ข้าวหลาม

ข้าวหลาม

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้ชม 4,761

[16.4746716, 99.5341822, ข้าวหลาม]

        ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร

วิธีทำ
        1. ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง พักไว้ให้แห้ง
        2. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
        3. ล้างข้าวสารให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตระกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
        4. นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก
        5. เทน้ำกะทิที่ผสมแล้ว ใส่ลงไปในกระบอกข้าวทีละน้อย จนกระทั่งน้ำกะทิท่วมข้าว
        6. พับใบเตยเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปิดกระบอกข้าวหลาม แล้วนำกาบมะพร้าวม้วนเป็นทรงกลมมาปิดอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ประมาณ 5- 6 ชั่วโมง
        7. เผาข้าวหลามกับถ่านไม้ พอกระบอกเหลืองให้หมุนกระบอกข้าวหลาม ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก
        8. ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย

คล็ดลับในการปรุง
        การเตรียมถั่วดำ ควรแช่ถั่วก่อนต้ม ประมาณ 2 ชั่วโมง
        การใส่ข้าวลงในกระบอกไม้ไผ่ ควรจะกระแทกกระบอกเบาๆ เพื่อให้ข้าวเกาะอยู่รวมกันและแน่นเต็มกระบอก
ใส่กะทิลงไปในกระบอกข้าวหลามที่ละน้อย เพื่อไล่ฟองอากาศออกมาให้หมด จนกระทั่วน้ำกะทิท่วมข้าว และ ควรทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวได้ดูดซับน้ำกะทิไว้ เพื่อให้ได้ข้าวหลามที่มีรสชาติอร่อย

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
       ควรเลือกข้าวใหม่ คุณภาพดี เมล็ดข้าวสวยไม่หัก
       ใช้ไผ่ข้าวหลามเท่านั้น ในการทำกระบอกข้าวหลาม เพราะด้านในกระบอกจะมีเยื่อไม้ เหมาะสำหรับการทำข้าวหลาม

ภาพโดย : http://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-06-2014&group=23&gblog=15

 

คำสำคัญ : ข้าวหลาม

ที่มา : http://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-06-2014&group=23&gblog=15

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ข้าวหลาม. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=567&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=567&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารท ขนมไทยโบราณที่มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ที่คนไทยมักจะนิยมทำขึ้นในเทศกาลสารทไทย เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ กระยาสารทจึงกลายเป็นเครื่องบ่งชี้หรือแสดงออกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่คนไทยมีต่อพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันกระยาสารทกลายเป็นขนมไทยหายาก เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก รวมกับความร้อนที่เกิดจากท่อนฟืน ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อรับประทานแทนที่จะทำกินเองภายในครอบครัว ดังเช่นครั้งในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 781

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 4,761

ข้าวแต๋น

ข้าวแต๋น

ข้าวแตน หรือ นางเล็ดเป็นอาหารว่างที่คนในชุมชนรู้จักกันดี อุปกรณ์ ได้แก่ กระด้ง ตะแกรง กะละมัง เตาไฟ หวดไม้ ที่พิมพ์รูปวงกลม กระทะ เตาอบ ถุง และผ้าขาวบาง เครื่องปรุงประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วปั้นเป็นแผ่น เดิมนิยมทำเป็นแผ่นใหญ่ๆ และปัจจุบันนิยมปั้นเป็นแผ่นขนาดพอคำ แล้วจึงนำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาทอดจนกรอบ เคี่ยวน้ำตาลน้ำอ้อยให้เหนียวแล้วราดบนแผ่นนางเล็ด บางบ้านโรยหน้าด้วยเมล็ดทานตะวัน งาดำ หรือเมล็ดแตงโม เพื่อเพิ่มรสชาติกรอบ หอม หวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นของว่าง

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,226

ข้าวแต๋น นางเล็ด

ข้าวแต๋น นางเล็ด

ข้าวแต๋น นางเล็ด เป็นขนมโบราณ หลายคนอาจจะสับสนระหว่างข้าวแต๋นและนางเล็ด วิธีสังเกตง่ายมาก ข้าวแต๋นที่มีน้ำตาลราดบนหน้า เรียกว่า “นางเล็ด” การทำให้ข้าวแต๋นมีรสชาติ ถ้าเป็นสูตรดั้งเดิมจะผสมน้ำแตงโมลงไปด้วย เรียกข้าวแต๋นน้ำแตงโม ข้าวแต๋นทำจากข้าวเหนียวนึ่ง เอามากดใส่พิมพ์แล้วเอาไปตากแดดให้แห้ง แล้วเอามาทอด 

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 8,485

ปลาเห็ด

ปลาเห็ด

ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,069

แมงอีนูน

แมงอีนูน

ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,195

กระยาสารท

กระยาสารท

ขนมกระยาสารท ในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไท ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญ กุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเหมือนกับอวดฝีมือขแงกระยาสาทรแต่ละบ้าน กระยาสาทรจะกินคู่กับกล้วยไข่ เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงทึ่กล้วยไข่ออกผลนั้นเอง และรสชาติของกล้วยไข่จะช่วยท่อนรสหวานของกระยาสาทรได้ดี เสริมให้กินอร่อยหวานมันกำลังดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,521

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,719

ขนมข้าวเกรียบอ่อน

ขนมข้าวเกรียบอ่อน

นอกจาก "ขนมไทย" จะเป็นที่ถูกใจของชาวจังหวัดพกำแพงเพชร และหลายๆจังหวัดแล้ว "ขนมข้าวเกรียบอ่อน" ที่มีสีสันสดใส แถมยังมีรสชาติถูกปากก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ติดใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่เช่นกัน และหากใครได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรต้องไม่พลาดที่จะไปลองชิม "ขนมข้าวเกรียบอ่อน" ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสมกับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงาทำให้มีรสชาติที่หอมหวานและอร่อยติดปาก

เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 6,592

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา คือ ขนมชนิดหนึ่ง เป็นขนมที่นิยมมากในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเพราะสามารถทำได้ง่าย ราคาถูก และมีรสชาติติดปาก รับประทานง่าย มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองอ่อน ทำด้วยแป้งมัน แล้วนำไปทอด รสชาติหอมหวานมัน ข้างนอกจะแข็ง ข้างในนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 7,585