พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้ชม 12,440
[16.2349931, 99.4048103, พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง]
ลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวติไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวติประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมา เพื่อความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่าจะทำนาแล้วขอให้คนและควายอยู่ดีมีสุขสบาย คราดไถอย่าให้หักบ่ได้มาแย่งดิน ขอเพียงแค่ทำกิน พิธีนี้ภาษาถิ่นเรียกว่า พิธีแฮกนา พิธีที่เกี่ยวกับความเชื่ออีกวิธีหนึ่งคือ พิธีศพ เมื่อนำศพผู้ตายใส่ลงหีบ ถ้าเป็นชายก็จะใช้ผ้าขาวม้าของผู้ตายคลุมทับผ้าขาวบนฝาหีบ ถ้าเป็นหญิงก็จะคลุมหีบด้วยสไบของผู้ตาย และจะเผาเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น ผ้าขาวม้าไหม โสร่งไหม ผ้าพุ่งไหม ผ้าม่วงโรง หรือผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าสไบ เสื้อฯลฯ เผาไปด้วย พิธีนี้จึงเป็นสาเหตุแห่งความสูญเสียผ้าโบราณที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีไป พิธีกรรมมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ เพราะพิธีกรรมต้องมีความเชื่อเป็นพื้นฐานของการกระทำไม่ว่าจะเป็นความเชื่อต่อสิ่งใด ฉะนั้นความเชื่อจึงเป็นรากฐานการกระทำ ผีวิญญาณบรรพบุรุษ ยังเป็นการควบคุมความประพฤติของคนในสังคมของหมู่บ้านเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่าชาวบ้านแห่งนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณอย่างเหนียวแน่น ถึงแม้พระพุทธศาสนาจะเข้ามามีบทบาทต่อสังคมชา ลาวครั่ง ก็ไม่ทำให้ความเชื่อนี้ลบล้างไป อาทิ ในพิธีการแต่งงานของชาวลาวครั่ง จะต้องทำพิธีบูชาผี เทวดา โดยใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงิน 4 บาท ข้าวต้มมัดไม่ใส่ไส้ กล้วย เทียน ข้าวสุกโรยน้ำตาล ดอกไม้และเหล้า อีก 1 ขวด ด้วยระบบความเชื่อเรื่องผีเจ้านายและผีเทวดาของชาวลาวครั่ง จึงมีข้อห้ามและบทลงโทษสำหรับหญิงชายที่ได้เสียกันก่อนแต่ง โดยจะต้องทำเสียผีที่่บ้านของฝ่ายหญิง ซึ่งจะมีการเซ่นไหว้ผี เจ้านายด้วยย โดยใช้เหล้า 8 ไห ไก่ 8 ตัว นำไปฆ่าที่ศาลเจ้านายให้เลือดไก่หยดลงบนแท่นบูชาเจ้านาย เมื่อหญิงชายใดที่ตกลงจะอยู่กินกันฉันมีภรรยา จะต้องได้รับการอนุญาตจากญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้นจะหาฤกษ์งามยามดีซึ่งชาวลาวครั่งเรียกว่า หักไม้ใส่ยาม วันฟูและวันจม ประเพณีแต่งงานของลาวครั่ง แต่เดิมจะมีการสู่ขวัญคู่บ่าวสาว โดยจะมีหมอมาทำพิธี มักทำกันในตอนเย็นวันสุกดิบ ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะทำพิธีสู่ขวัญน้อยที่บ้านของตนบางรายก็อาจจะมาสู่ขวัญน้อยรวมกันที่บ้านของเจ้าสาวในวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีสู่ขวัญใหญ่ที่บ้านเจ้าสาวหมอขวัญจะเป็นผู้ที่คอยสั่งสอนอบรมคู่บ่าวสาว ให้รู้จกัการครองเรือนตลอดจนการประพฤติตนในฐานะของเขยและสะใภ้ เมื่อถึงวันงานฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดพานขวัญแห่ไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาวซึ่งประกอบด้วยบายศรี พร้อมของหวานและเหล้า การแห่ขันหมาก พิธีสู่ขวัญคู่บ่าวสาว ฝ่ายเจ้าสาวก็จะเตรียมพานขวัญนี้ไว้เช่นเดียวกันเมื่อได้ฤกษ์แล้วก็จะยกขบวนพานขวัญ โดยจะใช้ไม้กำพัน ซึ่งเป็นไม้สำหรับกรอด้าย ใช้หาบพานขวัญแทนไม้คาน เพราะเป็นเคล็ดว่าคู่บ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกันเสมือนด้ายที่อยู่ในไม้กรอด้ายดังกล่าว ผู้ที่ทำหน้าที่หาบพานขวัญต้องเป็นคนโสดเหมือนกับเพื่อนเจ้าสาว เมื่อถึงเรือนเจ้าสาวจะเป็นคนล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ซึ่งจะมีที่พักเท้าเจ้าบ่าวเป็นหินลับมีด แล้วนำใบตองมาปูทับไว้อีกทีเมื่อผ่านประตูทองแล้ว จะพาคู่บ่าวสาวไปพักไว้ที่ห้องหอ จะมีผู้ที่คอยตอนรับเจ้าบ่าวและพาไปยังห้องหอ ซึ่งคน ๆ นี้จะต้องเป็นผู้ที่ยังไม่มีครอบครัว จะเป็นม่ายไม่ได้ เพราะจะห้ามไม่ให้ม่ายเข้ามาถูกเนื้อต้องตัวคู่บ่าวสาวโดยเด็ดขาด เพราะเกรงว่าจะเป็นลางให้คู่สมรสเป็นม่ายได้ ชาวลาวครั่งเชื่อในเรื่องฤกษ์ยามการส่งตัวเข้าหออย่างเคร่งครัด เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้วสะใภ้จะเป็นผู้นำเอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือว่าที่นอนหมอนมุ้งไปกราบพ่อแม่ของสามี ซึ่งในปัจจุบันการแต่งงานของชาวลาวครั่งแม่ลาด ไม่สามารถรักษาวัฒนธรรมนี้ไว้ได้ จึงเลือนหายไปในที่สุด
ในปัจจุบันลาวครั่งนับถือพุทธศาสนาผสมกับศาสนาพราหมณ์ และนับถือผีเช่นเดียวกับกลุ่ม ชาติพันธุ์ไทอื่น ๆ โดยเชื่อว่าปีมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่าย “เจ้านาย” และ “ฝ่ายเทวดา” มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษที่เมืองภูฆัง ประเทศลาว ในชุมชนลาวครั่งจึงมักแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ตามความเชื่อผีของครอบครัว คือ ผีเจ้านาย คือ มูลนายที่อพยพเข้ามาอยู่ก่อน เป็นนักรบผู้สืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์เดียวกับสมาชิกในชุมชน จะอัญเชิญผีเจ้านายมาสถิตในศาลของหมู่บ้านเรียกว่า “หอเจ้านาย” ความเชื่อ “ผีเจ้านาย” ถือเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบของสังคม ด้วยมีข้อห้ามเรื่อง “ผิดผี” เป็นจารีตที่ทุกคนต้องปฏิบัติ หากเกิดผิดผีจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ขอขมาผีแล้วแต่จะทำการสิ่งใดออกนอกหมู่บ้านไปค้าขายหรือทำไร่ทำนา หรือมีงานประเพณีใด ๆ จะต้องมาบอกกล่าวผีเจ้านายเพื่อให้ผีเจ้านายได้ช่วยดูแลคุ้มครอง ปกปักรักษาไม่ให้สิ่งไม่ดี เข้ามากล้ำกราย ให้พบแต่สิ่งที่ดีมีความเจริญ ส่วน “ฝีเทวดา” คือวิญญาณของเทวดาที่เคยปกปักรักษา บ้านเมืองของตนมาตั้งแต่อยู่ที่ล้านช้าง จะมีจารีตและพิธีกรรมเพื่อแสดงถึงการเคารพนับถือ “หิ้งเทวดา” จะมีลักษณะเป็นหิ้งไม้ ๒ ชั้น ชั้นบนเล็กกว่า เป็นที่วางพานทองเหลืองใส่คัมภีร์โบราณ 2 เล่ม และดาบ เหล็กด้ามไม้ 2 อัน ส่วนข้างล่างใหญ่กว่าเป็นที่วางเครื่องสักการะ ได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน และส่วยที่ชาวบ้านนำมาทำพิธีแก้บน ดอกไม้ที่นำมาแก้บนไม่สามารถนำลงจากหิ้งได้ จนกว่าจะถึงงานเลี้ยงผี จึงเปลี่ยนได้และนำดอกไม้มาแทน ผู้ทำพิธีและสื่อสารติดต่อกับเทวดา เรียกว่า “คนต้น” เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายมักจะสืบทอดตำแหน่งตามสายโลหิต ปัจจุบันประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ ถูกลืมเลือน ไปกับความเจริญที่เข้ามา สมควรได้รับการฟื้นฟู ให้เหมาะสมต่อไปที่ตำบลแม่ลาด แทบไม่เหลือให้เห็นอีกเลย
คำสำคัญ : พิธีกรรมและความเชื่อ ลาวครั่ง
ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด. (2558). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1349&code_db=610004&code_type=03
Google search
เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 3,032
ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ในเขตภาคกลางตอนบนนั้น มีหลักฐานประวัติความเป็นมา พบว่าบรรพ บุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาที่ ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของ ประเทศไทย จากการสันนิษฐานลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง"
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,809
บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 1,258
ที่ตำบลแม่ลาด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ มีภูมิปัญญาลาวครั่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สั่งสมมาช้านาน ถึงการนำอุดมการณ์แห่งความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความเขา้ใจ และการอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนอย่างผาสุกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แนบเนียน ในชีวติประจำวัน ทำให้สังคมไทยอยู่อย่างมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว ในชีวิตความเป็นอยู่ที่สมถะ เรียบง่าย และไม่เน้นกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ยืดหยุ่น รักสงบ มีความสุข ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 1,083
การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรืออัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณรจะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผา้สบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 11,651
ในปัจจุบัน ประเพณีการบวชนาคกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ สำหรักผู้ที่ต้องการจะบวชพระ จะต้องทำการบวชนาคก่อน เพื่อรำลึกถึงนาคผู้มีความตั้งใจบวช ในแต่ละท้องที่ในประเทศไทย ประเพณีบวชนาคและแห่นาคจะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บวชนาคแบบธรรมดาเพื่อเตรียมบวช บวชนาคที่จัดพิธีแห่นาคอย่างประเพณีม้าแห่นาค เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการบวชนาคแบบใด ก็สะท้อนถึงประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในชาติ หากแต่ท้ายที่สุดการบวชนาคเป็นไปเพื่อสำหรับการบวชพระ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางสายกลางตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้แต่กาลก่อน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 8,878
ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,503
ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง” ที่หมู่ 6 บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม
เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 6,399
การก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญมาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวันเมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ควบคู่ไปกับการทำบุญข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป จะนิยมกันในวันสงกรานต์ เช่นกัน
เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 5,135
มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาว บริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์ หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 9,357