ลิเกป่า
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 1,523
[16.4336195, 99.4094765, ลิเกป่า]
ที่มา
เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
วิธีการเล่น
ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด
การแต่งกาย
ชายหญิง แต่งกายธรรดาเหมือนอยู่บ้าน
เนื้อเพลง
ชาย - แม่คิ้วโก่งเหมือนวงฆ้อง พี่อยากได้นวลน้องเข้ามาพาที แม่กลิ่นเอยกลิ่นธูปที่เขาจุดฟังเทศน์มาตัดสวาทขาดเด็ด ช่างไม่เหลียวหลัง ทำให้พี่หลงรอ เชียวนะแม่ช่อดอกรัง
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อคิ้วโก่งเหมือนวงพระจันทร์ คิ้วน้องนี้ไม่ต้องกันมันก็โก่งอยู่เอง พ่อผมแหวกหว่างหวีทำให้น้องนี้วังเวง
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย - พี่รักน้องมานาน ไม่รู้จะไปไหว้วานใครเขามาเป็นสื่อ พี่ก้มหน้าเขียนสารจนชาวบ้านเขาลื
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - อย่ามัวรักน้องเลย เดี๋ยวชาวบ้านเขาเย้ยเอานะพ่อปูก้ามเก จงถอยหลังลงรูปเถิดนะพ่อปูทะเล
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย - แม่ปลาปิ้งข้าวปั้น น้องอย่ามาทำป่วนปั่นว่าพี่เกี้ยวไม่เป็น พี่เอามือเขาไปแปะ น้องก็ป่ายมือปัด มือพี่ไม่กัดเนื้อเป็นน้องจะเว้าก้เว้า แม่นกกาเหว่าเสียเย็น
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่ออ้อยลำโอน ปล่อยให้ใครเขาโหน เอาเสียจนลำเอน ไม่กลัวแฟนๆ ที่ว่า จะสู้ก้ม หน้ารับเดน
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย - แม่ทับทิมริมตลิ่ง ขอให้พี่ตอนสักกิ่งพี่จะเอาไว้ทำพันธุ์ ถ้าทับทิมไม่ตาย เราคงไม่วายรักกัน
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อทับทิมริมสระ ให้พี่ไปบวชเป็นพราะ ไม่เถิดนะพี่ไป พี่อย่ามาหลงรักน้อง เดี๋ยวจะไม่ได้ครองผ้าไตร
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย - อนิจจาแม่ยาใจ พี่มีความรักใคร่กับแม่ พอถึงวันดีพี่จะมาหมั้น พอถึงวันจันทร์พี่จะมาขอแม่แขนอ่อนเหมือนท่อนจันทน์ ถ้ารักฉันน้องจงรอ
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อ ร. เรือรุ่งริ่ง พ่อ ล. ลิงจับหลัก พี่อย่ามาพะวงหลงรัก เลยนะพ่อ ร. เรือรูปหล่อ พ่อ ร. เรือหลุดหลักถึงมาบอกรักน้องก็ไม่รอ
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย - แม่ฝรั่งข้างรั้ว น้องจะสุกคาขั้วเอาไว้คอยใคร น้องจะหล่นก็หล่น ขอให้พี่คนละใบ
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อฝรั่งข้าวรั้ว น้องไม่สุกคาขั้วเอาไว้คอยใคร รักน้องไม่หล่นไม่เล็ด แม้แต่เท่าเม็ดพริกไทย
ลูกคู่ - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ผู้แสดง
นางแฉล้ม บุญสุข แสดงเป็นชาย
นางพวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงเป็นหญิง
ลูกคู่ลิเกป่า นางลั่นทม โรจนพัฒนกุล
นางสุภาพ สุขสำราญ
นางเนียม เกตุน้อย
นางบุญมา เงินอาจ
นางมณี กาวีสูง
ด.ญ. นันทิกาญจน์ เงินอาจ
นางมาลี คำอินทร์
ลักษณะคำประพันธ์
เป็นคำคล้องจองที่ใช้ปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดสัมผัสระหว่างวรรคใช้ลีลาทำนองและน้ำเสียงคล้ายๆ ลิเก แต่เป็นการโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาว ดัดแปลงมีลูกคู่กำกับเหมือนลำตัดและเพลงฉ่อย แต่ลักษณะคำประพันธ์หาแบบฉบับที่มาตรฐานไม่ได้ จึงเป็นลักษณะวรรณกรรมชาวบ้าน ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งทั้งจำนวนวรรค ไม่สามารถสรุปเป็นรูปแบบได้
คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน
ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ลิเกป่า. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=610004&code_type=01
Google search
ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง
เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 1,850
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จ พญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อโดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 933
“การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก ๖ จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,144
เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,523
เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,258
ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น ผมของเด็กที่จะโกนจะแบ่งออกเป็น 3 ปอย ซึ่งประธานในพิธีจะตัดผมปอยที่หนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ตัดปอยที่สอง พ่อตัดปอยที่สาม เมื่อตัดครบสามปอยเรียบร้อยแล้วก็จะต้องโกนผมให้เกลี้ยงเกลา ถือว่าเป็นอันเสร็จพิธี
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 5,780
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,860
จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,417
แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 20,128
การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,458