ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 4,962

[16.4830586, 99.5229604, ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง]

ประวัติความเป็นมา 
         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูกกล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็นพืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปีหนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ "กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้นมาทันที และทำให้กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า "เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประเทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวนกล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มาปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้ จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรมของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่
         ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด และเป็นการส่งเสริมการขายกล้วยไข่ ของดี ของเด่น ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก มากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ การออกร้านจำหน่วยสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ณ บริเวณลานโพธิ์ หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ในงานนี้ทุกท่านจะได้ชิมกระ ยาสารทแสนอร่อยจากยอดฝีมือที่ชนะเลิศการประกวดจากปีก่อนๆ รวมถึงกิจกรรมผ้าป่าแถว กิจกรรมทางพุทธศาสนา ที่เป็นประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่พุทธกาล  สารท เป็นคำของอินเดีย หมายถึง ฤดู ตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษว่า Autumn แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง อยู่ในระหว่างฤดูฝนกับหนาว สำหรับคนไทย สารทเป็นการทำบุญกลางปีซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ในอดีตพิธีนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน กล่าวคือเมื่อถึงเดือน 10 เป็นฤดูที่ข้าวสาลีในนาออกรวงอ่อนเป็นน้ำนม ผู้คนพากันเก็บเกี่ยวรวงข้าวสาลีอันเป็นผลแรกได้มาทำมธุปายาสและยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา อีกประการหนึ่งคือทำเพื่อเซ่นไหว้บุรพชน คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาผู้ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์แล้วกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงคราวที่เคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ก็จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำแก่พราหมณ์ ถือกันว่าการทำบุญด้วยของแรกได้เป็นผลานิสงส์อย่างยิ่ง และเมื่อทำบุญแล้ว มักจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตายของชาวฮินดูเรียกว่า "ศราทธ์" ออกเสียงเหมือนกับคำว่า "สารท" ในภาษาไทย ซึ่งเป็นชื่อฤดู สำหรับอาหารที่ทำในเทศกาลสารทถวายพระสงฆ์นี้ เรียกว่า "กระยาสารท" แปลว่า "อาหารที่ทำให้ฤดูสารท" โดยส่วนผสมของกระยาสารทไทยนี้จะประกอบไปด้วยข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งา นำมาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วจึงนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึกจะทำกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ ห่อด้วยใบตองแห้งใส่ไว้ในโหลหรือปีบ ซึ่งหลังจากจัดทำถวายพระสงฆ์แล้วมักจะนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล    
         ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงวันสารท เดือน 10 ประมาณปลายเดือนกันยายน หรือ ต้นเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลิตผลทางการเกษตรที่นำชื่อเสียงและทำรายได้ให้แก่จังหวัดเป็นอย่างมาก คือ กล้วยไข่ ในงานจะมีการประกวดกล้วยไข่ประกวดพืชผลทางเกษตร พิธีกวนข้าวกระยาทิพย์ ซึ่งเป็นพิธีเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล การกวนกระยาสารท การแสดงสินค้าพื้นเมือง ประกวดการตกแต่งรถขบวนแห่อย่างวิจิตรตระการตาด้วยส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยไข่ นับเป็นงานประเพณีสำคัญที่จังหวัดจัดเป็นประจำทุกปี

 

คำสำคัญ : สารทไทย งานกล้วยไข่

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thai/kamphaengphet/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=133&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=133&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 21,286

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,524

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,597

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,457

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,591

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,844

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,445

ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,085

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,212

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,946