ข้าวหลาม
การเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวบ้านในชุมชน ที่จัดทำในช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ โดยการเผาข้าวหลามไม่เพียงแต่เป็นการใช้ประโยชน์จากผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว แต่ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีในชุมชน โดยคนในหมู่บ้านมักจะรวมตัวกันทำข้าวหลามเป็นงานสังสรรค์ และเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีความสำคัญให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป
16.8866919, 98.5230838
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 20
ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน
16.4264988, 99.2157188
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,621
เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม
ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว
16.8778126, 98.8779113
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,245
ข้าวหลาม
ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร
16.4746716, 99.5341822
เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,067
Google search
-
ฐานข้อมูล - 152 ประวัติความเป็นมา
- 170 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 108 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
หลังจากการศึกษาดูงานกลุ่มแม่บ้านได้ประชุมสมาชิกและเริ่มก่อตั้งกลุ่มทำขนมด้วยการฝึกอบรมทำกล้วยฉาบและขนมทองพับ โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 25
เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพั
น้ำตกแม่กาษา อยู่ที่ตำบลแม่กาษา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทางเดินขึ้นไปบนเขาสูง มีถ้ำ และธารน้ำกว้างประมาณ 5 เมตร เป็นทางจากปากถ้ำถึงน้ำตก จากเส้นทาง
ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนา