วัฒนธรรมลาวครั่ง
ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ในเขตภาคกลางตอนบนนั้น มีหลักฐานประวัติความเป็นมา พบว่าบรรพ บุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาที่ ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของ ประเทศไทย จากการสันนิษฐานลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง"
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 14-04-2021 ผู้เช้าชม 1,722
พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง
ลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวติไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวติประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมา เพื่อความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่าจะทำนาแล้วขอให้คนและควายอยู่ดีมีสุขสบาย
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 14-04-2021 ผู้เช้าชม 3,045
การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง
เมื่อข้าวออกรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั่วทุ่งนา ชาวนาจะต้องระมัดระวังสัตว์ร้ายหลายประเภทที่เป็นศัตรูข้าว เช่น นกกระจาบที่ชอบพากันมากินข้าวเป็นฝูง ๆ หรือปูที่ทำอันตรายต้นข้าวมากกว่านกกระจาบ นอกนั้นมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น หนูพุก และเต่านา ดังนั้นในตอนนี้ชาวนาต้องทำหุ่นไล่กา หรือทำที่พักสำหรับไล่นก หรือทำเป็นกังหันให้ลมพัดหมุนมีเสียงดังหรือทำอย่างอื่นเพื่อคอยดูแลต้นข้าว นอกจากนี้มีพิธีไล่หนู นก เพลี้ย แมลง ปู หนอน และศัตรูข้าวอื่น ๆ พิธีทำขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกนก หนูและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายต้นข้าว
16.2354607, 99.5449164
เผยแพร่เมื่อ 14-04-2021 ผู้เช้าชม 396
ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวลาวครั่งโค้งวิไล
ผ้าทอไทครั่ง คือ ผลผลิตที่เกิดจากการรังสรรค์ของช่างทอผ้า ที่ได้อาศัยองค์ความรู้และ ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน โดยแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน ผ้าซิ่นของชาวไทครั่งมักต่อตีนซิ่นด้วยฝ้ายหรือไหม ตีนซิ่นทอเป็นพื้นสีแดงใช้เทคนิคการจกด้วยฝ้ายหรือไหม สีเหลือง ส้ม น้ำเงิน ขาว เขียว ให้เกิดลวดลายโดยทิ้งพื้นสีแดงไว้ด้านล่างของตีนซิ่น การทอตัวซิ่นนิยมทอด้วยเทคนิคมัดหมี่เส้นพุ่ง ด้วยการย้อมสีเดียวและใช้วิธีการแต้มสีอื่นๆเพิ่มเติม หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “แจะ” เป็นการให้ลวดลายหมี่มีสีสันเพิ่มขึ้น
16.181874, 99.4106448
เผยแพร่เมื่อ 14-04-2021 ผู้เช้าชม 169
-
ฐานข้อมูล - 104 ประวัติ
- 151 แหล่งท่องเที่ยว
- 36 บุคคลสำคัญ
- 93 ประเพณี/วัฒนธรรม
- 121 พระเครื่อง
- 59 ตำนาน/วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 86 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 92 อาหารพื้นบ้าน/ขนมพื้นบ้าน
- 135 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 115 ร้านอาหาร/กาแฟ
- 58 โบราณวัตถุ
- 97 หน่วยงานราชการ
- 169 โรงแรม/ที่พัก
- 24 ของฝาก
- 19 การท่องเที่ยวตำบลบ้านคลองน้ำไหล
มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผล
นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนค
บ้านโฮ่ง ท่องเที่ยวชุมชนวิถีอินทรีย์
ชุมชนบ้านโฮ่ง ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกพืชผักอินทรีย์ และด้วยลักษณะพื้นที่ของชุมชนที่มีเอกลักษ
ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรีย