พิธีโกนจุก

พิธีโกนจุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 6,361

[16.1553981, 99.9413734, พิธีโกนจุก]

       สมัยก่อน เด็กไทยชายหญิงจะมีทรงผมที่นิยมไว้คล้ายๆ กัน เช่น ผมจุก ผมเปีย ผมแกละ หรือผมโก๊ะ แต่ปัจจุบันทรงผมเหล่านี้เริ่มหายไปจากสังคมไทยแล้ว จะพอหาได้ตามต่างจังหวัดเท่านั้น ทรงผมของเด็กไทยโบราณนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่ว่า เด็กที่เจ็บออดๆ แอดๆ หรือเลี้ยงยาก ถ้าไว้ผมจุก ผมเปียจะหายเจ็บไข้ได้ป่วย กลับมาแข็งแรง เลี้ยงง่าย
       สาเหตุที่เด็กไทยสมัยก่อนต้องไว้ผมจุก ผมเปียของเด็กสมัยก่อนนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องของความเชื่อแล้ว เชื่อกันว่าเด็กที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้กระเซาะกระแซะบ่อยๆ ให้ไว้ผมจุก หรือผมเปียแล้วจะหายจากอาการป่วยนั้นได้ และเมื่ออายุครบก็จะต้องโกนจุกหรือเปียนั้นทิ้ง หลังจากนั้นเด็กคนนั้นก็จะอยู่เย็นเป็นสุข
       แต่ถ้าพิจารณากันตามหลักเหตผลแล้วจะพบว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การให้เด็กไว้ผมยาวจะทำให้เด็กเกิดความรำคาญ ดูแลรักษายาก แต่จะให้โกนผมออกทั้งหมดก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากกลางกระหม่อมหรือกลางกะโหลกศีรษะเด็กซึ่งจะเรียกกันว่า ขวัญ ยังบอบบางเป็นเพียงเนื้ออ่อนๆ เท่านั้น จำเป็นต้องมีสิ่งปกปิดป้องกันอันตราย หากมีการโกนผมในส่วนนั้นออกอาจจะเป็นอันตรายกับกะโหลก สมองของเด็กได้ จึงโกนเฉพาะส่วนอื่นๆ แล้วปล่อยส่วนกลางกระหม่อมเอาไว้
       หลังจากที่ไว้ผมจุก ผมเปียมาได้ระยะหนึ่ง บางคนอาจจะ 5 ปี 7 ปี 9 ปี หรือ 11 ปี ถึงจะโกนผมจุกผมเปียออก แต่จะไม่นิยมโกนจุกเมื่อเด็กอายุตกเลขคู่ ครอบครัวที่มีฐานะดีหรือพอมีฐานะก็จะนิมนต์พระตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป มาสวดมนต์ (สวดขยันโต) เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเด็ก มีการถวายภัตตาหารเช้า จัดมหรสพมาฉลอง เช่น ลิเก ภาพยนตร์ แต่ถ้าบ้านไหนฐานะไม่ค่อยดี ก็มักจะโกนกันพอเป็นพิธีโดยอาจจะให้พระธุดงค์ทำพิธีโกนให้ หรือใช้ยางรัดจุดแล้วตัดปลายจุกเท่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลือง แต่พ่อแม่จะไม่โกนกันเองเพราะเชื่อกันว่าถ้าทำกันเองแล้วเด็กอาจจะเสียสติเป็นบ้าได้ ถ้าจะโกนก็จะต้องนิมนต์พระสงฆ์มาทำโกนจุกให้เท่านั้น
       อุปกรณ์สำหรับพิธีโกนจุกจะประกอบด้วยสิ่งของหลายอย่าง กรรไกรด้ามเงิน กรรไกรด้ามทอง และกรรไกรด้ามธรรมดา ใบบอนหรือใบบัวสำหรับเย็บกระทง ดอกไม้ ธูป เทียน ใบเงิน ใบทอง หอยสังข์สำหรับตักน้ำมนต์รด หญ้าแพรกสำหรับพันเป็นแหวนหัวพิรอด
       พิธีโกนผมจุกจะเริ่มพิธีในตอนเช้าเมื่อพระสวดชยันโต ถวายภัตตาหารเช้า จากนั้นจะใช้หอยสังข์ตักน้ำมนต์ที่ผ่านพิธีสวดชยันโตแล้ว รดลงบนศีรษะเด็ก พระสงฆ์จะใช้กรรไกรขลิบผมพอเป็นพิธีและส่งต่อให้พ่อแม่เด็กหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นคนโกนผมต่อไป แล้วจะใช้แหวนหัวพิรอดมาสวมครอบจุกเอาไว้ ส่วนครอบครัวที่ฐานะดีจะใช้ปิ่นปักผมปักผมจุกแทน ส่วนผมที่โกนออกก็จะเก็บใส่กระทงใบบัวหรือใบบอนที่เตรียมไว้ พร้อมกับดอกไม้ ธูปเทียน แล้วนำไปลอยน้ำ เป็นอันเสร็จพิธี
       ในบางท้องถิ่น ก่อนจะเข้าสู่พิธีโกนผมจุกจะมีการทำขวัญก่อน คล้ายการทำขวัญนาค เนื่องจากเชื่อกันว่าขวัญของเด็กอาจจะไปเที่ยวเล่นที่ไหนไกล จำเป็นต้องเรียกขวัญกลับมาอยู่กับตัวเสียก่อน และก่อนที่จะทำพิธีโกนผมจุก จะไม่ให้เด็กไปเที่ยวเล่นที่ไหนอีกเพื่อเป็นการรักษาเนื้อรักษาตัวเด็กไว้สำหรับพิธีโกนจุก หากจำเป็นต้องเดินทางจะใช้การขี่คอเด็กคนอื่นแทนไปก่อน

 

 

คำสำคัญ : ประเพณีและพิธีโกนจุก

ที่มา : ประเพณีและวันสำคัญต่างๆ ของไทย. (2552). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.9bkk.com/article/custom/custom2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พิธีโกนจุก. สืบค้น 18 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=180&code_db=DB0002&code_type=W002

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=180&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,288

รำโทน

รำโทน

รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น  ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,259

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,273

วัฒนธรรมข้ามโลก

วัฒนธรรมข้ามโลก

ความรักและบุเพสันนิวาส เป็นสิ่งที่ไม่มีคำตอบและคำถาม ว่าทำไมคนสองคนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก จึงมีโอกาสได้อยู่ด้วยกัน ได้รักกัน ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะโลกไร้พรมแดนอย่างจริงจัง การที่สาวไทยไปแต่งงานกับคนต่างชาติ มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย พม่า กะเหรี่ยง เวียดนาม ลาว หรือชาติบ้านใกล้เรือนเคียง ปัจจุบันยุโรปและอเมริกา คนละซีกโลก แต่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ลัดฟ้ามาพบกันได้ เราจึงเรียกเขยฝรั่งเหล่านี้ว่า สานสัมพันธ์วัฒนธรรมข้ามโลก ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 890

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,247

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,433

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,410

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 943

พิธีพลียา

พิธีพลียา

เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,752

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,346