ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 1,455

[16.4264988, 99.2157188, ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี]

บทนำ
         การดำเนินการทำงานการสร้างสรรค์ ชุด ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา วิธีดำเนินการใช้หลักการสร้างสรรค์ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ที่มีองค์ประกอบของการแสดงระบำ การออกแบบท่ารำ การออกแบบเครื่องแต่งกาย การทำเพลงและดนตรีประกอบกการแสดง การแปรรูปแบบแถว อุปกรณ์ประกอบการแสดง การคัดเลือกนักแสดง ในการดำเนินการได้ศึกษาท่าหลักจากท่ารำพื้นฐาน รำแม่บท รำเพลงช้าเพลงเร็ว และมีท่าประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นท่าเฉพาะในชุดการแสดงเช่น ท่ารำบูชาไหว้พระโดยเลียนแบบท่ามาจากภาพรูปปั้นนางรำที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องแต่งกายได้เลียนแบบมาจากภาพแกะสลักของรูปปั้นนางรำบางส่วน การแปรรูปแถวให้เกิดความงามและเปลี่ยนแปลงสายตาผู้ชม ในการแสดงชุดนี้ได้แบ่งการแสดงออกเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่งเป็นการเกริ่นนำเพื่อบูชาพระไตรรัตน์มีบทร้องกำกับในการแสดงและตีภาษาท่าตามบทร้อง ช่วงที่สองเป็นการแสดงตามทำนองเพลงที่กำหนดไว้มีท่อนช้าและเร็วตามลำดับลักษณะการแสดงของกระบวนท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับทำนองเพลงและมีความหมายของท่ารำในการบูชาพระรัตนตรัย
        การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการแสดงในพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง และสามารถนำไปใช้แสดงในโอกาสต่างๆ ได้และยังเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นการสืบสานนาฏศิลป์ไทยและยังเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
         ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรจัดขึ้นทุกปีในวันเพ็ญเดือนสาม เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของกำแพงเพชรไว้ให้ชนรุ่นหลัง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงพิธีเปิดงานและได้รับมอบหมายจากจังหวัดกำแพงเพชรให้จัดการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเพณี จึงได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดและในการแสดงเวทีกลางในงานนี้ โดยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เช่น สร้างสรรค์เพลง ท่ารำ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบในระบำชุด ระบำพุทธบูชา “นบพระ – มาฆปุรณมี” เพื่อใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลงของจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะงานประเพณีนบพระ – เล่นเพลง ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
         “พุทธบูชา” หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้า, เครื่องบูชาพระพุทธเจ้า
         “นบพระ” หมายถึง ไหว้พระ 
         “มาฆปุรณมี” ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม กล่าวกันว่าเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง มีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส มีการทำบุญ ตักบาตร การฟังธรรมเทศนา การเวียนเทียน เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวถึง หลักธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา การไม่ทำความชั่วทั้งปวง เป็นการบำเพ็ญความดี ทำให้จิตใจผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อเป็นการสร้างระบำชุดเฉพาะใช้ในพิธีเปิดงานประเพณี นบพระ-เล่นเพลง
         2. เพื่อเป็นการสืบสาน ส่งเสริม เผยแพร่งานด้านนาฏศิลป์เพิ่มมากขึ้น

วิธีดำเนินงาน
         ในการค้นคว้าข้อมูล
         1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และวารสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
         2. การสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่น
         3. สร้างสรรค์เพลง
         4. ออกแบบท่ารำ การแปรแถว
         5. ออกแบบเครื่องแต่งกาย
         6. ออกแบบอุปกรณ์การแสดง
         7. ฝึกซ้อม
         8. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
         9. บันทึกเทป
        10. อธิบายท่ารำ ทำรูปเล่ม

การศึกษาและกระบวนการสร้างสรรค์
         ท่ารำ
         ประดิษฐ์ท่ารำโดยใช้ท่ารำในท่ารำแม่บท และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ มาร้อยเรียงให้สอดคล้องและมีความหมายในการสักการบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความงามตามลักษณะนาฏศิลป์ไทย  
         ท่ารำพิเศษ โดยแกะท่ารำมาจากรูปปั้นที่ปรากฏในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร ท่าไหว้ ท่าภมรเคล้า

แนวคิดการออกแบบเครื่องแต่งกาย
         เนื่องจากการแสดงเป็นการบูชาพระรัตนตรัย จึงมีความสงบ การออกแบบจึงเลือกให้มีสีนวลตา เย็นตา ลักษณะคล้ายชุดไทยจีบหน้านาง แต่ตกแต่งให้ดูแปลกตา ห้อยด้วยชายผ้าจีบหนึ่งชิ้น ใส่เสื้อสีครีม คอปิดมิดชิด มีแขนเพื่อให้เกิดความสุภาพเรียบร้อย เพราะแสดงที่วัดวาอาราม ประดับด้วยเครื่องประดับพองาม

อุปกรณ์ประกอบการแสดง
         ใช้พานพุ่มดอกบัวบูชา การบูชาพระพุทธเจ้ามีอยู่ 2 วิธี คือ   
         1. อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ อันได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน ภัตตาหาร คาว หวาน สิ่งที่เป็นวัตถุทั้งปวง เป็นการเสียสละ ฝึกตนให้ รู้จักการแบ่งปัน การบริจาค และการให้ทาน
         2. ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการกระทำ ด้วยการประพฤติปฏิบัติ ลงมือกระทำจริง ปฏิบัติจริง ทั้งทางกาย วาจา และที่สำคัญที่สุด คือ ทางใจ ทางจิตวิญญาณ

เพลง
         แต่งขึ้นใหม่โดยใช้เพลงสาธุการ (สาธุการเปิดโลก) เป็นโครงสร้างของเพลง 

แนวคิดในการประพันธ์เพลง
         ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
         จากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชัย  พวกดี ได้เล่าให้ฟังว่า การต่อเพลงสาธุการอย่างถูกต้อง จะทราบว่า ในเพลงสาธุการจะมีวรรคพิเศษอยู่วรรคหนึ่งเรียกว่า “พระเจ้าเปิดโลก” วรรคพระเจ้าเปิดโลกนี้ได้นำมาประพันธ์เพลง ระบำพุทธบูชาเป็นโครงสร้างของเพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
         อัตราจังหวะเพลง เป็น 2 ชั้น ท่อน 1 และท่อน 2
         อัตราจังหวะเพลงชั้นเดียว ท่อน 1 และท่อน 2

คำร้อง เพลงระบำพุทธบูชา “นบพระ-มาฆ-ปุรณมี”
                         นบพระมาฆะฤกษ์      อมรเบิกทุกสถาน
             โบราณเก่าเล่าตำนาน             น้อมสักการพระศาสดา
             ถึงพร้อมพระไตรรัตน์              เจิดจำรัสพระพุทธา
             เป็นเอกพระศาสดา                ทั่วโลกาสรรเสริญคุณ
             ด้วยเดชสักการะ                   พลวะช่วยนำหนุน
             นบพระบูชาคุณ                     จงถึงพร้อมบูชาเทอญฯ 

                                                                          อาจารย์อนุลักษณ์  อาสาสู้
                                                                             13 กุมภาพันธ์ 2559

โน้ตเพลงพุทธบูชา “นบพระ – มาฆ-ปุรณมี”
ประพันธ์โดย ชัชชัย พวกดี

2 ชั้น/ท่อน 1

---ท

---รํ

-ล-ท

-รํ--

ซํมํรํท

-รํ--

-ทรํล

ทลซม

----

-ท-ล

-ซ-ล

-ท-รํ

-ททท

รํมํ-รํ

-ร-ม

-ซ-ล

---ล

-ล-ล

-มํรํท

-ล-ซ

---ร

---รํ

--ซํมํ

รํท-ล

---ล

-ล-ล

-ร-ม

-ซ-ล

----

-ซ-ม

ซมลซ

-ม-ร

ท่อน 2

รํรํมรํ

ทรํมํล

(รํรํมํรํ

ทรํมํล)

ลลทล

ซลทม

(ลลทล

ซลทม)

--มม

ซมนทฺ

--ซซ

ลซมร

--ลล

ทลซม

มํรํทล

----

---ล

-ล-ล

-มํรํท

-ล-ซ

--รํรํ

รํรํ-ดํ

ดํดํ-ท

ทท-ล

---ล

-ล-ล

-ร-ม

-ซ-ล

----

-ซ-ม

ซมลซ

-ม-ร

ชั้นเดียว/ท่อน 1

-รรร

-มํ-รํ

-ทรํล

ทลซม

-มมม

-ซ-ม

-ล-ม

-ซ-ล

-ลลล

ซลทรํ

-มํ-รํ

-ท-ล

ทลซม

ซล--

ซมลซ

-ม-ร

ท่อน 2

รํรํมรํ

ทรํมํล

(ลลทล

ซลทม)

ลลทล

ซลทม

(มมซม

รมซล)

--ลล

ทลซม

--มม

รมซล

--รม

ซล--

ซมลซ

-ม-ร

เครื่องดนตรีประกอบด้วยใช้วงโบราณ

         ปี่ใน                1        เลา

         ฆ้องใหญ่          1        วง

         ซอสามสาย        1        คัน

         ตะโพน             1        ใบ

         ฉิ่ง                  1        คู่

         กระจับปี่           1        ตัว

         กรับพวง           1        คู่

จำนวนผู้แสดงและเวลาที่ใช้ในการแสดง
         ผู้แสดงจำนวน 8, 10, 12 หรือขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมของงาน
         เวลาที่ใช้ในการแสดง  8.20  นาที

สรุปผล
         สรุปการสร้างสรรค์
         1. ได้สร้างสรรค์ระบำชุดพุทธบูชานบพระ-มาฆ-ปุรณมี เป็นการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ 1 ชุด
         2. ผลของการศึกษาการสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่เพื่อนำไปใช้ในการแสดงพิธีเปิดงานนบพระ-เล่นเพลง ในรูปแบบระบำสร้างสรรค์ขึ้นใหม่มีองค์ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
             - การออกแบบท่ารำ
             - การออกแบบเครื่องแต่งกาย
             - การสร้างสรรค์แต่งเพลงประกอบชุดการแสดง
             - การแปรรูปแถว
             - การคัดเลือกนักแสดง
             - อุปกรณ์ประกอบการแสดง

ข้อเสนอแนะ
         เนื่องจากการทำการวิจัยงานสร้างสรรค์ด้านนาฏศิลป์มีองค์ประกอบมากจึงมีความจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เพื่อให้มีงานวิจัยในลักษณะนี้มากขึ้นและยังเป็นการช่วยกันและพัฒนางานด้านนาฏศิลป์ให้คงอยู่ต่อไปและนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาศาสตร์ด้านนาฏศิลป์ไทยต่อไป

คำสำคัญ : ระบำพุทธบูชา กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี. สืบค้น 23 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2127&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2127&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 9,380

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 4,136

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,761

พิธีพลียา

พิธีพลียา

เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,283

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,830

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 827

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัดขึ้นทุกวันที่ 21-23 สิงหาคมของทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมและเลือกซื้ออาหารพื้นเมือง และสินค้าพื้นเมือง รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ดังนี้ การแสดงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละจังหวัดในภาคเหนือรวม 16 จังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,571

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,630

ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้น เรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่าน ร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูง มาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จําเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรม เข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 1,048

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,986