เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 2,107

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย]

           ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์เป็นมหัศจรรย์บันดาลให้ร้อนถึงสมเด็จอัมรินทราธิราชเนรมิต พระกายเป็นดาบส เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง แล้วตรัสบอกว่าให้ตั้งพระนครในที่นี้ เป็นที่ชัยมงคลพ้นภัยปัจจามิตร แล้วก็อันตรธานหายไปเฉพาะพระเนตร พระเจ้าเชียงรายก็ทรงพระโสมนัสตรัสว่า พระดาบสองค์นี้ ชะรอยจะเป็นสมเด็จอำมรินทราธิราชแสร้งจำแลงพระกายมาบอกให้เป็นแน่แท้ จึงให้ตั้งชมรมสำนักไพร่พลอยู่ในที่นั้น แล้วให้สร้างพระนครพร้อมด้วยเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ แล้วสร้างพระราชนิเวศน์สถาน แลบ้านเรือนแสนท้าวพระยาลาวเหล่าอำมาตย์ราษฎรทั้งปวงอาศัยอยู่ในเมืองนั้นสำเร็จแล้ว ให้นามเมืองว่าไตรตรึงษ์ เหตุสมเด็จท้าวสหัสไนยน์มาชี้ที่ให้เสด็จครองราชย์สมบัติอยู่ในพระนครนั้น ตราบเท่าทิวงคต และพระราชโอรสนัดดาได้ครองสมบัติสืบต่อพระราชวงศ์ติดต่อกันมาถึง 4 ชั่วแผ่นดิน
           ครั้งนั้นยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง เป็นปมเปาทั่วทั้งกาย คนทั้งหลายร้องเรียกชื่อว่านายแสนปม นายแสนปมนั้นท้าไร่ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำใต้เมืองไตรตรึงษ์ลงทางวันหนึ่ง ได้เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต แลมะเขือต้นหนึ่งนั้นอยู่ใกล้ห้างที่อาศัย นายแสนปมไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ มะเขือก็ออกผลผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง เหตุด้วยรดแห่งมูตร์อันเจือไปด้วยสัมภวะราด พอพระราชธิดาพระยาไตรตรึงษ์อยากเสวยผลมะเขือ จึงให้สาวใช้ไปเที่ยวซื้อก็ได้ผลมะเขือใหญ่นั้นมาเสวย นางก็ทรงพระครรภ์ ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถามก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาศกับด้วยบุรุษผู้ใด จนพระครรภ์แก่กำหนดทศมาศก็ประสูตร์พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยบุญธัญลักษณะ พระญาติวงษ์ทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนทรงจำเริญขึ้นพระชนม์ได้ 3 ขวบ           สมเด็จพระไอยกาทรงพระราชดำริห์ จะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร จึงให้ตีกลองป่าวร้องแต่บรรดาชายชาวเมืองให้เข้ามาประชุมในหน้าพระลานให้สิ้น ให้ถือขนมและผลไม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาจงถ้วนทุกคน แล้วจึงทรงพระสัตยาธิฐานว่า ถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของกุมารนี้ ขอให้กุมารจงรับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษผู้นั้นมาบริโภคให้เห็นประจักษ์เถิด แล้วให้นางนมอุ้มพระราชกุมารออกไปที่ประชุมชนในพระลาน 
           ฝ่ายนายแสนปมนั้น...ถือข้าวเย็นก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็วิ่งกอดคอ... เอาข้าวเย็นมาเสวย   ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียน พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยในความอัปยศ จึงประทาน พระราชธิดากับทั้งพระนัดดานั้นให้แก่นายแสนปม แล้วให้ลงแพลอยไปจากเมือง ครั้นแพลอยลงไปถึงที่ไร่มะเขือนายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นอยู่บนห้างอันเป็นที่อาศัย ด้วยบุญญานุภาพของชนทั้งสามก็บันดาลให้ร้อนถึงองค์สมเด็จอัมรินทราธิราช จึงเนรมิตพระกายเป็นวานร ถือเอากลองทิพย์มาส่งให้แก่นายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า ถ้าท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้อาจขอให้สำเร็จตามความปรารถนา ทุกประการ ว่าแล้ววานรก็หายไปในที่เฉพาะหน้า นายแสนปมก็แจ้งว่าเทพยดานำเอากลองทิพย์มาให้มีความยินดีมากนัก จึงตีกลองเข้าปรารถนาจะให้รูปงาม แลปมเปาทั้งปวงนั้นก็หายสิ้น รูปกายงามบริสุทธิ์ แล้วจึงเอากลองทิพย์กลับไปสู่ที่พักบอกแก่ภรรยา นางนั้นมีความโสมนัส จึงตีกลองนิรมิต ทองธรรมชาติให้ช่างทอง ทำอู่ทองให้โอรสไสยาศน์        
           เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้นามปรากฏว่า พระเจ้าอู่ทอง จำเดิมแต่นั้นมาจุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาพระเจ้าอู่ทองราชกุมารก็ตีทิพย์เภรีนฤมิตร์เป็นพระนครขึ้น ในที่นั้นมีทั้งปราการเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทุกสิ่งพร้อมทั้งพระราชวังบวรนิเวศน์สถาน จึงตั้งนามว่า เมืองเทพนคร เหตุสำเร็จด้วยเทวานุภาพ ครั้งนั้นประชาชนทั้งหลายชักชวนกันมาอาศัย ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก เมืองนั้นก็มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยอาณาประชาราษฎร แลบิดาเจ้าอู่ทองก็ได้ครองราชย์สมบัติ ในเมืองเทพนครนั้น ทรงนามสมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เลืองลือพระเกียรติยศปรากฎในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้ประกอบด้วยพระราชกฤษฎา บุญญานุภาพอันเป็นที่มหัศจรรย์ ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครอบครองไพร่ฟ้าประชาชนได้ 25 พรรษา ก็เสด็จสวรรคตในปีวอกฉอศกนั้น ครั้นสวรรคตแล้วกลองทิพย์อันพระอินทร์พระราชทานมาก็อันตรธานหายไปด้วย พระเจ้าอู่ทองราชโอรสจึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชมไหสวรรย์ แทนสมเด็จพระบรมราชบิดาแล้วจึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้วพระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่ในเมืองเทพนครนั้น ได้ 6 พรรษา มีพระราชหฤทัยประสงค์จะสร้างพระนครใหม่ ตรัสให้ขุนตำรวจไปเที่ยวตรวจหาภูมิประเทศแห่งใหม่ที่อันมีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ทุกสิ่ง ขุนตำรวจได้เที่ยวตรวจหาสถานที่ซึ่งจะตั้งเป็นพระนครลงมาทางด้านทิศใต้ จนถึงท้องที่ตำบลหนองโสน อันประกอบด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์ จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ เมื่อความทราบดังนั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้เสด็จกรีฑาพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังพื้นที่แห่งนั้นให้ตั้งพระต้าหนักที่ประทับพลับพลาไชย ณ ตำบลเวียงเหล็ก ให้จัดการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง ทำอิฐเผาปูนซึ่งจะก่อกำแพงพระนครให้ขนานนามพระนคร อันที่สร้างใหม่เป็นนามต้นว่า กรุงเทพมหานคร นามหนึ่งชื่อ บวรทวาราวดี เหตุมีน้ำล้อมรอบดุจเมืองทวาราวดี แต่ก่อนนามหนึ่งชื่อ ศรีอยุธยา เหตุเอานามเมืองสมเด็จพระนารายน์อวตารมาประกอบเข้าทั้ง 3 นามประมวลเข้าด้วยกัน จึงเรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราช นิเวศน์มหาสถาน” 

มีการวิเคราะห์และตีความของนักประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับต้านานของทางล้านนาหลายฉบับ เช่น ตำนานโยนกเชียงแสน ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจุลยุทธกาลวงศ์ ซึ่งประมวลความตามตำนานได้ว่า พระราชวงศ์เชื้อสายจากพระเจ้าสิงหนวัติ พระเจ้าพรหม และพระราชโอรสคือพระเจ้า   ศิริไชยเชียงแสน ซึ่งครองอยู่เมืองเชียงราย ได้หนีภัยสงครามมาตั้งเมืองใหม่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเมืองว่า "เมืองไตรตรึงษ์ " ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นเรื่องของตำนาน ท้าวแสนปม ผู้เป็นราชบุตรเขยของราชาแห่งเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งต่อมาท้าวแสนปมทรงย้ายมาสร้างเมือง "เทพนคร" ขึ้นที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับเมืองไตรตรึงษ์ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายเมืองมาสร้างเมืองอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่านสมมุติชื่อราชวงศ์นี้ว่า "ราชวงศ์เชียงราย" ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1317

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,462

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,398

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,237

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 945

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,563

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 16,175

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 947

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,872

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,492

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,095