ศาลเจ้าขุนสามชน
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 1,408
[16.757005, 98.6300514, ศาลเจ้าขุนสามชน]
ศาลเจ้าขุนสามชน ตั้งอยู่ทางขวามือ ทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 70-71 ศาลนี้เพิ่งสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อปลายปี 2523 กล่าวกันว่าเหตุที่สร้างศาลแห่งนี้สืบเนื่องจากคหบดีผู้หนึ่งได้เจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาตมาช้านาน จนมีผู้มาเข้าฝันบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้นตรงพื้นที่ในปัจจุบัน ท่านจึงได้สร้างศาลถวาย และเรียกว่าศาลเจ้าพ่อขุนสามชน นับแต่นั้นมา อาการของคหบดีผู้นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อเรื่องราวนี้ได้แพร่กระจายออกไป ชาวบ้านจึงพากันเดินทางเข้ามาสักการะ และให้ความเคารพศาลนี้กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง อย่างไรก็ตามศาลเจ้าพ่อขุนสามชนแห่งนี้ มีที่มาที่เกี่ยวพันกับตำนานพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดในอดีตซึ่งก็คืออำเภอแม่ระมาดในปัจจุบัน โดยพ่อขุนสามชนนั้นเป็นราชบุตรองค์โตของพ่อขุนจันคำเหลือง เจ้าเมืองฉอดและเจ้าแตงอ่อน (เจ้ามุกขวดี) ครั้นพ่อขุนจันคำเหลืองสวรรคตแล้ว พ่อขุนสามชนราชบุตรก็ได้สืบราชสมบัติในเมืองฉอดแทนพระราชบิดา โดยมีเจ้าแม่มโนราห์เป็นพระชายาหลังจากสืบราชสมบัติได้ไม่นาน พระองค์ก็เริ่มทำสงครามแผ่ขยายอาณาเขตเพราะความเป็นขุนศึกผู้เชี่ยวชาญเชิงยุทธ์ และเหตุที่พ่อขุนสามชนทำศึกกับสุโขทัยนั้นเกิด เพราะความเข้าใจผิดกันทำให้เกิดศึกสงครามซึ่งต้องสูญเสียชีวิตคนไทยที่บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ครั้นภายหลังพระองค์ทรงทราบถึงความจริง ก็รู้สึกเสียพระทัย จึงได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติให้ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงษ์ พระอนุชา และได้ตรัสสอนว่าให้ดูแลทุกข์สุขของราษฎรทุกคนเหมือนลูกหลาน จงรวมคนไทยที่แตกแยกเข้าด้วยกัน และหากเกิดศัตรูที่เป็นคนต่างชาติจะมาเอาแผ่นดิน ก็จงรวมพลังต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินไทย
คำสำคัญ : ศาลเจ้าขุนสามชน, บุคคลสำคัญ
ที่มา : https://thai.tourismthailand.org/Attraction
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ศาลเจ้าขุนสามชน. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1832&code_db=610001&code_type=TK007
Google search
พะวอ เป็นชื่อของชนชาติกะเหรี่ยง คำนำหน้าว่า พะ ก็คือ นาย คำว่า วอ อาจจะแผลงมาจาก วา แปลว่า ขาว หรือ นายขาว พะวา อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น พะวอ เมา เป็นขุนเขาที่มีรูโหว่เป็นโพลง รูปจำลองของท่านเจ้าพ่อพะวอ บ่งบอกถึงลักษณะของชายชาตินักรบ ชุดแต่งกายที่สมเกียรติศักดิ์ศรี จากบุคลิกภาพของท่าน แสดงถึงเอกลักษณ์ของนักรบโบราณ ใบหน้าเครียดขึงขังดุดัน เรือนกายกำยำสูงใหญ่ ถือง้าวเป็นอาวุธคู่กาย แต่แววตาแฝงด้วยความเมตตาปรานี ด้วยเหตุที่ท่านเป็นนักรบโบราณ จึงชอบเสียงปืนและประทัดมาก จึงมีผู้ยิงปืนและจุดประทัดถวายทุกครั้ง หรือไม่ก็จะบีบแตร แสดงความคารวะเมื่อสัญจรผ่านไปมา
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 6,366
อำเภอแม่สอดเป็นอำเภออยู่ทางซีกตะวันตก (ของแม่น้ำปิง) ของจังหวัดตาก ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404 – 2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากิจอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านพะหน่อแก” ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือ พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า “อำเภอแม่สอด” ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการ ปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 5,762
ศาลเจ้าขุนสามชน กล่าวกันว่าเหตุที่สร้างศาลแห่งนี้สืบเนื่องจากคหบดีผู้หนึ่งได้เจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาตมาช้านาน จนมีผู้มาเข้าฝันบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้นตรงพื้นที่ในปัจจุบัน ท่านจึงได้สร้างศาลถวาย และเรียกว่าศาลเจ้าพ่อขุนสามชน นับแต่นั้นมา อาการของคหบดีผู้นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อเรื่องราวนี้ได้แพร่กระจายออกไป ชาวบ้านจึงพากันเดินทางเข้ามาสักการะ และให้ความเคารพศาลนี้กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง อย่างไรก็ตาม ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนแห่งนี้ มีที่มาที่เกี่ยวพันกับตำนานพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดในอดีตซึ่งก็คืออำเภอแม่ระมาดในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,408
จังหวัดตากมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศพม่า ทางด้านอำเภอฝั่งตะวันตกของเมือง และมีการติดต่อสังพันธ์กันมายาวนานทั้งในด้านการค้ากองคาราวาน และเมืองตากยังตั้งอยู่ใกล้เมืองมะละแหม่ง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของรัฐมอญในอดีตอีกด้วย จึงทำให้คนตากใกล้ชิดกับชาวพม่ามากทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ ชาวพม่าทยอยอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในตัวอำเภอแม่สอด และยังลงมายังตัวเมืองตากอีกด้วย คนตากมักเรียกสาว ๆ ดรุณีชาวเมียวดี ที่เข้ามาเป็นลูกจ้างทำงานในเมืองตาก ด้วยสรรพนามเฉพาะถิ่นว่า มะหน่อ บ้าง หน่อบ้าง ซึ่งคำสรรพนามนี้ไม่เห็นเมืองอื่นเขาใช้กันนอกจากที่บ้านเรา นี้อาจจะเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาถิ่นก็เป็นไปได้
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,044