พิธีโกนจุก

พิธีโกนจุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 6,898

[16.1553981, 99.9413734, พิธีโกนจุก]

       สมัยก่อน เด็กไทยชายหญิงจะมีทรงผมที่นิยมไว้คล้ายๆ กัน เช่น ผมจุก ผมเปีย ผมแกละ หรือผมโก๊ะ แต่ปัจจุบันทรงผมเหล่านี้เริ่มหายไปจากสังคมไทยแล้ว จะพอหาได้ตามต่างจังหวัดเท่านั้น ทรงผมของเด็กไทยโบราณนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่ว่า เด็กที่เจ็บออดๆ แอดๆ หรือเลี้ยงยาก ถ้าไว้ผมจุก ผมเปียจะหายเจ็บไข้ได้ป่วย กลับมาแข็งแรง เลี้ยงง่าย
       สาเหตุที่เด็กไทยสมัยก่อนต้องไว้ผมจุก ผมเปียของเด็กสมัยก่อนนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องของความเชื่อแล้ว เชื่อกันว่าเด็กที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้กระเซาะกระแซะบ่อยๆ ให้ไว้ผมจุก หรือผมเปียแล้วจะหายจากอาการป่วยนั้นได้ และเมื่ออายุครบก็จะต้องโกนจุกหรือเปียนั้นทิ้ง หลังจากนั้นเด็กคนนั้นก็จะอยู่เย็นเป็นสุข
       แต่ถ้าพิจารณากันตามหลักเหตผลแล้วจะพบว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การให้เด็กไว้ผมยาวจะทำให้เด็กเกิดความรำคาญ ดูแลรักษายาก แต่จะให้โกนผมออกทั้งหมดก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากกลางกระหม่อมหรือกลางกะโหลกศีรษะเด็กซึ่งจะเรียกกันว่า ขวัญ ยังบอบบางเป็นเพียงเนื้ออ่อนๆ เท่านั้น จำเป็นต้องมีสิ่งปกปิดป้องกันอันตราย หากมีการโกนผมในส่วนนั้นออกอาจจะเป็นอันตรายกับกะโหลก สมองของเด็กได้ จึงโกนเฉพาะส่วนอื่นๆ แล้วปล่อยส่วนกลางกระหม่อมเอาไว้
       หลังจากที่ไว้ผมจุก ผมเปียมาได้ระยะหนึ่ง บางคนอาจจะ 5 ปี 7 ปี 9 ปี หรือ 11 ปี ถึงจะโกนผมจุกผมเปียออก แต่จะไม่นิยมโกนจุกเมื่อเด็กอายุตกเลขคู่ ครอบครัวที่มีฐานะดีหรือพอมีฐานะก็จะนิมนต์พระตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป มาสวดมนต์ (สวดขยันโต) เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเด็ก มีการถวายภัตตาหารเช้า จัดมหรสพมาฉลอง เช่น ลิเก ภาพยนตร์ แต่ถ้าบ้านไหนฐานะไม่ค่อยดี ก็มักจะโกนกันพอเป็นพิธีโดยอาจจะให้พระธุดงค์ทำพิธีโกนให้ หรือใช้ยางรัดจุดแล้วตัดปลายจุกเท่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลือง แต่พ่อแม่จะไม่โกนกันเองเพราะเชื่อกันว่าถ้าทำกันเองแล้วเด็กอาจจะเสียสติเป็นบ้าได้ ถ้าจะโกนก็จะต้องนิมนต์พระสงฆ์มาทำโกนจุกให้เท่านั้น
       อุปกรณ์สำหรับพิธีโกนจุกจะประกอบด้วยสิ่งของหลายอย่าง กรรไกรด้ามเงิน กรรไกรด้ามทอง และกรรไกรด้ามธรรมดา ใบบอนหรือใบบัวสำหรับเย็บกระทง ดอกไม้ ธูป เทียน ใบเงิน ใบทอง หอยสังข์สำหรับตักน้ำมนต์รด หญ้าแพรกสำหรับพันเป็นแหวนหัวพิรอด
       พิธีโกนผมจุกจะเริ่มพิธีในตอนเช้าเมื่อพระสวดชยันโต ถวายภัตตาหารเช้า จากนั้นจะใช้หอยสังข์ตักน้ำมนต์ที่ผ่านพิธีสวดชยันโตแล้ว รดลงบนศีรษะเด็ก พระสงฆ์จะใช้กรรไกรขลิบผมพอเป็นพิธีและส่งต่อให้พ่อแม่เด็กหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นคนโกนผมต่อไป แล้วจะใช้แหวนหัวพิรอดมาสวมครอบจุกเอาไว้ ส่วนครอบครัวที่ฐานะดีจะใช้ปิ่นปักผมปักผมจุกแทน ส่วนผมที่โกนออกก็จะเก็บใส่กระทงใบบัวหรือใบบอนที่เตรียมไว้ พร้อมกับดอกไม้ ธูปเทียน แล้วนำไปลอยน้ำ เป็นอันเสร็จพิธี
       ในบางท้องถิ่น ก่อนจะเข้าสู่พิธีโกนผมจุกจะมีการทำขวัญก่อน คล้ายการทำขวัญนาค เนื่องจากเชื่อกันว่าขวัญของเด็กอาจจะไปเที่ยวเล่นที่ไหนไกล จำเป็นต้องเรียกขวัญกลับมาอยู่กับตัวเสียก่อน และก่อนที่จะทำพิธีโกนผมจุก จะไม่ให้เด็กไปเที่ยวเล่นที่ไหนอีกเพื่อเป็นการรักษาเนื้อรักษาตัวเด็กไว้สำหรับพิธีโกนจุก หากจำเป็นต้องเดินทางจะใช้การขี่คอเด็กคนอื่นแทนไปก่อน

 

 

คำสำคัญ : ประเพณีและพิธีโกนจุก

ที่มา : ประเพณีและวันสำคัญต่างๆ ของไทย. (2552). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.9bkk.com/article/custom/custom2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พิธีโกนจุก. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=180&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=180&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,643

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,629

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,986

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,757

ประเพณีงานบวช

ประเพณีงานบวช

งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 27,326

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,966

รำแม่ศรี

รำแม่ศรี

แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 27,876

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์แต่ละเมืองต่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปีโดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,709

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,543

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 22,322