ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 877
[16.8784698, 98.8779052, ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก]
การทำบุญกลางบ้าน หรือการทำบุญถนน เป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบปฏิบัติมายาวนานคู่กับสังคมเมืองตาก การทำบุญถนน นั้นอาจจะคล้ายกับการเลี้ยงใจบ้าน หอเสี้ยวบ้าน ที่สะท้อนผ่านพิธีกรรมความเชื่อในเรื่องผี ซึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบมาในกลุ่มคนเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย
การทำบุญถนน ก็น่าจะรับคติแนวคิดมาจากวัฒนธรรมทางหัวเมืองเหนือเพราะมีอาณาเขตที่ติดต่อสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดการอพยพผู้คน ไปมาเกิดการส่งผ่าน รับ และผสมผสานวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดรูปแบบพิธีกรรม ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับพุทธศาสนา เราเรียก พิธีดังกล่าวว่า ทำบุญถนน สืบมา
การทำบุญ คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกัน จัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธี เลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็ก ๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้น ๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย
รุ่งขึ้น ชาวบ้านจะตระเตรียมอาหารเพื่อไปใส่บาตรที่บริเวณปะรำพิธี และนิมนตร์พระสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์ สืบอายุบ้าน เลี้ยงเพล และชาวบ้านรับประทานอาหารร่วมกัน กิจกรรมดังกล่าวช่วยสร้างความรักในท้องถิ่น และยังเชื่อมโยงให้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านพิธีกรรมของคนในชุมชนเดียวกัน
(ที่มาของเรื่อง หนังสือประวัติศาสตร์พัฒนาการจังหวัดตาก, นครินทร์ น้ำใจดี ,ที่มาของภาพ นครินทร์ น้ำใจดี)
คำสำคัญ : การทำบุญกลางบ้าน การทำบุญถนน
ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/814796021943940
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2047&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,212
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณการทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง และยังเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม เช่น ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีสีสันและพิสดารนั้นมักใช้เฉพาะเจ้านายในราชสำนัก หรือ คนที่มีความร่ำรวย ส่วนผ้าซิ่นลายธรรมดาเรียบงายสีสันน้อยมักใช้ในกลุ่มชาวบ้านโดยทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 817
ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 8,662
มวยคาดเชือก เป็นการชกมวยไทยในสมัยโบราณที่ใช้ เชือกพันที่หมัดทั้ง 2 ข้าง เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการพัฒนาสืบทอดกันมา โดยใช้หลายส่วนของร่างกาย คือ หมัด เข่า ศอก พิษสงของมวยคาดเชือกถือการพันหมัดด้วยเชือก ชุบแป้ง ให้แห้งแข็ง เชือกชุบเมื่อสัมผัสผิวคู่ต่อสู้เพียงเฉียดๆ ก็อาจทำให้เลือดตกยางออกได้ บางครั้งอาจผูกเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 73
"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 906
การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,113
คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร เป็นคัมภีร์ใบลานที่มีอายุเก่าแก่พอๆกับการสร้างวัดเกาะตาเถียร เพราะในอดีตพระสงฆ์จะเรียนหนังสือจากคัมภีร์ใบลาน โดยภาษาในพระคัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียรนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นจะเรียนภาษาขอมร่วมกับภาษาไทยภาคกลาง พร้อมกับการเรียน การเขียนตัวอักษรลงในใบลาน เรียกว่า “การจาร” การเขียนตัวหนังสือลงในใบลาน เพื่อจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร นิยมเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า, กัณฑ์เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์, บทสวดมนต์ เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 77
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 13,225
งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,916
เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 691