ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,265

[16.3630433, 99.6451875, ประวัติบ้านโคน]

ประวัติความเป็นมาของบ้านโคน 
          ประวัติบ้านโคน การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งช่วงประวัติของหมู่บ้านออกเป็น 3 ช่วง ตามประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของชุมชน วัฒนธรรมพื้นบ้านสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 
          ยุคแรกเริ่ม 
          ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ 
          บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 
          สัญนิฐานว่าเป็นเมืองคณฑี แรกเริ่มมีครอบครัวประมาณ 5 – 10 ครัวเรือน และห่างออกไปบริเวณวัดกาทึ้ง มีประชากรตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ มีวัดกาทึ้งเป็นศูนย์กลาง ต่อมาพม่าเข้ามาทำศึกกับทางกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าได้ทำลายวัตถุโบราณและบ้านเรือน ทำให้ชาวบ้านแถบนั้นหนีเข้าป่าหรือไม่ก็อพยพไปอยู่ที่อื่น เมื่อสงครามสงบศึก ผู้คนที่หลงเหลืออยู่ได้มาจองที่ดินและขนวัตถุโบราณมาไว้ที่วัดปราสาทและมาตั้งบ้านเรือนแถบลุ่มแม่น้ำปิง มาปฏิสังขรณ์วัดปราสาทแทนในช่วงนั้นมีวัดที่สำคัญในบริเวณบ้านโคนอยู่ 4 วัด ดังนี้   
           1. วัดช้างแก้ว เป็นวัดแรกที่มีในบริเวณนี้แต่ถูกพม่าเผาทำลายเพียงแต่ซากเล็กน้อยเท่านั้น 
           2. วัดท่าชัย ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเคยมีพระใหญ่ตั้งอยู่บริเวณต้นโพธิ์ ( ปัจจุบันเป็นเหมืองสูบน้ำข้างปราสาทอนุสรณ์ ) แต่พระพุทธรูปโบราณได้พังลงแม่น้ำปิงไปแล้ว 
           3. วัดกาทึ้ง     
           4. วัดปราสาท เป็นวัดที่สร้างหลังสุด วัดกาทึ้งและวัดปราสาทจะได้กล่าวถึงในช่วงตำนานหรือนิทานที่เกี่ยวข้อง
          ยุคการคมนาคมทางน้ำเจริญรุ่งเรือง
          หลังจากที่มีการติดต่อทางน้ำระหว่างกรุงเทพมหานครกับชุมชนบ้านโคนมากขึ้น ทำให้แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญใช้ในการคมนาคม ต่อมาชุมชนเริ่มขยายขึ้น มีประชากรที่อพยพมาจากวัดกาทึ้งมาสมทบเพิ่มมากขึ้นและได้ถือเอาวัดปราสาทเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มมีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ โดยการคมนาคมนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำ ในสมัยนั้นจะมีเรือเหลืองและเรือแดง ซึ่งเป็นเรือกลไฟสำหรับโดยสาร ราคาโดยสารนั้นเรือแดงจะแพงกว่าเพราะเป็นเรือกลไฟมีความรวดเร็ว  นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าชาวจีนที่ล่องเรือมาขายสินค้า โดยสินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ เครื่องแต่งตัว เครื่องใช้ในครัวเรือนและอาหาร โดยสินค้าที่นำมานี้จะรับมาจากที่ต่างๆ แล้วมาขายต่ออีกทีหนึ่ง 
          ในช่วงสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ สมเด็จพระพันปี “ หรือ “ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ ทรงเสด็จประพาสต้นเมื่อเสด็จผ่านชุมชนจึงเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดปราสาท โดยกำนันได้เกณฑ์ชาวบ้านไปตัดไม้มาทำพลับเพลารับเสด็จที่หน้าวัด พระองค์เสด็จขึ้นที่วัดปราสาทนมัสการหลวงพ่อโต แล้วทรงเสด็จยังวัดกาทึ้ง เพื่อนมัสการโบราณสถาน พระองค์สันนิษฐานว่า บริเวณแถบนี้เคยเป็นบ้านเมืองโบราณมาก่อน ( ตามเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ ๕ ณ จังหวัดกำแพงเพชร  ) ในสมัยนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่า โดยเริ่มตั้งแต่ทางทิศใต้ถึงท่าเสลียง ทางเหนือถึงโขมงหัก ทางทิศตะวันออกไปจนถึงบ่อทองเป็นป่าเกือบทั้งหมด 
          ประชาชนของชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนาทำไร่ และทำไม้ แต่ที่ทำกันมากที่สุดคือ “ การทำไม้ “ ผู้ที่มีอาชีพทำไม้ในสมัยนั้นได้แก่ นายสุขขัง เกิดพันธ์ นายพุดซ้อน เกิดสว่าง นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นต้น โดยแต่ละคนที่ทำไม้จะต้องทำเรื่องขอสัมปทานทำไม้จากรัฐบาลเสียก่อน และมีการกำหนดอาณาเขตในการทำไม้ ไม้ที่ทางรัฐบาลอนุญาตก็ได้แก่ ไม้แดง ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้เหี้ยง ไม้พลวง ฯลฯ แต่ที่ไม่อนุญาตให้ตัด คือ ไม้สัก เพราะเริ่มเป็นไม้ที่หายาก  เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก็จะนำลูกน้องเข้าไปตัดไม้ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตโดยจะใช้ช้างและควายลากไม้ออกจากป่า มาทิ้งไว้ที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็จะมัดไม้ทั้งหมดที่ตัดมาทำเป็นแพล่องแม่น้ำปิงไปขาย โดยมากพ่อค้าไม้จะไปขายกันที่ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพราะเป็นแหล่งรวมที่ค้าไม้ ( มวน อินทรสูตร, 2541 : สัมภาษณ์ ) ถ้าไปไกลหน่อยก็จะไปขายกันในแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้ราคาดีขึ้น 
          ยุคนี้เป็นยุคที่ชุมชนบ้านโคนเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการเป็นชุมชนระหว่างเส้นทางคมนาคม และเป็นชุมชนค้าไม้จะเห็นได้จากการมีบ้านคหบดีจากการค้าไม้ 2 – 3 หลัง 
          ยุคหลังการตัดถนนกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ – ขาณุวรลักษบุรี 
          เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นประกอบกับความเจริญด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากจึงมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเปลี่ยนไปคือ ในชุมชนเริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยประชากรเหล่านี้ก็ได้ย้ายบ้านเรือนจากบริเวณริมแม่น้ำปิง พอในช่วงที่ตั้งของชุมชนได้ถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะประชากรของชุมชนจึงต้องย้ายบ้านเรือนหนีการกัดเซาะของแม่น้ำมาเรื่อยๆ ส่วนลูกหลานที่แต่งงานกันต้องการจะออกเรือน ผู้เป็นพ่อกับแม่ก็ยกที่ดินแถบบริเวณตะวันออกของหมู่บ้านให้ปลูกเรือน และในช่วงนั้นได้มีการตัดถนนลูกรังผ่านหมู่บ้าน จึงทำให้ปลูกเรือนอยู่บริเวณสองฟากถนนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นเริ่มมีรถโดยสารประจำทางระหว่างชุมชนกับเมืองกำแพงเพชร  ต่อมามีการสร้างถนนลาดยางสายกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ ผ่านชุมชนบ้านโคนในปี พ.ศ. 2524 ยิ่งทำให้มีประชากรอพยพมาอยู่ริมถนนมากขึ้น การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดบทบาทลงเพราะล่าช้า ไม่สะดวกประชากรเริ่มหันมาใช้การคมนาคมทางบกแทน เพราะมีความสะดวกรวดเร็วกว่า และมีรถโดยสารประจำทางระหว่างตัวเมืองกำแพงเพชรจึงทำให้ลักษณะหมู่บ้านเริ่มเปลี่ยนไป คือ มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของถนนแทนที่การตั้งบ้านเรือนแบบยาวตามลำน้ำ  ส่วนบ้านโคนเหนือนั้นในช่วงที่การทำไม้เริ่มหมดไป กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน  กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ “

คำสำคัญ : บ้านโคน

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=125

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติบ้านโคน. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,353

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,451

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,651

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,423

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,301

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,003

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,265

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,373

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,620

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,254