ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้ชม 19,469

[16.6172991, 99.7389869, ประวัติน้ำมันลานกระบือ]

          หากจะพูดถึงน้ำมันดิบในไทยแล้วละก็ ยุคแรกก็ต้องน้ำมันดิบฝาง แต่ถ้าเป็นของเอกชนทีรัฐบาลให้สัมปทาน ที่ดังก่อนใครก็ต้อง น้ำมันดิบเพชร ของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร      
          อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร
          กำแพงเพชร มีทรัพยากร ที่ล้ำค่าอยู่ภายใต้พื้นดินคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีการ ขุดเจาะ ตั้งแต่ วันที่ 11 กันยายน ปีพุทธศักราช 2524 จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ นามพระราชทาน น้ำมันดิบที่ขุดได้ที่อำเภอลานกระบือเรียกว่าน้ำมันดิบเพชร
          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ เมื่อวันวันที่ 12 มกราคม 2526 น้ำมันลานกระบือ ได้รับสัมปทานจากบริษัทไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดักชั่น มาตั้งแต่พุทธศักราช 2522 – 2546 ผลิตน้ำมันได้ครบ 150 ล้านบาร์เรล ในปัจจุบัน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน)ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทไทยเชลล์ 
          ใต้แผ่นดินลานกระบือ ยังมีน้ำมันดิบจำนวนมาก สามารถผลิตได้ อีกนาน โดยมีฐานผลิตทั้งหมด 58 ฐาน จำนวนหลุมขุดเจาะ 340 หลุม ( เดือนพฤศจิกายน 2548 ) มีความยาวท่อส่งน้ำมันทั้งสิ้น 270 กิโลเมตร….แต่ละหลุมต้องเจาะลึก ประมาณ 2,000 เมตร หรือ 2 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหลุม 20 เซนติเมตร สามารถหักเห ในการขุดเจาะจากศูนย์กลาง ได้ 50 – 1,000 เมตรจากจุดศูนย์กลาง โดยใช้เวลาขุดเจาะ ประมาณ 7 วัน ต่อหลุม
          ปริมาณการผลิต ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 แหล่งน้ำมันลานกระบือของเราผลิตได้แล้ว 162 ล้าน บาร์เรล ปัจจุบัน เราสามารถผลิต น้ำมันดิบ ได้ 19,000 – 20,000 บาร์เรล ต่อวัน ผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ 40 –50 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน ผลิตก๊าซหุงต้ม (แอล พี จี) 280-300 ตัน ต่อวันถึงแม้ว่า ผลผลิตของบ่อน้ำมันลานกระบือ จะได้เพียง ร้อยละ3 ของการใช้ทั้งหมดภายในประเทศ แต่ก็ยังทำให้ เงินตราของเราไม่ไหลไปต่างประเทศมากนัก นับว่าลานกระบือของเรามีส่วนช่วย บ้านเมืองได้ไม่น้อยเลยทีเดียว……เมื่อคิดเป็นค่าของเงิน…
          อำเภอลานกระบือ ซึ่งเมื่อ 22 ล้านปีมาแล้ว บริเวณนั้นเป็นทะเลสาบน้ำจืด ขนาดใหญ่ คลุมไปถึงกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นความภูมิใจ ….ของชาวกำแพงเพชร และชาวไทยร่วมกัน
          หากเริ่มต้นที่กำแพงเพชร เพื่อจะดูว่าแหล่งน้ำมันจะเป็นอย่างไรในไทย เพราะส่วนมากจะเห็นบ่อน้ำมันของต่างประเทศเสียมากกว่า ก็ต้องเริ่มที่ถนนสายกำแพงเพชร-พิจิตร จากกำแพงเพชรราว 40 กิโลเมตร จะพบทางเข้า เมื่อเข้าไปแล้วจะพบป้ายบอกระยะทางถึงลานกระบือประมาณ 13 กิโลเมตร เข้าไปจนผ่านตัวตลาดซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอด้วย แล้วจะเริ่มพบท่อเหล็กข้างถนน นี่แหละคือท่อน้ำมันดิบ โดยจะมีป้ายบอกชื่อหลุมน้ำมันไว้ด้วย ชื่อหลุมน้ำมันจะเริ่มตั้งแต่อักษร A เรียงตามลำดับต้วอักษรภาษาอังกฤษ หลุมน้ำมันลานกระบือพบประมาณสิบกว่าหลุม ท่อน้ำมันยิ่งมากแสดงว่า ผ่านหลุมน้ำมันมามากขึ้น หลุมน้ำมันมักจะไม่อยู่ข้างถนน แต่ต้องเลี้ยวเข้าไปในถนนเล็กๆจึงจะพบหลุมน้ำมัน สภาพหลุมน้ำมันจะล้อมรั้วกันบุกรุก และมีอุปกรณ์ตั้งอยู่บนหลุม วิทยากรจากบริษัท เชลล์ ได้บรรยายว่า เมื่อพบน้ำมันดิบใหม่ๆน้ำมันดิบไหลขึ้นมาด้วยความดันตัวเองแล้วไหลผ่านท่อเหล็ก โดยเวลากลางวันอุณหภูมิสูงน้ำมันดิบจะไหลได้เอง แต่เวลากลางคืนอุณหภูมิต่ำ น้ำมันจะหนืดจนไม่สามารถไหลได้ ตอนนี้น้ำมันดิบเหลือน้อยแล้วไม่รู้ว่าไหลขึ้นมาอย่างไร ผลพลอยได้จากน้ำมันดิบ คือก๊าซธรรมชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ซื้อก๊าซจาก ปตท มาผลิตไฟฟ้า โดยตั้งโรงไฟฟ้าพลังก๊าซ ใกล้กับแหล่งน้ำมัน ทั้งหมดเป็นสภาพของแหล่งน้ำมันในไทย คือ น้ำมันลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : น้ำมัน, ลานกระบือ

ที่มา : https://sites.google.com/site/oillankrabue/prawati-phu-cad-tha/prawati-b-xna-man

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติน้ำมันลานกระบือ. สืบค้น 25 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1281&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1281&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,307

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,512

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,501

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 8,941

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,725

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 3,475

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 17,818

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 5,228

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,669

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,681