7 มกราคม 2565 2,393
5 มกราคม 2565 2,180
กรมควบคุมโรค เน้นย้ำความสำคัญสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ประชาชนที่ฉีดเข็ม 2 ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รีบไปรับบูสเตอร์โดส รองรับการระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ว่า สถานการณ์ทั่วโลกได้รับรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิน 1 ล้านคน สายพันธุ์ที่ระบาดใหญ่ คือ เดลต้า (Delta) และ โอมิครอน (Omicron) ซึ่งประเทศไทยได้ระงับการตรวจหาเชื้อแบบ Test&Go จึงช่วยชะลอผู้ติดเชื้อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย สอดคล้องกับแนวโน้มของโรคที่ลดน้อยลงเพราะการฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศ ทั้งนี้ จากเทศกาลวันหยุดยาวที่มีการเฉลิมฉลองทั้งคริสต์มาสและปีใหม่ ทำให้เมืองท่องเที่ยวมีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 4 ม.ค. 65 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อ 499 ราย อุบลราชธานี 328 ราย ภูเก็ต 149 ราย สมุทรปราการ 120 ราย และเชียงใหม่ 117 ราย สาเหตุสำคัญเกิดจากการรวมตัวกันทำกิจกรรม โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย อยู่ในห้องที่ปิดอับ ไม่มีการระบายอากาศที่ดี เช่น ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ จึงมีการเน้นย้ำให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทุกจังหวัดเข้มงวดสถานที่ที่มีความเสี่ยง หากไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง
1 มกราคม 2565 2,001
30 ธันวาคม 2564 2,922
29 ธันวาคม 2564 1,689
ต้องยอมรับร้ายไม่แผ่วจริงๆ สำหรับโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ที่เข้ามาสร้างความวุ่นวายให้ทั่วโลกมากกว่า 2 ปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะยอมแพ้ง่ายๆ เพราะล่าสุด ไวรัสร้ายตัวนี้ก็พัฒนาตัวเองกลายพันธุ์เป็นชนิดที่ 5 หลังจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล โควิด-19 กลายพันธุ์ล่าสุดนี้มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีก ว่า “โอมิครอน” (Omicron)
24 ธันวาคม 2564 2,035
ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการล่าสุด1 บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 (B.1.1.529) สายพันธุ์โอไมครอน
การฉีด วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 1 โดยพบว่าระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้น มีระดับสูงกว่าที่พบในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายป่วยได้เองจากโรคโควิด-19 (สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เบต้า และเดลต้า)1 โดยเซรั่มที่นำมาทดสอบนั้นมาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามมาแล้วหนึ่งเดือน พบว่า ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า1 (ซึ่งการศึกษาจากการใช้จริงในหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าสองโดสสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้2,3 )
26 รายการ : 3 หน้า
Your privacy is important to us. We need your data just for the important process of services. Please allow if you accept the term of privacy comply with PDPA Read term and privacy policy Allow