การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้ชม 2,101

[16.2354607, 99.5449164, การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง]

        เมื่อข้าวออกรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั่วทุ่งนา ชาวนาจะต้องระมัดระวังสัตว์ร้ายหลายประเภทที่เป็นศัตรูข้าว เช่น นกกระจาบที่ชอบพากันมากินข้าวเป็นฝูง ๆ หรือปูที่ทำอันตรายต้นข้าวมากกว่านกกระจาบ นอกนั้นมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น หนูพุก และเต่านา ดังนั้นในตอนนี้ชาวนาต้องทำหุ่นไล่กา หรือทำที่พักสำหรับไล่นก หรือทำเป็นกังหันให้ลมพัดหมุนมีเสียงดังหรือทำอย่างอื่นเพื่อคอยดูแลต้นข้าว นอกจากนี้มีพิธีไล่หนู นก เพลี้ย แมลง ปู หนอน และศัตรูข้าวอื่น ๆ พิธีทำขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกนก หนูและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายต้นข้าวส่วนทางภาคอีสาน จะมีพิธีปลงลอมข้าวเป็นพิธีที่ทำหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว และได้ขนข้าวที่ลานนวดจนเสร็จเรียบร้อยเป็นพิธีที่ทำก่อนจะนวดข้าว คำว่าลอมข้าว หมายถึง กองข้าวที่เตรียมจะนวด เป็นพิธีที่บอกกล่าวแม่โพสพให้ออกจากลานนวดข้าว เพราะกลัวจะกระทบกระเทือน และอีกประการหนึ่งเพื่อขอโทษหรือขอขมาที่ต้องทำรุนแรงกับข้าว ดวง ทองบุญ โดยกล่าวถึงพิธีปลงลอมข้าวไว้ ดังนี้ “พิธีนี้เป็นพิธีที่กระทำภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และได้นำข้าวที่เก็บเสร็จนั้นมาไว้ที่ลานนวดข้าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะกระทำก่อนที่จะเริ่มการนวดข้าว พิธีนี้เรียกว่า “พิธีปลงลอมข้าว” (ลอมข้าว = กองข้าวที่เตรียมจะนวด) ผู้ที่จะทำพิธีดังกล่าว คือ ผู้อาวุโสที่สุดใน ครอบครัวอีกเช่นเดิม กล่าวคือ ผู้อาวุโสจะนำ “ตะกร้าขวัญข้าว” (ตะกร้าเล็ก ๆ ที่ทำด้วยไม้ไผ่สานหรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้ ในตะกร้าขวัญข้าวประกอบด้วยใบคูน ใบยอ หมาก 5 คำ  ยา (บุหรี่) 5 คำ ขันห้า (ประกอบด้วย ดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่) ข้าวต้มมัด ไข่ไก่ สุรา เมื่อได้ทุกอย่างครบแล้ว ก็จะนำเอาบรรจุลง ในตะกร้าขวัญข้าว แล้วนำไปยังลานนวดข้าว เมื่อไปถึงก็เอาตะกร้าขวัญข้าววางลง แล้วเอาไม้สำหรับนวดข้าวมาวางไว้ข้างตะกร้าขวัญข้าว แล้วว่านะโม 3 จบ แล้วทำพิธีบอกกล่าวแม่โพสพ (ทั้งนี้แล้วแต่ ใครจะพูดเช่นไร) เช่น
        “มื่อนี่เป็นมื่อสันวันดี ลงมาปลงลอมข้าวเด้อ....แม่โพสพเอ่ย ค้อนสั้น เขาสิตีของดี เขาสิฟาด คานหนามถาบเขี่ยฟาง ทัดพนาคราดคูนขื่น ให้มันขึ่นจั่งช่วยตุ่น จูนพูนคือจั่งกองทราย ไหลลง มาคือจั่งทราย ไหลแล่ว....โอม อุ มะ มุนะ มูมา” ความหมาย “วันนี้เป็นวันดี ข้าพเจ้าจะมาปลงลอมข้าว นะแม่โพสพ ค้อนสั้นข้าจะตีฟ่อนข้าว ไม้นวดข้าวจะตีข้าวลงกับพื้น จงหมีข้าวมากเหมือนดงักองทราย ให้เมล็ดข้าวไหลออกเรื่อย ๆ เหมือนดังทรายฉันนั้น....” คำบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการบอกเจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งในที่นี้คือ “แม่โพสพ” เพื่อให้ออกไปจากบริเวณที่จะนวดข้าว เพราะกลัวจะกระทบกระเทือน และอีกประการหนึ่งก็เป็นการขอโทษที่ต้องทำรุนแรงกับข้าว เมื่อบอกกล่าวเสร็จแล้ว ผู้ทำพิธีก็จะนำโคนข้าว 7 โคน (มัด) แล้วว่าคาถาบาลี 3 จบ แล้วเอาไม้ที่ใช้นวดข้าวมามัดโคนข้าว แล้วว่าคาถาบาลีอีก 3 จบ แล้ว จึงเริ่มตีข้าว จนครบ 7 โคน เมื่อครบทั้ง 7 แล้ว ก็จะเอาข้าวที่ตีได้ใส่ลงไปในตะกร้าขวัญข้าวพอเป็นพิธี และใส่รวมกับสิ่งของที่มีอยู่ในตะกร้านั้นด้วย เมื่อเสร็จก็เริ่มการตีข้าวที่เหลือให้หมดได้เลย เสร็จจากการเชิญแม่โพสพมาสู่ลานแล้วก็เริ่มลงมือนวดข้าวกัน ในช่วงนี้ถ้ามีแขกอีกจะเป็นเวลาของความสนุก เพลิดเพลินสำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ เพราะจะมีการเล่นร้องเพลงต่อกลอนกันขณะทำงานไปด้วย ปัจจุบันประเพณีหายไปจากตำบลแม่ลาด กว่า 40 ปี สมควรได้รับการฟื้นฟู ที่หมู่ 2 บ้านแม่ลาดใหญ่ และที่หมู่ 6 บ้านห้วยน้อย เพราะมีประชาชนเชื้อสายลาวครั่งอยู่เป็นจำนวนมาก
        ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านแม่ลาดใหญ่ แต่เดิมมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น อาทิเช่น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ภาษาพูด ดนตรีพื้นเมือง อาหารท้องถิ่น ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำขนมจีนโบราณ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในด้านการักษาด้วยสมุนไพร การนวดแผนโบราณ วิถีชีวิตการทำนา ปลูกข้าวตามฤดูกาล การผลิตข้าวซ้อมมือ การแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นบ้าน การทอผา้ลวดลายที่มีเอกลกัษณ์คือ ผ้าขิด ผา้จกและผ้ามัดหมี่ ทอทั้งผ้า ฝ้ายและผ้าไหม มีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติทั่วไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพล ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจ และความมั่นใจ ในการทำมาหากินและการดำเนินชีวติของตน ซึ่งชาวบ้านแม่ลาด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร อาทิ ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยง สัตว์ พิธีกรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดต่อกันมาจนเป็นประเพณีล้วนสะท้อนถึงความต้องการในวิถีชีวิตเรื่องน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมเกษตร เช่น การเปิดยุ้งข้าว การเรียกขวัญข้าว นอกจากนั้นในแต่ละช่วงเดือนชาวบ้านยังร่วมทำบุญที่วัดตามความเชื่อในพุทธศาสนาเพื่อสะท้อนความต้องการความคุ้มครองจากเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนา เพื่อความสงบสุขในชีวติ ของตนเองและครอบครัว เช่น พิธีทำบุญกลางบ้านวันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา ออกพรรษา ควรได้ทำโครงการในด้านภูมิปัญญาในด้านต่างๆเพื่ออนุรักษ์และรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ตลอดไป

 

คำสำคัญ : การทำขวัญข้าว ลาวครั่ง

ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด. (2558). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1342&code_db=610004&code_type=03

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1342&code_db=610004&code_type=03

Google search

Mic

ประเพณีการแห่ดอกไม้

ประเพณีการแห่ดอกไม้

เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่ 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,644

การก่อพระเจดีย์ข้าวเปลือก

การก่อพระเจดีย์ข้าวเปลือก

การก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญมาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวันเมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ควบคู่ไปกับการทำบุญข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป จะนิยมกันในวันสงกรานต์ เช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 4,583

พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง

พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง

ลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวติไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวติประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมา เพื่อความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่าจะทำนาแล้วขอให้คนและควายอยู่ดีมีสุขสบาย

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 11,609

ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล

ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล

ในปัจจุบัน ประเพณีการบวชนาคกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ สำหรักผู้ที่ต้องการจะบวชพระ จะต้องทำการบวชนาคก่อน เพื่อรำลึกถึงนาคผู้มีความตั้งใจบวช ในแต่ละท้องที่ในประเทศไทย ประเพณีบวชนาคและแห่นาคจะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บวชนาคแบบธรรมดาเพื่อเตรียมบวช บวชนาคที่จัดพิธีแห่นาคอย่างประเพณีม้าแห่นาค เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการบวชนาคแบบใด ก็สะท้อนถึงประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในชาติ หากแต่ท้ายที่สุดการบวชนาคเป็นไปเพื่อสำหรับการบวชพระ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางสายกลางตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้แต่กาลก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 6,560

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 5,382

ไทยทรงดำ

ไทยทรงดำ

ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง” ที่หมู่ 6 บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 5,483

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13-15 เดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้าหรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวัน เวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญประเพณี อาบน้ำผู้ใหญ่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือแก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกลู รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 5,362

ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 892

การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่

การเข้าทรงนางด้ง ที่บ้านแม่ลาดใหญ่

ที่ตำบลแม่ลาด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ มีภูมิปัญญาลาวครั่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สั่งสมมาช้านาน ถึงการนำอุดมการณ์แห่งความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความเขา้ใจ และการอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนอย่างผาสุกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แนบเนียน ในชีวติประจำวัน ทำให้สังคมไทยอยู่อย่างมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว ในชีวิตความเป็นอยู่ที่สมถะ เรียบง่าย และไม่เน้นกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ยืดหยุ่น รักสงบ มีความสุข ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 825

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

เมื่อข้าวออกรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั่วทุ่งนา ชาวนาจะต้องระมัดระวังสัตว์ร้ายหลายประเภทที่เป็นศัตรูข้าว เช่น นกกระจาบที่ชอบพากันมากินข้าวเป็นฝูง ๆ หรือปูที่ทำอันตรายต้นข้าวมากกว่านกกระจาบ นอกนั้นมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น หนูพุก และเต่านา ดังนั้นในตอนนี้ชาวนาต้องทำหุ่นไล่กา หรือทำที่พักสำหรับไล่นก หรือทำเป็นกังหันให้ลมพัดหมุนมีเสียงดังหรือทำอย่างอื่นเพื่อคอยดูแลต้นข้าว นอกจากนี้มีพิธีไล่หนู นก เพลี้ย แมลง ปู หนอน และศัตรูข้าวอื่น ๆ พิธีทำขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกนก หนูและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายต้นข้าว 

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 2,101