ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 14,810

[16.4258401, 99.2157273, ผักเสี้ยนผี]

ผักเสี้ยนผี ชื่อสามัญ Asian spider flower, Tickweed, Polanisia vicosa, Wild spider flower, Stining cleome, Wild caia tickweed

ผักเสี้ยนผี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa L. (ชื่อพ้อง Arivela viscosa (L.) Raf.) จัดอยู่ในวงศ์ CLEOMACEAE

สมุนไพรผักเสี้ยนผี มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักส้มผี, ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ), ผักเสี้ยนตัวเมีย, ไปนิพพานไม่รู้กลับ เป็นต้น

วงศ์ผักเสี้ยน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 20 สกุล และมีมากกว่า 300 ชนิด ส่วนในประเทศไทยจะพบขึ้นเป็นวัชพืชหรือปลูกไว้เป็นไม้ประดับเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ ผักเสี้ยน (Cleome gynandra L.), ผักเสี้ยนผี (Cleome viscosa L.), ผักเสี้ยนขน (Cleome rutidosperma DC.), ผักเสี้ยนป่า (Cleome chelidonii L. f.), และผักเสี้ยนฝรั่ง (Cleome houtteana Schltdl. ชื่อพ้อง Cleome hassleriana Chodat)

ลักษณะผักเสี้ยนผี

  • ต้นผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป 
  • ใบผักเสี้ยนผี ใบเป็นใบประกอบ มี 3-5 ใบย่อย ก้านใบยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร โดยมากเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่หัวกลับ มีความประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร มีปลายแหลมหรือมน ส่วนโคนใบเรียวสอบ ขอบใบเรียบ มักเป็นสีเดียวกันกับก้านใบและมีขน ใบประดับคล้ายใบ มี 3 ใบย่อย ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มีก้านสั้นๆ ร่วงได้ง่าย 
  • ดอกผักเสี้ยนผี ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ขยายอีกในช่องผล ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาวประมาณ 1-1.4 เซนติเมตร ในผลสามารถยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปใบหอก มีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ติดทน กลีบดอกสีเหลืองมี 4 กลีบ โคนเรียวแคบเป็นก้านกลีบ มักมีสีเข้มที่โคน แผ่นกลีบมีลักษณะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 0.7-1.2 เซนติเมตร ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก และมีขนาดไม่เท่ากัน ก้านเกสรมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ยาวประมาณ 4-9 มิลลิเมตร ส่วนอับเรณูเป็นสีเทาอมเขียว เป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีรังไข่เป็นลักษณะรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โค้งงอเล็กน้อย ไม่มีก้าน มีต่อมขนขึ้นหนาแน่น ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และก้านเกสรตัวเมียจะสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่ม 
  • ผลผักเสี้ยนผี ผลมีลักษณะเป็นฝักคล้ายถั่วเขียวแต่มีขนาดเล็กมาก ผลกว้างประมาณ 2-4.5 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ตรงปลายผลมีจะงอยแหลม เห็นเส้นเป็นริ้วได้ชัดเจน ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก 
  • เมล็ดผักเสี้ยนผี มีลักษณะผิวขรุขระย่นเป็นแนว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดง มีขนาดประมาณ 1.5 x 1 มิลลิเมตร

สรรพคุณของผักเสี้ยนผี

  1. ช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกาย (ทั้งต้น)
  2. ใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ (ราก, เมล็ด)
  3. ทั้งต้นมีรสขมร้อน ช่วยแก้ลม (ทั้งต้น)
  4. รากช่วยแก้วัณโรค (ราก)
  5. ช่วยแก้ลมบ้าหมู (ทั้งต้น)
  6. ช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  7. ถ้ามีอาการปวดศีรษะให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอก (ใบ) หรือใช้แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว ด้วยการใช้ทั้งต้นของผักเสี้ยนผี ใบขี้เหล็กอ่อน ดอกขี้เหล็กอ่อน และราก ต้น ผล ใบ ดอกของแมงลัก นำมาต้มเป็นยากิน (ข้อมูลจาก : ครูณรงค์ มาคง) (ทั้งต้น)
  8. รากใช้ผสมกับเมล็ด ใช้เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟันได้ (ราก, เมล็ด)
  9. ช่วยแก้อาการลมขึ้นหูหรืออาการหูอื้อ ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีประมาณ 3-4 ใบนำมาขยี้พอช้ำ แล้วใช้อุดที่หู สักพักอาการก็จะดีขึ้น (ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการหูคัน ด้วยการใช้ใบผักเสี้ยนผีนำมาขยี้แล้วอุดไว้ที่หู แต่มีข้อแม้ว่าห้ามใช้กับเด็กเพราะจะร้อนเกินไป (ใบ)
  11. ช่วยแก้อาการหูอักเสบ (ทั้งต้น)
  12. ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้ตรีโทษ (ทั้งต้น)
  13. เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชาใช้ดื่มช่วยขับเสมหะได้ (เมล็ด)
  14. ผักเสี้ยนผีใช้ต้มเอาน้ำกระสาย เป็นยาแก้ทรางขึ้นทรวงอกได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ลงท้อง ท้องเสีย (ทั้งต้น)
  16. ผลผักเสี้ยนผีช่วยฆ่าพยาธิ (ผล) ทั้งต้นช่วยขับพยาธิในลำไส้ (ทั้งต้น) รากและเมล็ดช่วยขับพยาธิตัวกลม (ราก, เมล็ด)[หรือใช้เมล็ดนำมาต้มหรือชงเป็นชา ใช้ดื่มช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เมล็ด)
  17. ใบช่วยแก้ปัสสาวะพิการหรืออาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรืออาการปวดเวลาปัสสาวะ ช่วยแก้ทุราวสา 12 ประการ (ใบ) ส่วนเมล็ดนำมาต้มหรือชง ใช้ดื่มช่วยขับปัสสาวะได้ (เมล็ด)
  18. ช่วยรักษาโรคริดสีดวง บานทะโรค ด้วยการใช้ผักเสี้ยนผี 1 ส่วน / กะเพราทั้งสองอย่างละ 1 ส่วน / ต้นแมงลักทั้งห้า 1 ส่วน / ขอบชะนางแดงทั้งห้า 1 ส่วน โดยตัวยาทั้ง 4 นี้ ให้ใช้อย่างละ 2 บาท และใช้ใบมะกา 1 กำมือ แก่นขี้เหล็ก 1 กำมือ นำมาต้มน้ำเป็นยากินเช้า เย็น และก่อนนอน อย่างละ 1 แก้ว (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  19. ดอกช่วยฆ่าพยาธิผิวหนังและพยาธิต่าง ๆ (ดอก)
  20. ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  21. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  22. ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ทั้งต้น)
  23. ช่วยแก้พิษฝีหรือปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอด ในลำไส้ และในตับ (อาการของเนื้องอกหรือมะเร็งที่เกิดภายในอวัยวะต่าง ๆ) (ทั้งต้น)
  24. ช่วยแก้โรคน้ำเหลืองเสีย (ต้น)
  25. ช่วยขับหนองในร่างกาย ช่วยทำให้หนองแห้ง (ทั้งต้น)
  26. ทั้งต้นใช้เป็นยาทาภายนอกช่วยแก้โรคผิวหนัง (ทั้งต้น)
  27. ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ (ทั้งต้น)
  28. ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยแก้อาการปวดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  29. ในประเทศจีนและอินเดีย ใช้ผักเสี้ยนผีเป็นสมุนไพร ทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะและปวดตามข้อ[1]หรือบดเกลือทาแก้อาการปวดหลัง (ใบ)
  30. ใบใช้เป็นยาถูนวดเพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงได้ดี ทำให้เลือดลมเดินสะดวกยิ่งขึ้น (ใบ, เมล็ด)
  31. ช่วยแก้อาการเหน็บชาตามแข้งขา ด้วยการนำผักเสี้ยนผีมาต้มกับตัวยาอื่น ๆ ได้แก่ มะขวิด ใบบัวบก แล้วใช้กินเป็นประจำ (ข้อมูลจาก : นายสมศรี หินเพชร ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์) (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  32. ช่วยแก้อาการปวดขา เส้นเลือดขอด โรคเหน็บชา ลุกนั่งเดินลำบาก โดยใช้สมุนไพรดังต่อไปนี้หนักอย่างละ 1 บาท ได้แก่ ผักเสี้ยนผี, แก่นขนุน, แก่นมะหาด, แก่นปรุ, แก่นประดู่, แก่นไม้รัง, แก่นไม้เต็ง, แก่นสักขี, แก่นไม้สัก, เกสรบัว, ขิง, ขิงชี้, ดอกสารภี, ดอกพิกุล, ดอกบุนนาค, คนทา, โคคลาน, โคกกระออม, จันทน์ทั้งสอง, ชะพลู, ใบมะคำไก่, ใบพิมเสน, ใบเล็บครุฑ, บัวขม, บัวเผื่อน, เท้ายายม่อม, มะเดื่อ, รางแดง, หัวคล้า, หัวแห้วหมู, ย่านาง, และยาข้าวเย็น นำทั้งหมดมาใส่หม้อต้ม แล้วใส่น้ำพอท่วมยา ใช้กินก่อนอาหารวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน และก่อนนอน ครั้งละค่อนแก้ว ถ้ายาหมดแล้วแต่ยังไม่หายให้ต้มกินอีกสัก 1-2 หม้อ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  33. ใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดหัวเข่า ด้วยการใช้ทั้งต้นและรากของผักเสี้ยนผี 1 ส่วน, ไพล 1 ส่วน และการบูร 1 ส่วน (ใช้พอประมาณ ทำเป็นยาเพียงครั้งเดียว วันถัดไปให้ทำใหม่) นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียดกับสุราดีกรีสูง ๆ แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมาเก็บใส่ขวดไว้ใช้ทาและนวดหัวเข่าบ่อย ๆ (ราก, ทั้งต้น)
  34. ใช้ปรุงเป็นยาแก้ขัด ยกไหล่ยกแขนไม่ขึ้น ด้วยการใช้ต้น ใบ และกิ่งผักเสี้ยน (ปริมาณพอสมควร), ใบพลับพลึง 3 ใบ, และใบยอ 17 ใบ นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ และให้ใช้พิมเสน และการบูร (ปริมาณพอสมควร) นำทั้งหมดมาใส่ในหม้อแล้วต้มไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้ละลายจนเข้ากัน และยกลงรอให้เย็นแล้วเทยาใส่ขวดเป็นอันเสร็จ นำยาที่ได้มานวดบริเวณหัวไหล่ที่ยกไม่ขึ้น เช้า, เย็น ไม่เกิน 3 วันอาการก็จะหายเป็นปกติ (ต้น, ใบ, กิ่ง)
  35. ใช้ปรุงเป็นยากินแก้อาการอัมพาต มือตายเท้าตาย โดยใช้รากผักเสี้ยนผี, กาฝากที่ต้นโพธิ์, แกแล, แก่นขี้เหล็ก, แก่นขนุน, แก่นสน, แก่นปรุ, แก่นประดู่, แก่นไม้สัก, แก่นมะหาด, กำลังวัวเถลิง, ฝางเขน, เถาวัลย์เปรียง, ลูกฝ้ายหีบ, รกขาว, รกแดง, รากจง, รากกำจัด, รากกำจาย, รากคุยขาว, รากพลูแก่, รากหิบลม, รากกระพงราย, รากมะดูกต้น, สุรามะริด, สักขี, สมิงคำราม, สมอหนัง, สมอเทศลูกใหญ่, แสมทะเล, แสมสาร, โพกะพาย, โพประสาท, เพ็ดชะนุนกัน, พระขรรค์ไชยศรี, พริกไทย, มะม่วงคัน, เปล้าน้ำเงิน, เปล้าเลือด, เปล้าใหญ่, เปลือกเพกา, เปลือกราชพฤกษ์, เปลือกขี้เหล็ก, เปลือกสมุลแว้ง, ยาดำ, ยาข้าวเย็นใต้, ยาข้าวเย็นเหนือ (ทั้งหมดนี้เอาหนักละ 1 บาท) และให้เพิ่มสมอไทยเข้าไปด้วยเท่าอายุของผู้ป่วย ใช้ต้มกินประมาณ 4-5 หม้อใหญ่ ใช้ดื่มก่อนอาหาร 30 นาที ครั้งละครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ราก)
  36. ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรรักษาแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลสดหรือแห้ง แผลถลอก แผลฟกช้ำบวม แผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง แผลพุพองไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลในระบบทางเดินอาหาร แผลเริม แผลมีหนองมีกลิ่น ใช้ห้ามเลือด ช่วยเร่งการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ และยังรวมไปถึงการใช้แก้อาการเคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเส้นเอ็นให้บรรเทาอาการลงได้ ด้วยการใช้ ผักเสี้ยนผี 1 กิโลกรัม (ใบ, ดอก, กิ่งอ่อน), ไพล 1 กิโลกรัม, ขมิ้นอ้อย 1 กิโลกรัม, พิมเสน 15 กรัม และน้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร วิธีการปรุงยาขั้นตอนแรก ให้เคี่ยวน้ำมันมะพร้าวด้วยไฟอ่อนจนร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีลงทอดในน้ำมันมะพร้าวจนผักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจึงช้อนตักขึ้นมา ต่อมาให้นำไพลมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ใช้ทอดในน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนแรก จนไพลเป็นสีน้ำตาลแล้วจึงช้อนตักขึ้นมา แล้วนำขมิ้นอ้อยที่หั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วลงทอดในน้ำมันที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จนขมิ้นเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยช้อนตักขึ้นมา หลังจากนั้นก็ให้หยุดการเคี่ยวแล้วรอจนยาสมุนไพรเย็นตัวลง ก็จะได้ยาที่มีสีเขียวอมเหลือง ขั้นตอนสุดท้ายให้ใส่พิมเสนและคนให้ละลายเป็นอันเสร็จ ส่วนวิธีการใช้ให้นำสำลีบาง ๆ มาชุบยาแล้วทาบริเวณที่มีอาการ หรือใช้รับประทานเพื่อรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร (ใบ, ดอก, กิ่งอ่อน) (ข้อมูลจาก : นายสมหมาย สอดสี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, แพทย์แผนไทยบัณฑิต)
  37. รากผักเสี้ยนผีช่วยแก้โรคผอมแห้งของสตรี เนื่องจากคลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้ (ราก)
  38. ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ ผักเสี้ยนผี, แก่นขี้เหล็ก, แก่นไม้ตำเสา, กระแตไต่ไม้, กำมะถันเหลือง, ขลู่, ขมิ้นอ้อย, คุระเปรียะ, งวงตาล, ซังข้าวโพด, ต้นตายปลายเป็น, เถาแกลบกล้อง, เถาวัลย์เปรียง, เถาโพกออม, ถั่วแระ, ผักโขมหนาม, ฝนแสนห่า, ฝักราชพฤกษ์, พยับเมฆพยับหมอก, ใบมะกา, ใบกอกิว, บอระเพ็ดดอกขาว, เปลือกสำโรง, รกชุมเห็ดไทย, รากระย่อม, รากคนที, รากกระดูกไก่ขาว, รากกระดูกไก่แดง, รากมะละกอ, รากหมากหมก, รากตะขบป่า, รากเจตมูลดอกแดง, รากปลาไหลเผือก, รากขอบนางขาว, รากขอบนางแดง, สำมะงา, ไส้สับปะรด, หัวเล็กข่า, หัวขาใหญ่, หัวหญ้าคา, หัวแห้วหมู, หัวบุกเล็ก, หัวหญ้าครุน, และยาหนูต้น (ทั้งหมดใช้อย่างละเท่า ๆ กัน หากไม่มีตัวไหนก็ไม่ต้องใช้ก็ได้) ให้นำทั้งหมดใส่ในปี๊บต้มไปเรื่อย ๆ ต่อไปให้หาถั่วเขียวมาต้มไว้จนพองอีก 1 หม้อ เวลาจะกินยาก็ให้ตักยาจากปี๊บมาผสมกับถั่วเขียว แล้วเติมน้ำตาลแดงลงไปให้พอรู้สึกหวาน ใช้กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง ให้กินติดต่อกันไม่เกิน 2 เดือน โรคเบาหวานจะหายขาด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้ ด้วยการนำมาใช้ดองเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ขนมจีน หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มส้ม แกงส้ม เป็นต้น
  • เมล็ดมีน้ำมันและวิตามินเอฟหรือกรดไลโนเลอิก (Linoleic) ในปริมาณมาก และสามารถใช้รับประทานได้

คำสำคัญ : ผักเสี้ยนผี

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักเสี้ยนผี. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1719&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1719&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเทียม

กระเทียม

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส  มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,201

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรในตำรายาไทยมีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ หัวช่วยบำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต จัดเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,753

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,828

ผักกาดน้ำ

ผักกาดน้ำ

ต้นผักกาดน้ำ หรือ หญ้าเอ็นยืด จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนต้นติดอยู่กับดิน รากสั้น แตกแขนงเป็นฝอยมาก พืชชนิดนี้เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีส่วนผสมพิเศษ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักขึ้นตามทุ่งหญ้า พื้นที่โล่งแจ้งที่มีความชุ่มชื้น ใบจะแทงขึ้นมาจากใต้ดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบที่ยาวกว่า 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,220

คันทรง

คันทรง

ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,518

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 11,602

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,470

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,478

กกดอกขาว

กกดอกขาว

ลักษณะทั่วไป  เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม   ลำต้น  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน  ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ  5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 2,996

กล้วยหักมุก

กล้วยหักมุก

สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 26,908