วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 1,760

[16.7966981, 98.5993563, วัดไทยสามัคคี]

        วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมีท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ต่อมาก็ได้นิมนต์พระสุคำ สุวณฺโณ เป็นแทนเจ้าอาวาสได้อีก 4 พรรษา ท่านก็ได้ย้ายไปเรียนหนังสือต่างจังหวัด ปี พ.ศ. 2526 ก็ได้นิมนต์พระอธิการบุญทา อกฺกวณฺโณ มาเป็นแทนเจ้าอาวาสได้ 8 พรรษา ก็ได้ลาสิกขา ปี พ.ศ. 2534 ก็ได้นิมนต์พระอำพร กนฺตวีโร มาเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยสามัคคี จนถึงปัจจุบัน ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น พระอธิการธรรมจักร กนฺตวีโร และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูเมธากิจโกศล เจ้าคณะตำบลชั้นโท ตำบลแม่กาษา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2552

กิจกรรมท่องเที่ยว
        - กราบนมัสการพระเจ้าทันใจ
        - กราบสักการะรอยพระพุทธบาท
        - กราบนมัสการพระพุทธรูปปางสูติ
        - กราบนมัสการพระโพธิสัตว์กวนอิมไม้แกะสลัก
        - กราบนมัสการพระพิฆเนศไม้แกะสลักองค์ใหญ่
        - เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์โฮงหลวง
        - รับประทานขนมจีนและขนมหวานเครื่องที่โฮงตาน ฟรีทุกวัน
        - พักผ่อนร่างการชมธรรมชาติแมกไม้นานาพรรณ
        - กิจกรรมนวดแผนไทย ตอกเส้น แบบโบราณ
        - กิจกรรมให้อาหารปลา ณ เขตอภัยทาน (วังปลา)
        - ชมการแสดงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
        - เที่ยวชมป่าชุมชน ห้วยขนุน ป่าอันดับหนึ่งของประเทศ
        - ซื้อของฝากผลิตภัณฑ์พื้นบ้านจากหมู่บ้านไทยสามัคคี

 การเดินทาง
        วัดไทยสามัคคี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 516 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1 แยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่ชุมทางประตูน้ำพระอิน ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท เข้าจังหวัดนครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งผ่าน จ.กำแพงเพชร ถึง จ.ตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง รถประจำทาง (บขส.) มีรถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือทุก 2 ชั่วโมง โดยประมาณ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 22.30 น. สำหรับรถเอกชน ติดต่อ บริษัท ทันจิตต์ทัวร์ โทร. (02) 9363210 – 13, บริษัท เชิดชัยทัวร์ โทร. (02) 9360199 ทางเครื่องบิน สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงแม่สอด โดยเครื่องบินโดยสารของบริษัทการบินไทย มีเฉพาะวันจันทร์, พฤหัส, เสาร์และอาทิตย์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. (02) 280-0060, 280-0100-110

คำสำคัญ : วัดไทยสามัคคี, สถานที่ท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.watthaisamakkhee.in.th

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดไทยสามัคคี. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1844&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1844&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

น้ำพุร้อนแม่ภาษา

น้ำพุร้อนแม่ภาษา

น้ำพุร้อนแม่ภาษา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก การเดินทางไปน้ำพุร้อนสะดวกสบาย ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณยี่สิบกว่านาทีจากเมืองแม่สอด บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีการปรับปรุงตกแต่งสนามหญ้าและสวนหย่อม มีน้ำพุร้อนให้สำหรับต้มไข่ มีบ่อน้ำแร่ให้แช่เท้า และมีห้องอาบน้ำแร่

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,958

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย หรือ สุดประจิมที่ริมเมย สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,410

อโรคยาโป่งคำราม

อโรคยาโป่งคำราม

อโรคยาศาลโป่งคำราม หรือ บ่อน้ำแร่โป่ง โป่งคำรามออนเซ็นแห่งแม่กาษา ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก เป็นการแช่ออนเซ็นในถังไม้โอ๊คแบบญี่ปุ่นแบบเก๋ๆ โดยใช้สายธารน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อความเหมาะสม ใช้เป็นสถานที่บำบัดรักษาโรค และพอกบ่อโคลนเพื่อสุขภาพ จุดเด่นของน้ำแร่โป่งคำราม คือ เป็นน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ปราศจากกรด และกลิ่นกำมะถัน มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ คนที่เคยมาแช่น้ำแร่ร้อนที่นี่จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผ่อนคลายดี 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 651

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก คือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างลงตัว โดยจะเน้นเกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคนิคแสง สี เสียงในการนำเสนอโดยมีทั้งส่วนที่ให้เรียนรู้ภายในอาคารและส่วนที่ให้เรียนรู้ภายนอกอาคาร ได้เปิดให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 367

วัดโพธิคุณ

วัดโพธิคุณ

สถานที่ตั้งวัดโพธิคุณก่อนปีพุทธศักราช 2523 ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เคยมีที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ หรือวัดมาก่อนเลย มีประชาชนในตัวอำเภอแม่สอดมาจับจองแผ้วถางทำไร่พืชผักผลไม้อยู่ 5 เจ้าของด้วยกัน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น เพราะมีร่องรอยที่จะทำเป็นที่พักสงฆ์อยู่ทั้งที่บ้านห้วยหินฝนและบ้านห้วยเตย (เรื่องชื่อบ้านนั้นเอาไว้เล่าในเรื่องสันติเกนิทาน) แต่ไม่มีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่ประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นยากแก่การสันนิษฐาน แต่พออนุมานได้ว่า อาจเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้ขณะนั้นยังมีไข้ป่า  เช่น ไข้มาลาเรียชุกชุมก็เป็นได้ และชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก   

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,381

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่าง ๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,705

 วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์

 วัดมณีไพรสณฑ์ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ตัวอำเภอแม่สอด สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ต้องเข้าไปเยี่ยมชมคือ “เจดีย์วิหารสัมพุทเธ” เป็นเจดีย์ศิลปกรรมแบบพม่า ลักษณะเป็นเจดีย์ที่บนเจดีย์จะประกอบไปด้วยเจดีย์องค์เล็ก ๆ จำนวนมากล้อมรอบตัวเจดีย์องค์ใหญ่ และในแต่ละองค์เจดีย์จะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก (ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราได้ถ่ายรูปมากฝากให้ชมด้วย)

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,724

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 395

คอกช้างเผือก

คอกช้างเผือก

ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 105 ก่อนถึงตลาดริมเมยประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบโบราณสถานคอกช้างเผือก หรือพะเนียดช้างทำเป็นกำแพงก่อด้วยอิฐมอญ มีความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ กว้างประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 80 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,302

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เทศบาลนครแม่สอด เล็งเห็นความสําคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เยาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด และจัดให้มีการบริการสาธารณะ เช่น การคมนาคมทางบก ระบบรางระบายน้ํา ตลอดจนทํานุบํารุงถนนภายในเขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างแลนด์มาร์ก (Landmark) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เทศบาลนครแม่สอดจึงได้จัดทําโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อําเภอแม่สอด ขึ้นเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้สืบไป 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 549