ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้ชม 1,427
[16.3937891, 98.9529695, ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร]
ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึง ประเพณีสงกรานต์ ของกำแพงเพชรหลายตอน เช่น กลิ่นไอของมหาสงกรานต์ ยังล่องลอยอยู่ในอวกาศ และกลิ่นแป้งหอมของกระแจะจันทน์ ที่บรรดาลูกหลานประพรมในวันรดน้ำอวยพรยังติดอยู่ที่เสื้อผ้า
การประพรมกันด้วยกระแจะจันทน์ เมื่อไปอาบน้ำผู้ใหญ่และรดน้ำกันเอง นับว่านุ่มนวล และแสดงถึงความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมของตนเอง
ในตอนบ่ายวันสุดท้ายของสงกรานต์ สุดใจยังสวมกำไลข้อเท้า ๑๖ ปี แต่เปล่งปลั่งเหมือนสาวใหญ่ เปียกปอนไปทั้งตัวด้วยเล่นสาดน้ำกัน หน้าตายังขะมุกขะมอมด้วยดินหม้อ จากการมอมตะลุมบอน ฉวยขันลงหินและสบู่ลงไปที่ตีนท่าหน้าบ้าน เร่งรีบอาบน้ำ เพื่อ กลับขึ้นมาแต่งตัวใหม่ให้ทันไปเข้าวงช่วงชัยในตอนเย็น
หนุ่มสาว เล่นมอมหน้ากันด้วยดินหม้อ เล่นกันแบบตะลุมบอน ดินหม้อผสมน้ำมันมะพร้าว ล้างออกยากมาก แต่สนุกสนานกัน ตอนเย็นจะไปเล่นช่วงชัย กันที่ กลางหาดทราย แสดงถึงการ เมื่อสนุกกันเองเมื่อไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย จะเล่นกันอย่างสนุกสนานแต่สุภาพไม่เอาเปรียบสุภาพสตรี
ในคืนนั้นเอง สุดใจพบเขาอีกขณะที่เข้าทรงแม่ศรี อยู่ที่ลานบ้านผู้ใหญ่พูน ท่ามกลางเสียงตีเกราะเคาะไม้ ท่ามกลางแสงไต้ที่สว่างเรือง และเสียงกระทุ้งของพวกลูกคู่ของหนุ่มสาว แก่เฒ่าและเด็ก .....
กลางคืนมีการเข้าทรงแม่ศรีที่กลางลานบ้านของผู้ใหญ่บ้าน หนุ่มสาวจะได้มีโอกาสได้พบกันและเลือกคู่ครองหรือหมายตากันไว้ ในคืนการเข้าทรงแม่ศรี นับว่าเป็นการแสดงออก ในความรับได้อย่างแนบเนียน น่ายกย่องอย่างยิ่ง
ข้อความจากนวนิยาย ทุ่งมหาราช เป็น สงกรานต์กำแพงเพชรเมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา และนับว่า กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปี
โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
ประชาชนจะเริ่ม รดน้ำสาดน้ำกัน ในวันที่ 12 นี้ บรรยากาศสงกรานต์ ในทุ่งมหาราช ที่บรรยายภาพ ที่สนุกสนาน หนุ่มสาวจะมีโอกาสได้ใกล้ชิด และถูกเนื้อต้องตัวกันในประเพณีสงกรานต์ โดยที่ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตะลุมบอน และจับฝ่ายชาย มอมด้วยดินหม้อ ฝ่ายหญิงจะจับฝ่ายชายเพื่อเรียกค่าไถ่ แล้วนำมาดื่มกินอย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง ไม่เลือกชั้นวรรณะเล่น กันอย่างสนุกสุดตัว ฝ่ายชายก็จะมอมหน้าฝ่ายหญิง ด้วย ดินหม้อเหมือนกัน ตอนกลางคืนจะเป็นการเข้าทรงแม่ศรี ซึ่งเหมือนกับเป็นการ คัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน ในสมัยโบราณ
ในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งถือกันว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรที่วัด ถือกันว่าเป็นการฉลองพระเจดีย์ทรายที่ก่อเมื่อวันวาน ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม หลังจากทำบุญตักบาตรในตอนเช้า แล้วจะทำบุญเลี้ยงพระในตอนเพล ประชาชนมาสรงน้ำพระสงฆ์
ในระหว่างวันสงกรานต์ ชาวกำแพงเพชรไม่เรียกว่ารดน้ำดำหัว แต่เรียกว่าอาบน้ำผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ จะมีการจัดขบวนไปอาบน้ำผู้ใหญ่ที่บ้าน เพื่อเป็นการขอศีลขอพรจากผู้ใหญ่ และในการนี้จะจัดเสื้อผ้า น้ำอบ น้ำหอมเพื่อไปผลัดเปลี่ยนให้ ในแต่ละบ้านจะนำพระพุทธรูปประจำบ้านหรือพระเครื่องมาสรงน้ำด้วย ในปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น นำผู้ใหญ่มารวมกัน แล้วรดน้ำขอพร ทีเดียวเลย ซึ่งไม่ได้อารมณ์ และความรู้สึกเหมือนประเพณีดั้งเดิมของกำแพงเพชร
ในวันที่ 14 เมษายน ประชาชนจะมารวมกันที่วัด เพื่อนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสรงน้ำ เมื่อสรงน้ำแล้วจะถวายภัตตาหารเพล จากนั้นนัดกันแห่ผ้าไปห่มพระบรมธาตุ ที่เมืองนครชุม ประชาชนจะร้องรำเล่นกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งถือกันว่าในพระบรมธาตุมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ตั้งแต่พุทธศักราช 1900 สมัยมหาธรรมราชาลิไท เชื่อกันว่า ถ้าหากไหว้พระบรมธาตุนครชุมแล้ว เหมือนได้นบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง
ในวันที่ 15 เมษายน ซึ่งถือกันว่าเป็นวันพญาวัน ผู้เฒ่าผู้แก่ จะใช้ด้ายแดงและด้ายสีขาว ผูกข้อมือ หรือมัดมือบุตรหลาน ตลอดจนภาชนะสิ่งของสัตว์พาหนะต่างๆ พร้อมกับกล่าวคำกวยชัยให้พร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกคน และทุกสิ่งในครอบครัว และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันที่ไหว้เจ้าพ่อหลักเมือง เพื่อกราบไหว้และขอพร ถ้าท่านใดยังค้างบนอยู่ให้แก้บน หรือใช้บน ให้เสร็จสิ้นในวันนี้ด้วย เมื่อสมัยก่อนการเดินทางไปเจ้าพ่อหลักเมืองถือว่าไกล และลำบากนัก ประชาชนจะแห่แหนไปด้วยความสนุกสนาน เป็นวันที่มีประชาชนมารวมกันมากที่สุด เพราะเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ในปีหนึ่งขอให้ทุกคนได้มีโอกาสอาบน้ำเจ้าพ่อครั้งหนึ่ง จากนั้นได้ไปสรงน้ำพระอิศวร เทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีบรรยากาศที่สนุกสนานและประทับใจมาก ในอดีต จะมีความสุขมาก เพราะทุกคนไปด้วยความศรัทธาอย่างจริงใจ
จากนั้นประชาชนหลายหมื่นคน มารวมตัวกันก่อพระทรายน้ำไหล ในบริเวณหน้าเมืองที่มีหาดทราย และน้ำตื้นเหมาะในการก่อพระทรายน้ำไหลมาก วันนี้เป็นวันที่สนุกที่สุดของหนุ่มสาว ในอดีต เป็นวันที่ รวมตัวของหนุ่มสาวในทุกหมู่บ้านตำบล และในวันนี้จะมีการแสดงพลังอำนาจ ของวัยรุ่นในหมู่บ้าน ว่าใครจะเป็นนักเลงจริง ในปัจจุบัน ประเพณีนี้หายไปจากหมู่บ้านแล้ว ชาวกำแพงเพชร ก่อพระทรายน้ำไหลกันด้วยความสามัคคี
การเล่นรดน้ำ สาดน้ำ ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแต่การสาดน้ำในสมัยโบราณมีการสาดน้ำเล่นน้ำกันอย่างไม่ถือตัวฝ่ายชายหญิงที่ออกมาเล่นน้ำแสดงว่าพร้อมที่จะสนุกสนานด้วย การถูกเนื้อต้องตัว กันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ต้องเป็นไปตามการเล่น หรือกติกา ของสังคม ฝ่ายชายจะไม่ฉวยโอกาสลวนลาม ฝ่ายหญิง แต่ทุกอย่างเป็นไปตามครรลอง แห่งประเพณีอันดีงามประเพณีสงกรานต์ เป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของสังคมที่ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง เป็นการรวมตัวของผู้คนที่มีโอกาสได้พบกันในปีหนึ่งๆพ่อแม่พี่น้องที่ไปทำมาหากินไกลๆ ได้มีโอกาสมาพบกันโดยเป็นสิ่งที่งดงามมากในปีหนึ่ง ทุกคนในตระกูลจะได้มีโอกาสมาพบกัน นานถึงสามวันและเดือนเมษายน เป็นฤดูร้อน ได้ใช้น้ำมาดับร้อนกัน นอกจากจะเป็นความสามัคคี ในครอบครัว ยังเป็นความสามัคคี ในกลุ่มสังคม และในประเทศชาติอีกด้วย
นอกจากนั้นสงกรานต์ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่นำเงินเข้าประเทศปีละไม่ใช่น้อย และเชื่อมั่นว่าสงกรานต์จะพัฒนาไปสู่กระบวนการที่ยั่งยืน และถาวรอย่างแน่นอน
สงกรานต์กำแพงเพชร จึงเป็นสงกรานต์ ที่แตกต่าง จากที่อื่นๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะกำแพงเพชร การจัดงานสงกรานต์ที่กำแพงเพชร ควรได้ศึกษาให้ถูกต้องก่อน ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามอำเภอใจของผู้รับผิดชอบ อาจเป็นการทำลายประเพณีสงกรานต์กำแพงเพชร ไปแบบ ไม่ได้ตั้งใจ เพราะเอกลักษณ์สงกรานต์กำแพงเพชรไม่เหมือนที่ใดจริงๆ
คำสำคัญ : สงกรานต์
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 4 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1420&code_db=610004&code_type=01
Google search
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 6,725
“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 3,211
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,472
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,782
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 4,714
ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 429
การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,541
ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,674
ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,002
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 20,268