ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 2,585

[16.4336195, 99.4094765, ระบำร้องแก้]

ที่มา
        มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม 

วิธีการเล่น
        หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่ 

การแต่งกาย
        หญิงนุ่งผ้าซิ่น เสื้อสีสวยงาม
        ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมลายดอก 

เครื่องดนตรี
        กลอง  ฉิ่ง  กรับ  ฉาบ 

เนื้อเพลง
        ชาย  - นักจะเล่นให้น้องเต้นออกมา อย่ามัวระอาแกมอาย
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง - นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยื่นหน้าลอยนวลเถิดพ่อพวงมาลัย
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        ชาย  - แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง - พ่อสูงระหงโปร่งฟ้า มาแลดูหล่อกว่าใครเอ๋ยใคร
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        ชาย  - พี่รักน้องจริงๆ เหมือนกับปลิงเกาะขา ยืดไปยาวมาเหมือนกับปลิงเกาะควาย
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง - อย่ามารักร้องเลย นะพ่อเตยต้นต่ำ รักน้องไปทำเอ๋ยไม่
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        ชาย  - พี่รักน้องแท้ๆ เหมือนผ้าแถบ พี่รักน้องเอาเสียแทบขาดเอ๋ยใจ
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง  - พี่รักน้องจริง หรือพี่รักน้องเล่น น้องยังไม่เห็นน้ำเอ๋ยใจ
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป 

ผู้ร้องระบำร้องแก้
        นางแฉล้ม  บุญสุข   ร้องเป็นชาย
        นางทองย้อย  คำอินทร์   ร้องเป็นหญิง
        นางทองปอน  ว่องธัญญการ  ร้องเป็นชาย
        นางพวงเพ็ญ  จิ๋วปัญญา  ร้องเป็นหญิง
        นางสนวน  ประสาทพร   ร้องเป็นชาย
        นางทองหล่อ  วงษ์จ่า   ร้องเป็นหญิง 

ร้องลูกคู่
        นางลั่นทม  โรจน์พัฒนกุล
        นางสุภาพ  สุขสำราญ
        นางเนียม  เกตุน้อย
        นางบุญมา  เงินอาจ
        นางมณี  กาวีสูง
        ด.ญ.นันทิกาญจน์ เงินอาจ
        นางมาลี  คำอินทร์
        นางสุวรรณ  สังจ์สุวรรณ

ลักษณะคำประพันธ์
        เป็นคำประพันธ์ที่มีรูปแบบถูกต้องเป็นมาตรฐานของเพลงไทยโบราณ คือลงท้ายด้วยสระเดียวกันตลอด เช่น  หญิง - นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยืนหน้าลอยนวลเถิดพ่อพวงมาลัย   ชาย  - แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล  แต่ละวรรคยังไม่สามารถกำหนดจำนวนคำลงไม่ได้ชัดเจน หรือเท่ากันแต่ขึ้นอยู่กับจังหวะ และเสียงมากกว่าเน้นที่จังหวะคำ

คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน

ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ระบำร้องแก้. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=123&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=123&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,330

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,210

ชากังราวว่าวไทย

ชากังราวว่าวไทย

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,546

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,714

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,589

ประเพณีงานบวช

ประเพณีงานบวช

งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 26,662

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,117

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัดขึ้นทุกวันที่ 21-23 สิงหาคมของทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมและเลือกซื้ออาหารพื้นเมือง และสินค้าพื้นเมือง รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ดังนี้ การแสดงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละจังหวัดในภาคเหนือรวม 16 จังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,293

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,456

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง 

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 2,941