มะขวิด
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 9,878
[16.4258401, 99.2157273, มะขวิด]
มะขวิด ภาษาอังกฤษ Limonia, Curd fruit, Elephant apple, Gelingga, kavath, Monkey fruit, Wood apple
มะขวิด ชื่อวิทยาศาสตร์ Feronia limonia (L.) Swingle (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Limonia pinnatifolia Houtt.) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Limonia acidissima Groff (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Schinus limonia L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย AURANTIOIDEAE
สมุนไพรมะขวิด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะยม (ภาคอีสาน), มะฝิด (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ลักษณะของมะขวิด
- ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง
- ใบมะขวิด ใบออกเป็นช่อแบบข้อต่อเรียงสลับหรือติดกันเป็นกระจุกในบริเวณปุ่มตามกิ่งต่าง ๆ ช่อใบยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมี 1-4 ปล้อง หลังใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยง ส่วนท้องใบจะมีสีจางกว่า เมื่อเอาใบมาส่องผ่านแสงจะเห็นเป็นต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นรูปรี ๆ ใส ๆ มากมาย ส่วนขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยจะสั้นมาก แต่ก้านช่อใบจะยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
- ดอกมะขวิด ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมสีแดงคล้ำๆ ในแต่ละช่อดอกจะมีทั้งดอกเพศผู้และดอกรวมเพศ
- ผลมะขวิด หรือ ลูกมะขวิด ผลมีลักษณะกลมตัว เป็นผลแห้ง เปลือกภายนอกแข็งเป็นกะลา มีสีเทาอมขาวหรือผิวเป็นขุยสีขาวปนสีชมพู ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีเนื้อมาก เนื้อในผลอ่อนนิ่ม เมื่อผลสุกแล้วเนื้อเยื่อจะเป็นสีดำ สามารถใช้รับประทานได้ โดยให้รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม มียางเหนียว ส่วนในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนาและมีขน สามารถนำมาเคี้ยวรับประทานได้เช่นกัน
สรรพคุณของมะขวิด
- ผลใช้เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น (ผล)
- ผลดิบนำมาหั่นให้บางแล้วตากให้แห้ง ใช้ชงกับน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ผล)
- ยางมะขวิดช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกาย (ยาง)
- ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิด[1]ด้วยการนำผลดิบมาหั่นให้บางแล้วตากให้แห้ง นำมาใช้ชงกับน้ำกิน (ผล)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
- ช่วยแก้ลงท้อง (ราก, เปลือก, ดอก)
- ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ใบ) ยางจากลำต้นมีสีจำพวกแทนนิน ใช้เป็นยารักษาโรคท้องร่วงได้เช่นกัน (ยางจากลำต้น)
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ใบ) ช่วยบำบัดโรคท้องเสีย (ผล, ยาง)
- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (ผล)
- ใบช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
- ช่วยแก้ตัวพยาธิ (ราก, เปลือก, ใบ, ดอก, ผล)[1]
- ช่วยแก้อาการตกโลหิต (ราก, เปลือก, ใบ, ดอก) ช่วยห้ามโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
- ช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง (ราก, เปลือก, ใบ, ดอก, ผล)
- ใบมะขวิดใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบ) ช่วยสมานบาดแผล (ยาง)
- ยางจากลำต้นมะขวิดสามารถนำมาใช้ห้ามเลือดได้ (ยางจากลำต้น)
- ช่วยแก้บวม (ราก, เปลือก, ดอก, ผล)
- ใบนำมาตำใช้พอกหรือทาแก้อาการฟกบวม ปวดบวม ช่วยรักษาฝี และโรคผิวหนังบางชนิดได้ (ใบ)
- สารสกัดจากใบสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้ออหิวาตกโรคในหลอดทดลองได้ (ใบ)
ประโยชน์ของมะขวิด
- ต้นมะขวิดใช้ปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์เพื่อความสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกในส่วนสาธารณะ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม เจริญเติบโตได้เร็วและแข็งแรง
- ผลมะขวิดใช้รับประทานสด และยังสามารถนำไปทำเป็นน้ำผลไม้และแยมได้
- ผลใช้เป็นอาหารของนกได้
- เมล็ดสามารถนำมาเคี้ยวรับประทานได้ รสอร่อยใช้ได้
- ยางของผลมะขวิดมีความเหนียว สามารถนำมาใช้ทำเป็นกาวเพื่อใช้ติดหรือเชื่อมต่อสิ่งของต่าง ๆ ได้
- เนื้อไม้ของต้นมะขวิดเป็นเนื้อไม้แข็ง สามารถนำมาใช้ในงานช่างได้
คำสำคัญ : มะขวิด
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะขวิด. สืบค้น 25 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1691&code_db=610010&code_type=01
Google search
ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 4,489
มะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,898
ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,142
ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,327
ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,594
ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,444
บอนแบ้ว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กและมีความบอบบางกว่าต้นอุตพิด มีหัวอยู่ใต้ดิน ทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และนิวกินี ใบอ่อนมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนใบแก่จะเป็นหยัก แบ่งออกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 5-17 เซนติเมตร ก้านใบมีความยาวประมาณ 10-35 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,988
กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,208
ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth) มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,744
ตำแยแมวเป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งซึ่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและการแยกต้น ชอบขึ้นตามที่ดินเย็นๆ พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป และตามที่มีอิฐปูนเก่าๆ ผุๆ โดยทั้งต้นใช้เป็นยาถอนพิษของโรคแมวได้ดี มีผู้ค้นพบว่าในขณะที่แมวไม่สบายหรือมีไข้ หากมันได้เคี้ยวลำต้นของตำแยแมวเข้าไป ไม่นานก็จะหายจากอาการไข้ได้ และในขณะเดียวกันถ้าแมวนั้นกินสารที่มีพิษเข้าไป ก็แก้โดยการให้กินต้นตำแยแมวเข้าไป แล้วมันก็จะอาเจียนหรือสำรอกพิษออกมา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,795