การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 4,401

[16.4854533, 99.494347, การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร]

              จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน 
              สมัยประวัติศาสตร์เริ่มจากสมัยสุโขทัย จุดเริ่มต้นการแต่งกายของสตรีชั้นสูงชาวกำแพงเพชรสัณนิษฐานจากรูปปั้นเทวสตรีที่พบบริเวณศาลพระอิศวร สมัยอยุธยาเท่าที่พบหลักฐาน พ.ศ. 2053 น่าจะมีจุดกำเนิดการแต่งกายจากเทวรูปพระ อิศวร และการแต่งกายของชาวอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้น สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ พบจุดกำเนิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ พระองค์เสด็จประพาสต้นเมือองกำแพงเพชร พ.ศ. 2449 ทรงถ่ายภาพชาวกำแพงเพชรจำนวนมาก
              ลักษณะของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากหลักฐานที่พบลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรในสมัยสุโขทัย มีลักษณะคล้าย การแต่งกายของพวกขอมหรือเขมรโบราณ ต่อมาในสมัยอยุธยารัชสมัยของพระนารายณ์มหาราชมีชาวตะวันตกเข้ามามาก ได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากชาวตะวันตกมากขึ้น โดยมีราชสำนัก ขุนนาง ข้าราชการเป็นผู้นำเข้ามา สำหรับลักษณะการแต่งกายของราษฎรในแต่ละสมัยไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์บ้านเมือง ฐานะและตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย มีส่วนทำให้การแต่งกายมีความเท่าเทียมกันประกอบกับค่านิยมต่างชาติ โดยเฉพาะตะวันตก จึงมีลักษณะการแต่งกายตามแฟชั่นและแต่งกายตามนโยบายรัฐ ในหมู่ของข้าราชการ สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรมีดังนี้ 
              1.  แต่งกายตามฐานะ  
              2.  แต่งกายตามเทศกาล
              3.  แต่งกายตามนโยบายรัฐ
              4.  แต่งกายตามสภาพดินฟ้าอากาศ
              5.  แต่งกายตามค่านิยม
              6.  แต่งกายตามแฟชั่น
              7.  แต่งกายตามอาชีพ

              การแต่งกายที่สูญหายไป และสาเหตุของการสูญหาย
              การแต่งกายของหญิงสาวชาวกำแพงเพชร ที่สูญหายไปไม่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ยัง มีบางคนต้องการฟื้นฟูจึงนำมาแต่งบ้างในโอกาสสำคัญ เช่น งานประเพณีสำคัญ กิจกรรมใน โอกาสพิเศษ ได้แก่ 
              1. การนุงผ้าซิ้นหรือผ้าถุงของหญิงสาว 
              2. การนุ่งโจงกระเบน ของผู้ชายและผู้หญิง
              3. การนุ่งผ้าจีบหน้านางของผู้หญิง
              4. การห่มผ้าสไบและผ้าแถบของผู้หญิง
              5. การสวมหมวกกะโล่ของผู้ชาย และกางเกงแพร ขณะออกนอกบ้าน
              6. เด็กผู้หญิงขณะแต่งเครื่องแบบนักเรียน
              7. การไว้ผมจุกของเด็กผู้หญิง
              8. การสวมตะปิ้งของเด็กผู้หญิง
              9. การสวมกำไลลูกกระพรวนข้อมือและข้อเท้าของเด็กเล็กที่หญิงและชาย
              10. การนุ่งและโพกผ้าขาวม้าของผู้ชาย
              11. การนุ่งกางเกงจีนของผู้ชาย

              สาเหตุของการสูญหาย 
              1. ไม่สะดวก ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน 
              2. นิยมการแต่งกายตามแฟชั่น ซึ่งมีสื่อหลากหลายที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วทั่วถึง
              3. ค่านิยมตะวันตก 
              4. ความทันสมัยของเทคโนโลยี
              5. ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
              6. ล้าสมัย

              การกำเนิดการแต่งกายในปัจจุบัน มีการกำเนิด ลักษณะและสาเหตุดังนี้ 
              1. แต่งกายในสมัยเก่าล้าสมัยไม่เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน เช่น การคมนาคม สมัยโบราณไปมาหาสู่กันด้วยการเดินเท้า ใช้สัตว์เป็นพาหนะ การแต่งกายไม่ต้องรัดกุมมากนัก 
              2. ความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้การติดต่อสื่อสารได้สะดวกรวดเร็ว การลอกเลียนแบบการแต่งกายของตะวันตกทำได้ง่ายมากขึ้น 
              3. ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป 
              4. การประกอบอาชีพหลากหลายมากขึ้น 
              5. ความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญ ทำให้ทุกคนมีสิทธิในการแต่งกาย ไม่แยกชนชั้น แต่งตามฐานะทางเศรษฐกิจ

ภาพโดย : http://www.kamphaengphet.go.th/kp/images/stories/flexicontent/item_273_field_19/l_25590411-1.jpg

คำสำคัญ : การแต่งกาย

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NH.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร. สืบค้น 29 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=152&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=152&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

ระบำพุทธบูชา-นบพระ-มาฆปุรณมี

ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 559

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 826

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนกำแพงเพชร ทั้งก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ และผัดไท ทางจังหวัดจึงได้จัดงานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ดังกล่าวขึ้นเป็นประ จำทุกปี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,931

พิธีพลียา

พิธีพลียา

เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,475

ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร

โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,348

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,580

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก ๖ จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,125

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,003

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร

เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,703

ระบำ ก. ไก่

ระบำ ก. ไก่

ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,663