ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,254

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)]

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง” มี 2 สาย คือ สายเหนือจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย สายใต้จากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร รวม ระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนทั้ง 3 เมืองต่างภูมิใจ เพราะถือเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทย ถนนพระร่วงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าสอบถามชาวบ้านที่อยู่ในเขตเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มักได้คำตอบว่า ถนนสายนี้มีมานานแล้วเห็นกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายยังเด็ก พร้อมกับมีเรื่องเล่าปรัมปราถึงพระร่วงเจ้าทรงชอบเล่นว่าว เลยสร้างถนนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่เล่นว่าว หรือบ้างก็ว่าพระร่วงเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ระหว่าวที่อยู่ในขบวนได้ใช้พระบาทข้างซ้าย ข้างขวาเกลี่ยดินเล่นพูนขึ้นเป็นถนน ส่วนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือพระยาลิไทกันแน่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชเป็น พระองค์แรกที่ได้สำรวจถนนพระร่วงโดยออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม – 2 กมุภาพันธ์ พ.ศ 2450 แล้วทรงบันทึกเส้นทางเอาไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวที่ดีเล่มหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแล้วยังมีสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สามารถนำไปศศึกษาค้นคว้าได้หลายเรื่องราว  การสำรวจถนนพระร่วงในช่วงหลังได้มีการสำรวจกันกหลายครั้งค จากกรมศิลปากร นักวิชาการมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน และล่าสุดคณะนักเรียนและครูมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาของจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร ได้ร่วมกันถนนพระร่วงเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงสำรวจไว้เป็นครั้งแรก การสำรวจในครั้งหลังนี้ใช้บุคลากรในท้องถิ่น และอยู่ใกล้กลับแห่งประวัติศาสตร์มากที่สุด
          หลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ถนนพระร่วงเป็นถนนโบราณใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกคือจารึกบนฐานพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่เทวสถานในเมืองกำแพงเพชร กล่าวถึง พ.ศ. 2053 พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ประดิษฐานพระอิศวรไว้ให้คุ้มครองผู้คนและสัตว์ในเมืองกำแพงเพชร พร้อมทั้งซ่อมแปลงพระมหาธาตุ วัดต่าง ๆ ทั้งในเมืองนอกเมือง และมีการซ่อมแซมถนนใหญ่ (ถนนถลา) ซึ่งชำรุดลบเลือนไปแล้วถึงเมืองบางพาน ด้วยความสนใจในสภาพของถนนพระร่วงโบราณสถานสำคัญที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงออกสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ โดยเริ่มต้นที่ป้อมวัดช้าง พร้อมแผนที่ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เพื่อหาร่องรอยของถนนพระร่วงสายใต้จากเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองบางพานถึงเมืองสุโขทัยจากวัดช้าง เดินเท้าผ่านทุ่งนา ไร่กล้วยไข่ ยังไม่มีร่องรอยของถนนพระร่วงปรากฏให้เห็น เพราะถูกร้อถอนทำลายจนสิ้นสภาพไปหมดแล้ว ย่ำต่อไปด้วยด้วยความเหน็ดเหนื่อยและท้อใจกลับจะไม่พบแนวคันดินถนนโบราณที่อุตส่าห์ ดั้นด้นออกค้นหา เดินจากวัดช้างไปได้ประมาณ 5 กิโลเมตร พบวัดเก่ารกร้างไม่ได้บูรณตกแต่ง มีป้ายชื่อบอกให้รู้ว่าเป็นวัดอาวาสน้อย จึงเข้าไปสำรวจเที่ยวชมได้พบร่องรอยของโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัดได้พบคันดินถมสูงขึ้นจากพื้นราบ 1 เมตร กว้าง 5-6 เมตร มีระยะยาวเพียง 50 เมตร ชาวบ้านแถวนั้นยืนยันว่าเป็นคันดินของถนนพระร่วงอย่างแท้จริง ณ ที่บริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ดร.ไพฑูรย์  มีกุศล เคยมาสำรวจแล้วบันทึกเอาไว้พบวา่มีคันดินเป็นแนวถนนประมาณ 200เมตร แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมาถูกทำลายไปจนเกือบหมดแล้ว
           แนวของถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชรไปยังเมืองสุโขทัย ถ้ายึดตามแผนที่ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเริ่มต้นจากป้อมวัดช้างที่อยู่นอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทางเหนือผ่านวัดช้าง วัดอาวาสน้อย บ้านบ่อสามแสน เมืองบางพาน เชิงเขานางทอง บ้านพรานกระต่ายใต้ (วัดไตรภูมิ) บ้านพรานกระต่ายเหนือ เข้าสู่บ้านเหมืองหาดทราย เมืองคีรีมาศ ไปจนถึงเมืองสุโขทัย รวมระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร ระหว่างทางที่ได้สำรวจพบแท่งศิลาแลงปักอยู่บนเนินดิน มีเศษกระเบื้องมุงหลังคาหักพังถมอยู่ นักวิชาการทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นศาลาที่พักริมทาง ถัดไปไม่ไกลมองเห็นซากโบราณสถานอยู่กลางบ่อลูกรังขนาดใหญ่ที่ถูกขุดลงไปจนลึกมาก อยากที่จะเข้าไปดู เห็นแล้วรู้สึกเสียดายเพราะคงไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ ทำให้ไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ของถนนพระร่วงกับโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถือเป็นตัวอย่างอันสำคัญของความเห็นแก่ได้ของคนในยุนี้ที่กล้าทำลายความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษลงได้อย่างไร้จิตสำนึก

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, ถนนพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ). สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,997

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 257

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 646

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,435

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,741

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,776

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,017

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,384

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,851

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,866