เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 2,022

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย]

           ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์เป็นมหัศจรรย์บันดาลให้ร้อนถึงสมเด็จอัมรินทราธิราชเนรมิต พระกายเป็นดาบส เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง แล้วตรัสบอกว่าให้ตั้งพระนครในที่นี้ เป็นที่ชัยมงคลพ้นภัยปัจจามิตร แล้วก็อันตรธานหายไปเฉพาะพระเนตร พระเจ้าเชียงรายก็ทรงพระโสมนัสตรัสว่า พระดาบสองค์นี้ ชะรอยจะเป็นสมเด็จอำมรินทราธิราชแสร้งจำแลงพระกายมาบอกให้เป็นแน่แท้ จึงให้ตั้งชมรมสำนักไพร่พลอยู่ในที่นั้น แล้วให้สร้างพระนครพร้อมด้วยเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ แล้วสร้างพระราชนิเวศน์สถาน แลบ้านเรือนแสนท้าวพระยาลาวเหล่าอำมาตย์ราษฎรทั้งปวงอาศัยอยู่ในเมืองนั้นสำเร็จแล้ว ให้นามเมืองว่าไตรตรึงษ์ เหตุสมเด็จท้าวสหัสไนยน์มาชี้ที่ให้เสด็จครองราชย์สมบัติอยู่ในพระนครนั้น ตราบเท่าทิวงคต และพระราชโอรสนัดดาได้ครองสมบัติสืบต่อพระราชวงศ์ติดต่อกันมาถึง 4 ชั่วแผ่นดิน
           ครั้งนั้นยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง เป็นปมเปาทั่วทั้งกาย คนทั้งหลายร้องเรียกชื่อว่านายแสนปม นายแสนปมนั้นท้าไร่ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำใต้เมืองไตรตรึงษ์ลงทางวันหนึ่ง ได้เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต แลมะเขือต้นหนึ่งนั้นอยู่ใกล้ห้างที่อาศัย นายแสนปมไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ มะเขือก็ออกผลผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง เหตุด้วยรดแห่งมูตร์อันเจือไปด้วยสัมภวะราด พอพระราชธิดาพระยาไตรตรึงษ์อยากเสวยผลมะเขือ จึงให้สาวใช้ไปเที่ยวซื้อก็ได้ผลมะเขือใหญ่นั้นมาเสวย นางก็ทรงพระครรภ์ ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถามก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาศกับด้วยบุรุษผู้ใด จนพระครรภ์แก่กำหนดทศมาศก็ประสูตร์พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยบุญธัญลักษณะ พระญาติวงษ์ทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนทรงจำเริญขึ้นพระชนม์ได้ 3 ขวบ           สมเด็จพระไอยกาทรงพระราชดำริห์ จะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร จึงให้ตีกลองป่าวร้องแต่บรรดาชายชาวเมืองให้เข้ามาประชุมในหน้าพระลานให้สิ้น ให้ถือขนมและผลไม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาจงถ้วนทุกคน แล้วจึงทรงพระสัตยาธิฐานว่า ถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของกุมารนี้ ขอให้กุมารจงรับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษผู้นั้นมาบริโภคให้เห็นประจักษ์เถิด แล้วให้นางนมอุ้มพระราชกุมารออกไปที่ประชุมชนในพระลาน 
           ฝ่ายนายแสนปมนั้น...ถือข้าวเย็นก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็วิ่งกอดคอ... เอาข้าวเย็นมาเสวย   ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียน พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยในความอัปยศ จึงประทาน พระราชธิดากับทั้งพระนัดดานั้นให้แก่นายแสนปม แล้วให้ลงแพลอยไปจากเมือง ครั้นแพลอยลงไปถึงที่ไร่มะเขือนายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นอยู่บนห้างอันเป็นที่อาศัย ด้วยบุญญานุภาพของชนทั้งสามก็บันดาลให้ร้อนถึงองค์สมเด็จอัมรินทราธิราช จึงเนรมิตพระกายเป็นวานร ถือเอากลองทิพย์มาส่งให้แก่นายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า ถ้าท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้อาจขอให้สำเร็จตามความปรารถนา ทุกประการ ว่าแล้ววานรก็หายไปในที่เฉพาะหน้า นายแสนปมก็แจ้งว่าเทพยดานำเอากลองทิพย์มาให้มีความยินดีมากนัก จึงตีกลองเข้าปรารถนาจะให้รูปงาม แลปมเปาทั้งปวงนั้นก็หายสิ้น รูปกายงามบริสุทธิ์ แล้วจึงเอากลองทิพย์กลับไปสู่ที่พักบอกแก่ภรรยา นางนั้นมีความโสมนัส จึงตีกลองนิรมิต ทองธรรมชาติให้ช่างทอง ทำอู่ทองให้โอรสไสยาศน์        
           เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้นามปรากฏว่า พระเจ้าอู่ทอง จำเดิมแต่นั้นมาจุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาพระเจ้าอู่ทองราชกุมารก็ตีทิพย์เภรีนฤมิตร์เป็นพระนครขึ้น ในที่นั้นมีทั้งปราการเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทุกสิ่งพร้อมทั้งพระราชวังบวรนิเวศน์สถาน จึงตั้งนามว่า เมืองเทพนคร เหตุสำเร็จด้วยเทวานุภาพ ครั้งนั้นประชาชนทั้งหลายชักชวนกันมาอาศัย ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก เมืองนั้นก็มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยอาณาประชาราษฎร แลบิดาเจ้าอู่ทองก็ได้ครองราชย์สมบัติ ในเมืองเทพนครนั้น ทรงนามสมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เลืองลือพระเกียรติยศปรากฎในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้ประกอบด้วยพระราชกฤษฎา บุญญานุภาพอันเป็นที่มหัศจรรย์ ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครอบครองไพร่ฟ้าประชาชนได้ 25 พรรษา ก็เสด็จสวรรคตในปีวอกฉอศกนั้น ครั้นสวรรคตแล้วกลองทิพย์อันพระอินทร์พระราชทานมาก็อันตรธานหายไปด้วย พระเจ้าอู่ทองราชโอรสจึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชมไหสวรรย์ แทนสมเด็จพระบรมราชบิดาแล้วจึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้วพระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่ในเมืองเทพนครนั้น ได้ 6 พรรษา มีพระราชหฤทัยประสงค์จะสร้างพระนครใหม่ ตรัสให้ขุนตำรวจไปเที่ยวตรวจหาภูมิประเทศแห่งใหม่ที่อันมีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ทุกสิ่ง ขุนตำรวจได้เที่ยวตรวจหาสถานที่ซึ่งจะตั้งเป็นพระนครลงมาทางด้านทิศใต้ จนถึงท้องที่ตำบลหนองโสน อันประกอบด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์ จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ เมื่อความทราบดังนั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้เสด็จกรีฑาพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังพื้นที่แห่งนั้นให้ตั้งพระต้าหนักที่ประทับพลับพลาไชย ณ ตำบลเวียงเหล็ก ให้จัดการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง ทำอิฐเผาปูนซึ่งจะก่อกำแพงพระนครให้ขนานนามพระนคร อันที่สร้างใหม่เป็นนามต้นว่า กรุงเทพมหานคร นามหนึ่งชื่อ บวรทวาราวดี เหตุมีน้ำล้อมรอบดุจเมืองทวาราวดี แต่ก่อนนามหนึ่งชื่อ ศรีอยุธยา เหตุเอานามเมืองสมเด็จพระนารายน์อวตารมาประกอบเข้าทั้ง 3 นามประมวลเข้าด้วยกัน จึงเรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราช นิเวศน์มหาสถาน” 

มีการวิเคราะห์และตีความของนักประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับต้านานของทางล้านนาหลายฉบับ เช่น ตำนานโยนกเชียงแสน ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจุลยุทธกาลวงศ์ ซึ่งประมวลความตามตำนานได้ว่า พระราชวงศ์เชื้อสายจากพระเจ้าสิงหนวัติ พระเจ้าพรหม และพระราชโอรสคือพระเจ้า   ศิริไชยเชียงแสน ซึ่งครองอยู่เมืองเชียงราย ได้หนีภัยสงครามมาตั้งเมืองใหม่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเมืองว่า "เมืองไตรตรึงษ์ " ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นเรื่องของตำนาน ท้าวแสนปม ผู้เป็นราชบุตรเขยของราชาแห่งเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งต่อมาท้าวแสนปมทรงย้ายมาสร้างเมือง "เทพนคร" ขึ้นที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับเมืองไตรตรึงษ์ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายเมืองมาสร้างเมืองอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่านสมมุติชื่อราชวงศ์นี้ว่า "ราชวงศ์เชียงราย" ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,051

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,267

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,613

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,353

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,415

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,973

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,449

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,120

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,389