่ที่ 9 บ้านหนองกระทุ่มน้อย
16.2556981, 99.6202524
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 1,688
Google search
-
ฐานข้อมูล - 152 ประวัติความเป็นมา
- 170 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 108 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่เล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้สร้างเป็นชาวกะเหรี่ยงในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่า ชื่อว่านายพะส่วยจาพอ ได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก
ต้นกะทกรกจัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่น
ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณป
ร้านอาหาร เจริญโภชนา เปิดให้บริการมานานกว่า 38 ปี จากครอบครัวที่มีใจรักในด้านการทำอาหาร และสูตรหมูแผ่นเครื่องยาจีน ที่เป็