จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้ชม 2,035

[16.3937891, 98.9529695, จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์]

           เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 
           หลังจากสร้างสะพานข้ามลำน้ำปิงและศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในราวปีพุทธศักราช 2500 มีผู้ทักท้วงว่าแบบแผนผิดหลักฮวงจุ้ย คือทางลงสะพานตรงกับศาลากลางเลยทีเดียว จึงปรึกษากันว่าควรนำจารึกรัชกาลที่ 6 ใต้ต้นโพธิ์นี้ ไปประดิษฐานขวางเข้าไว้ให้จารึกปะทะกับความไม่ดีงามที่จะเข้ามากำแพงเพชร จึงปรากฏจารึกใบเสมานี้ ตั้งอยู่กลางวงเวียนต้นโพธิ์เหนือ มาจนทุกวันนี้ 
           รายละเอียดของจารึกวงเวียนต้นโพธิ์กำแพงเพชร หินปูนสีเทา กว้าว 78 เซนติเมตร สูง 126 เซนติเมตร หนา 8 เซนติเมตร ลักษณะตัวอักษร อักษรไทย ข้อความเรียงตามบรรทัด เป็นการจารึก (กพ. 8) หลักที่ 237 นายประสาร บุญประคอง ได้อ่านจารึกหลักนี้ความว่า
           1. ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ 2448 พรรษา
           2. จุลศกัราช 1267 ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก 124
           3. เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
           4. เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
           5. มกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ
           6. มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม 7 ค่า
           7. สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 16 เดือนมกราคม เสด็จประพาส
           8. ทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก
           9. ประทับแรมอยู่ 2 ราตรีตั้งพลับพลานอกกำแพง
           10. เมืองกำแพงเพชรที่วัดชีนางเกา (วัดชินวงศ์) ริมลำน้ำปิงฝั่งเหนือฯ
           11. ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ 2450 พรรษา
           12. จุลศกัราช 1269 ศกมะแม รัตนโกสินทรศก 126
           13. เป็นปีที่ 40 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
           14. เจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้น
           15. ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้
           16. วันพุธเดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด
           17. วันที่ 15 มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร
           18. โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 ประทับแรมอยู่           
           19. 3 ราตรีที่พลับพลาเดิมฯ
สภาพของจารึก อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 

สถานที่ประดิษฐาน
          จารึก กพ. 8 ซุ้มน้ำพุวงเวียนต้นโพธิ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : ต้นโพธิ์, วงเวียนต้นโพธิ์

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์. สืบค้น 11 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1293&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1293&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,818

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,518

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,723

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,399

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 16,195

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,446

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 828

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,623

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,658

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,967