ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 1,347

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)]

             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย และยังทรงบันทึกถึงความอาภัพของเมืองกำแพงเพชรเป็นพระราชนิพนธ์เอาไว้ใน “หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง” ความตอนหนึ่งว่า  “เมืองกำแพงเพชรนี้เป็นเมืองที่อยู่ริมทางที่คนขึ้นล่องก็จริงอยู่แต่น่าประหลาดหาคนที่ได้เคยเที่ยวดูตลอดยากนัก การเที่ยวของคนไทยเราโดยมากมักนึกถึงแต่การเที่ยวตามตลาดและบ้านผู้คนอยู่เป็นหมู่ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นบางคนแทบจะไม่ทราบว่าที่กำแพงเพชรมีเมืองเก่าที่จะเที่ยวดูเล่นได้ เมื่อผ่านไปแลเห็นกำแพงเมืองเก่าก็พอทราบว่ามีเมืองเก่าเท่านั้น ไม่ได้นึกอยากดูหรืออยากทราบอะไรอีกต่อไป บางคนถึงกับเปล่งอุทานวาจาว่าเมืองเก่านั้นจะไปดูอะไรป่านนี้ จนปรักหักพังเสียหมดแล้ว เพราะคนเรามีความคิดเช่นนี้เรื่องราวของชาติเราจึงสูญเร็วนัก ชาวเราไม่รู้สึกละอายแก่ชาติอื่นๆ เขาบ้างเลย น่าจะประสงค์ที่จะอวดว่าเราเป็นชาติที่แก่กลับอยากจะลืมความแก่ของชาติเสีย...”  ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2450 ได้ทรงใช้เวลาตลอดทั้ง 2 วัน สำรวจตรวจตราโบราณสถานและให้ข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชรไว้หลายประการ โดยเสด็จบริเวณกำแพงเมืองหลักเมือง เทวรูป พระนารายณ์กับพระอุมา วัดพระแก้ว แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณ ผ่านสระแก้ว สระคำเข้าไปในเขตอรัญญิก เสด็จชมวัดอาวาสใหญ่ บ่อสามแสน วัดช้างรอบ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดตึกพราหมณ์ ดังข้อความบางตอนของการเสด็จที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้
            “ในที่เกือบจะกลางเมือง ไม่ห่างจากหลักเมืองนัก มีที่วังอยู่แห่งหนึ่ง เป็นเกาะย่อมๆ มีคูรอบและมีสระเล็กๆ 2 สระ แต่เชิงเทินหรือกำแพงไม่ม่ี จึงสันนิษฐานว่าคงจะใช้กำแพงอย่างระเนียด คือเป็นรั้วไม้ปักกับดินพอเป็นเครื่องกั้นให้เป็นฝารอบขอบชิดเท่านั้น ส่วนปราสาทราชฐานไม่ม่ีเหลืออยู่เลย และที่จริงก็ไม่ได้คาดว่าจะเหลือ เพราะเชื่ออยู่ว่าคงทำด้วยไม้ทั้งสิ้น อย่างเช่นวัดเก่าๆ ในที่อื่นๆ” “ที่ข้างวังทางด้านตะวันตก มีวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่ง มีถนนคั่นห่างจากวังอยู่ชั่วทางกว้างของถนน ประมาณ 4 วา เท่านั้น ที่ทางวังตรงวัดมีเกยอยู่อันหนึ่ง และมีเกยอยู่ตรงฟากถนนอีกอันหนึ่ง มีรากเป็นเรือนยาวๆ อยู่หัวหนึ่งที่ยังเหลืออยู่มีเป็นฐานแลงรูปสี่เหลี่ยมรี มีเสาไม้ยังฝังอยู่บ้าง ซึ่งทำให้เข้าใจว่าคงจะมีฐานแลงและปลูกเรือนไม้ขึ้นบนฐานนั้น ถ้าจะคิดดูตามที่ตั้งอยู่น่าจะเดาว่าเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่อง ส่วนวัดนั้นคงเป็นอย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงทวาราวดี มีเจดีย์โบสถ์วิหารใหญ่ ๆ งามๆ อยู่มาก การก่อสร้างใช้แลงเป็นพื้น มีที่ก่อซ่อมแซมด้วยอิฐภายหลังก็มาก มีกำแพงแก้วสูงประมาณ 3 ศอก ล้อมรอบลานต่อลงไปทางด้านใต้มีลานอีกลานหนึ่ง มีกำแพงแก้วล้อมเหมือนกันในที่กลางมีพระธาตใุหญ่ตั้งบนลานสูง พระวิเชียรปราการตั้งชื่อไว้ว่าวัดมหาธาตุ แต่ดูเหมือนที่จริงจะเป็นวัดเดียวกันกับวัดริมวังนั้นเอง วัดริมวังนั้นเดิมข้าพเจ้าเดาว่าจะเป็นวัดพระแก้ว คือวัดที่ได้พระดิษฐานพระมณีรัตนปฏิมากร เมื่อได้ไปอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร ตามที่กล่าวไว้ในตำนานพระแก้วมรกต..”
            “ที่เมืองไปทางด้านตะวันออก เดินไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ ทางไปจากเมืองราว 100 เส้น ถึงหมู่วัดใหญ่ๆ น่าดูมีอยู่หลายวัด ที่แถบนี้เป็นที่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งนครปุโบราณ วัดต่างๆ ในแถบนี้เหลือที่จะดูให้ทั่ว และที่จริงก็ไม่สู้จำเป็นที่จะดูให้ทุกวัด เลือกดูแต่วัดใหญ่ๆ ก็พอ วัดที่สำคัญที่สุดในแถวนี้ก็คือวัดที่เรียกตามชื่อราษฏรว่า อาวาสใหญ่ ชิ้นสำคัญในวัดชิ้นนี้ คือ พระธาตุใหญ่ อยู่กลางลาน รอบลานมีกำแพงสูงประมาณ 5 ศอก บนกำแพงมีเจดีย์ย่อมๆ ก่อเป็นระยะไว้ตอบ เป็นบริวารพระธาตุ ตัวพระมหาธาตุเองตั้งบนฐานทักษิณ มีบันไดขึ้นสี่ด้าน มีกำแพงล้อมรอบทักษิณ ทั้งที่กำแพงและที่ประตู้มีรูปสลักงามๆ เป็นยักษ์บ้างเทวดาบ้าง ฝีมือสลักแลงงามน่าดูกัน..” 
            “ที่อาวาสใหญ่นั้นนอกจากองค์พระธาตุ และพระเจดีย์บริวาร ยังมีสิ่งน่าดูอีกอย่างหนึ่ง คือที่นอกกำแพงแก้วออกไป มีบ่อน้ำใหญ่อยู่บ่อหนึ่ง เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่แรกดูไม่ทราบว่าก่อด้วยอะไร ครั้นพิจารณาดูแล้วจึงได้ความว่า บ่อน้ำนั้นหาได้มีสิ่งอะไรก่อเป็นผนังไม่ ที่แผ่นดินตรงนั้นเป็นแลง ขุดบ่อลงในในแลงข้าง ๆ บ่อนั้น พอถูกอากาศก็แข็งเป็นศิลา จึงดูเหมือนก่อเรียบร้อย เพราะเป็นของควรดูอย่างหนึ่ง และเมื่อดูแล้วจะต้องออกรู้สึกอิจฉาว่าเข้าทำบ่อได้ดีและถาวร โดยไม่ต้องเปลืองโส้หุยค่าก่อข้างบ่อด้วยศิลาหรืออิฐปูนอะไรเลย บ่อนี้เป็นพยานให้เห็นได้ว่าน่าจะเป็นวัดใหญ่มีพระสงฆ์อยู่มาก”

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ). สืบค้น 7 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1308&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1308&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 921

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,565

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,692

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,812

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,472

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,527

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,689

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,009

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,057

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 4,412