ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 1,934

[16.6949854, 98.622505, ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา]

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่างๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  ซึ่งจะเต้นกันในงาน”กินวอ”หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง นอกจากเรื่องราวของวัฒนธรรมชนเผ่าแล้ว ยังมีการจัดเส้นทางศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านอุมยอม ชมบ้านพักอาศัย ตลอดทั้งเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เช่น สวนกาแฟ สวนชา พืชไร่ต่างๆ ข้าว แหล่งน้ำซับ ซึ่งระหว่างทางจะได้เพลิดเพลินไปกับสายน้ำตกอันบริสุทธิ์อีกด้วย โดยเส้นทางนี้ใช้เวลาเดินทางไปกลับราว 1 วัน 
 

คำสำคัญ : ชาวเขา

ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/tak/maesot/1031

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=TK007&nu=pages&page_id=829

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=829&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่าง ๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,934

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 465

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย หรือ สุดประจิมที่ริมเมย สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,734

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์ หรือน้ำตกผาชัน อยู่ในเขตบ้านเจดีย์โคะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติเป็นน้ำตกขนาดเล็กมีชั้นเดียว มีลักษณะเป็นน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาหินปูนสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือมีเจดีย์อยู่ข้างตัวน้ำตก ในบริเวณนั้นเป็นเทือกเขาไม่สูงนัก ด้านหน้ามีหนองน้ำซึ่งเด็กในพื้นที่จะไปเล่นน้ำกันที่นี่ เนื่องจากเป็นที่ค่อนข้างโล่งกว้าง และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ใต้น้ำตกจึงมีลมเย็นๆ พัดตลอดน่าเป็นที่พักผ่อน นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปดูเจดีย์บนยอดเขาได้ โดยการขับรถไปตามทางหลวงห่างจากน้ำตกประมาณ 700 เมตรจะมีทางเข้าไปตามถนนผ่านหมู่บ้านเจดีย์โค๊ะ ลัดเลาะไปตามไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน แล้วเลี้ยซ้ายเข้าไปตามป้ายจะมีบอก หรือไม่ก็ถามชาวบ้านละแวกนั้นดู ไปได้ไม่ยาก เมื่อมาถึงบนยอดเขาแล้วจะเห็นเจดีย์ตั้งตระหง่าน พร้อมด้วยเส้นทางไปดูต้นทางของน้ำตกได้

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 3,454

เนินพิศวง

เนินพิศวง

เนินพิศวง อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก - แม่สอด  มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง  มีนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุนี้พบว่า เกิดจากเป็นภาพลวงตา เนื่องจากได้มีการวัดระดับความสูงของเนินลูกนี้แล้วปรากฏว่า ช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงนั้น มีระดับความสูงต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางลงเนิน ดังนั้นรถที่เรามองเห็นไหลขึ้นนั้นที่จริงไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเหตุใดจึงมองเห็นเป็นภาพลวงตาเช่นนั้นได้

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,465

เนินพิศวง

เนินพิศวง

อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก-แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง นอกจากความพิศวงของเนินแห่งนี้แล้ว ที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 3,325

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ จัดว่าเป็นตลาดสดของชาวไทยภูเขาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะจำนวนร้านค้าแผงลอยและจำนวนความหลากหลายของสินค้าเกษตรภายในตลาด เรียกว่ามีเยอะแยะละลานตาไปหมด ตลาดดอยมูเซอในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ตลาด แบ่งเป็นตลาดเก่าและตลาดใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกันแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของตลาดดอยมูเซอเก่าจะเป็นตลาดในแนวยาวเรียงรายขนานไปตามถนนสายหลัก ซึ่งบรรยากาศจะคึกคักตลอดทั้งวัน ทั้งบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยภูเขา ชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างก็แวะเวียนมาจับจ่ายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,166

วัดโพธิคุณ

วัดโพธิคุณ

สถานที่ตั้งวัดโพธิคุณก่อนปีพุทธศักราช 2523 ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เคยมีที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ หรือวัดมาก่อนเลย มีประชาชนในตัวอำเภอแม่สอดมาจับจองแผ้วถางทำไร่พืชผักผลไม้อยู่ 5 เจ้าของด้วยกัน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น เพราะมีร่องรอยที่จะทำเป็นที่พักสงฆ์อยู่ทั้งที่บ้านห้วยหินฝนและบ้านห้วยเตย (เรื่องชื่อบ้านนั้นเอาไว้เล่าในเรื่องสันติเกนิทาน) แต่ไม่มีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่ประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นยากแก่การสันนิษฐาน แต่พออนุมานได้ว่า อาจเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้ขณะนั้นยังมีไข้ป่า  เช่น ไข้มาลาเรียชุกชุมก็เป็นได้ และชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก   

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,564

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมี ท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,910

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

ชมความมหัศจรรย์แห่งองค์พระธาตุที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง โดยมีหินก้อนใหญ่ซึ่งมีฐานคอดกิ่วราวกับจะแยกขาด จากกันวางตัวอยู่บนหน้าผานั้น ซึ่งชาวบ้านต่างพากันขนานนามว่า “เจดีย์หินพระอินทร์แขวน” อีกทั้งหินที่อยู่บนดอยนี้ยังมีสีดำหรือน้ำตาลไหม้ บางคนจึงเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุดอยดินจี่” ซึ่งหมายถึงดินที่ถูกไฟไหม้นั่นเอง ทั้งนี้ภายในเจดีย์มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ที่เรียกกันว่า “พญาล่อง” ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง และในบริเวณวัดพระธาตุฯ ยังมีเรือโบราณที่มีอายุประมาณ 200 ปี พบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียนได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินจี่เรือลำนี้เป็นเรือขุดจากไม้ซุงทั้งต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,220