ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 1,168
[16.4264988, 99.2157188, ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี]
บทนำ
การดำเนินการทำงานการสร้างสรรค์ ชุด ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา วิธีดำเนินการใช้หลักการสร้างสรรค์ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ที่มีองค์ประกอบของการแสดงระบำ การออกแบบท่ารำ การออกแบบเครื่องแต่งกาย การทำเพลงและดนตรีประกอบกการแสดง การแปรรูปแบบแถว อุปกรณ์ประกอบการแสดง การคัดเลือกนักแสดง ในการดำเนินการได้ศึกษาท่าหลักจากท่ารำพื้นฐาน รำแม่บท รำเพลงช้าเพลงเร็ว และมีท่าประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นท่าเฉพาะในชุดการแสดงเช่น ท่ารำบูชาไหว้พระโดยเลียนแบบท่ามาจากภาพรูปปั้นนางรำที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องแต่งกายได้เลียนแบบมาจากภาพแกะสลักของรูปปั้นนางรำบางส่วน การแปรรูปแถวให้เกิดความงามและเปลี่ยนแปลงสายตาผู้ชม ในการแสดงชุดนี้ได้แบ่งการแสดงออกเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่งเป็นการเกริ่นนำเพื่อบูชาพระไตรรัตน์มีบทร้องกำกับในการแสดงและตีภาษาท่าตามบทร้อง ช่วงที่สองเป็นการแสดงตามทำนองเพลงที่กำหนดไว้มีท่อนช้าและเร็วตามลำดับลักษณะการแสดงของกระบวนท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับทำนองเพลงและมีความหมายของท่ารำในการบูชาพระรัตนตรัย
การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการแสดงในพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง และสามารถนำไปใช้แสดงในโอกาสต่างๆ ได้และยังเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นการสืบสานนาฏศิลป์ไทยและยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรจัดขึ้นทุกปีในวันเพ็ญเดือนสาม เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของกำแพงเพชรไว้ให้ชนรุ่นหลัง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงพิธีเปิดงานและได้รับมอบหมายจากจังหวัดกำแพงเพชรให้จัดการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเพณี จึงได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดและในการแสดงเวทีกลางในงานนี้ โดยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เช่น สร้างสรรค์เพลง ท่ารำ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบในระบำชุด ระบำพุทธบูชา “นบพระ – มาฆปุรณมี” เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลงของจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
“พุทธบูชา” หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้า, เครื่องบูชาพระพุทธเจ้า
“นบพระ” หมายถึง ไหว้พระ
“มาฆปุรณมี” ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม กล่าวกันว่าเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง มีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส มีการทำบุญ ตักบาตร การฟังธรรมเทศนา การเวียนเทียน เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวถึง หลักธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา การไม่ทำความชั่วทั้งปวง เป็นการบำเพ็ญความดี ทำให้จิตใจผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการสร้างระบำชุดเฉพาะใช้ในพิธีเปิดงานประเพณี นบพระ-เล่นเพลง
2. เพื่อเป็นการสืบสาน ส่งเสริม เผยแพร่งานด้านนาฏศิลป์เพิ่มมากขึ้น
วิธีดำเนินงาน
ในการค้นคว้าข้อมูล
1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และวารสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
2. การสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่น
3. สร้างสรรค์เพลง
4. ออกแบบท่ารำ การแปรแถว
5. ออกแบบเครื่องแต่งกาย
6. ออกแบบอุปกรณ์การแสดง
7. ฝึกซ้อม
8. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
9. บันทึกเทป
10. อธิบายท่ารำ ทำรูปเล่ม
การศึกษาและกระบวนการสร้างสรรค์
ท่ารำ
ประดิษฐ์ท่ารำโดยใช้ท่ารำในท่ารำแม่บท และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ มาร้อยเรียงให้สอดคล้องและมีความหมายในการสักการบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความงามตามลักษณะนาฏศิลป์ไทย
ท่ารำพิเศษ โดยแกะท่ารำมาจากรูปปั้นที่ปรากฏในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร ท่าไหว้ ท่าภมรเคล้า
แนวคิดการออกแบบเครื่องแต่งกาย
เนื่องจากการแสดงเป็นการบูชาพระรัตนตรัย จึงมีความสงบ การออกแบบจึงเลือกให้มีสีนวลตา เย็นตา ลักษณะคล้ายชุดไทยจีบหน้านาง แต่ตกแต่งให้ดูแปลกตา ห้อยด้วยชายผ้าจีบหนึ่งชิ้น ใส่เสื้อสีครีม คอปิดมิดชิด มีแขนเพื่อให้เกิดความสุภาพเรียบร้อย เพราะแสดงที่วัดวาอาราม ประดับด้วยเครื่องประดับพองาม
อุปกรณ์ประกอบการแสดง
ใช้พานพุ่มดอกบัวบูชา การบูชาพระพุทธเจ้ามีอยู่ 2 วิธี คือ
1. อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ อันได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน ภัตตาหาร คาว หวาน สิ่งที่เป็นวัตถุทั้งปวง เป็นการเสียสละ ฝึกตนให้ รู้จักการแบ่งปัน การบริจาค และการให้ทาน
2. ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการกระทำ ด้วยการประพฤติปฏิบัติ ลงมือกระทำจริง ปฏิบัติจริง ทั้งทางกาย วาจา และที่สำคัญที่สุด คือ ทางใจ ทางจิตวิญญาณ
เพลง
แต่งขึ้นใหม่โดยใช้เพลงสาธุการ (สาธุการเปิดโลก) เป็นโครงสร้างของเพลง
แนวคิดในการประพันธ์เพลง
ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
จากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชัย พวกดี ได้เล่าให้ฟังว่า การต่อเพลงสาธุการอย่างถูกต้อง จะทราบว่า ในเพลงสาธุการจะมีวรรคพิเศษอยู่วรรคหนึ่งเรียกว่า “พระเจ้าเปิดโลก” วรรคพระเจ้าเปิดโลกนี้ได้นำมาประพันธ์เพลง ระบำพุทธบูชาเป็นโครงสร้างของเพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
อัตราจังหวะเพลง เป็น 2 ชั้น ท่อน 1 และท่อน 2
อัตราจังหวะเพลงชั้นเดียว ท่อน 1 และท่อน 2
คำร้อง เพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
นบพระมาฆะฤกษ์ อมรเบิกทุกสถาน
โบราณเก่าเล่าตำนาน น้อมสักการพระศาสดา
ถึงพร้อมพระไตรรัตน์ เจิดจำรัสพระพุทธา
เป็นเอกพระศาสดา ทั่วโลกาสรรเสริญคุณ
ด้วยเดชสักการะ พลวะช่วยนำหนุน
นบพระบูชาคุณ จงถึงพร้อมบูชาเทอญฯ
อาจารย์อนุลักษณ์ อาสาสู้
13 กุมภาพันธ์ 2559
โน้ตเพลงพุทธบูชา “นบพระ – มาฆ-ปุรณมี”
ประพันธ์โดย ชัชชัย พวกดี
2 ชั้น/ท่อน 1
---ท |
---รํ |
-ล-ท |
-รํ-- |
ซํมํรํท |
-รํ-- |
-ทรํล |
ทลซม |
---- |
-ท-ล |
-ซ-ล |
-ท-รํ |
-ททท |
รํมํ-รํ |
-ร-ม |
-ซ-ล |
---ล |
-ล-ล |
-มํรํท |
-ล-ซ |
---ร |
---รํ |
--ซํมํ |
รํท-ล |
---ล |
-ล-ล |
-ร-ม |
-ซ-ล |
---- |
-ซ-ม |
ซมลซ |
-ม-ร |
ท่อน 2
รํรํมรํ |
ทรํมํล |
(รํรํมํรํ |
ทรํมํล) |
ลลทล |
ซลทม |
(ลลทล |
ซลทม) |
--มม |
ซมนทฺ |
--ซซ |
ลซมร |
--ลล |
ทลซม |
มํรํทล |
---- |
---ล |
-ล-ล |
-มํรํท |
-ล-ซ |
--รํรํ |
รํรํ-ดํ |
ดํดํ-ท |
ทท-ล |
---ล |
-ล-ล |
-ร-ม |
-ซ-ล |
---- |
-ซ-ม |
ซมลซ |
-ม-ร |
ชั้นเดียว/ท่อน 1
-รรร |
-มํ-รํ |
-ทรํล |
ทลซม |
-มมม |
-ซ-ม |
-ล-ม |
-ซ-ล |
-ลลล |
ซลทรํ |
-มํ-รํ |
-ท-ล |
ทลซม |
ซล-- |
ซมลซ |
-ม-ร |
ท่อน 2
รํรํมรํ |
ทรํมํล |
(ลลทล |
ซลทม) |
ลลทล |
ซลทม |
(มมซม |
รมซล) |
--ลล |
ทลซม |
--มม |
รมซล |
--รม |
ซล-- |
ซมลซ |
-ม-ร |
เครื่องดนตรีประกอบด้วยใช้วงโบราณ
ปี่ใน 1 เลา
ฆ้องใหญ่ 1 วง
ซอสามสาย 1 คัน
ตะโพน 1 ใบ
ฉิ่ง 1 คู่
กระจับปี่ 1 ตัว
กรับพวง 1 คู่
จำนวนผู้แสดงและเวลาที่ใช้ในการแสดง
ผู้แสดงจำนวน 8, 10, 12 หรือขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมของงาน
เวลาที่ใช้ในการแสดง 8.20 นาที
สรุปผล
สรุปการสร้างสรรค์
1. ได้สร้างสรรค์ระบำชุดพุทธบูชานบพระ-มาฆ-ปุรณมี เป็นการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ 1 ชุด
2. ผลของการศึกษาการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่เพื่อนำไปใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง ในรูปแบบระบำสร้างสรรค์ขึ้นใหม่มีองค์ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
- การออกแบบท่ารำ
- การออกแบบเครื่องแต่งกาย
- การสร้างสรรค์แต่งเพลงประกอบชุดการแสดง
- การแปรรูปแถว
- การคัดเลือกนักแสดง
- อุปกรณ์ประกอบการแสดง
ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากการทำการวิจัยงานสร้างสรรค์ด้านนาฏศิลป์มีองค์ประกอบมากจึงมีความจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เพื่อให้มีงานวิจัยในลักษณะนี้มากขึ้นและยังเป็นการช่วยกันและพัฒนางานด้านนาฏศิลป์ให้คงอยู่ต่อไปและนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาศาสตร์ด้านนาฏศิลป์ไทยต่อไป
คำสำคัญ : ระบำพุทธบูชา กำแพงเพชร
ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี. สืบค้น 4 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2127&code_db=610004&code_type=01
Google search
ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 5,899
“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 5,694
เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนกำแพงเพชร ทั้งก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ และผัดไท ทางจังหวัดจึงได้จัดงานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ดังกล่าวขึ้นเป็นประ จำทุกปี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,731
ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,168
ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 6,893
ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 8,710
เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,999
โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,916
เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 10,279
เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,961