โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา

โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 361

[17.481075, 98.2989987, โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา]

       การเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก ภายหลังการเกิดโครงการสร้างเขื่อนพระราชา อันเป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ของเมืองไทย เหตุการณ์ที่ชาวตากไม่เคยลืมคือ เมื่อมีโอกาสได้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จมาเปิดเขื่อนภูมิพล บริเวณอำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยมีนายกรัฐมนตรีลูกหลานชาวเมืองตาก (จอมพลถนอม กิติขจร) เป็นผู้กล่าวคำถวายรายงานโครงการสร้างเขื่อนที่เมืองตากด้วย
       ในระหว่างทางการก่อสร้างเขื่อนพระราชานี้ สร้างการเปลี่ยนผ่านของเมืองหลายประการ ทั้งด้านคมนาคมทางเรือที่ขึ้นลงระหว่างหัวเมืองภาคกลางและหัวเมืองเหนือได้ปิดม่านลงอย่างถาวร ชุมชนที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อนได้อพยพมาสร้างชุมชนบนพื้นที่ใหม่ที่ราชการมอบให้ เรียกกันต่อว่า “บ้านจัดสรร” ตามเรื่องเล่าการอพยพโยกย้ายมาตั้งชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวนั้นเอง ยังมีผู้กล่าวว่าภายใต้พื้นน้ำขนาดใหญ่ของทะเลสาบหากลงไปดำน้ำจะยังพบเมืองอีกเมืองหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมวัดวาที่ยังแสดงร่างรอยชุมชนโบราณนั้นเอง
       เขื่อนพระราชา แม้จะทำให้ภาพประวัติศาสตร์ของชุมชนเหล่านั้นเปลี่ยนไปแต่กลับสร้างภาพประวัติศาสตร์ใหม่บนพื้นที่ของชุมชนจัดสรร และยังสร้างคุณประการแก่ชาติในฐานะแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ให้พลังงานน้ำที่มากที่สุดของไทย และถูกบรรจุเป็นคำขวัญประจำของเมือง
       ความภาคภูมิใจหนึ่งของชาวเมืองตากที่แสดงผ่านยังพอจะมีปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร จากภาพโปสเตอร์ ของคนในรุ่นเก่าที่นิยมส่งภาพเขื่อนภูมิพล ถึงกัน แสดงความรู้สึก ความทรงจำของคนในรุ่นเก่าสะท้อนผ่านตัวอักษรจากลายมือนั้นสุดแสนจะคลาสสิค เห็นถึงความตั้งใจ และยังสามารถเก็บไว้ดูต่างหน้า ได้ ซึ่งต่าง ๆ จากการสื่อสารที่ในปัจจุบันรวดเร็ว แต่ยากที่จับความรู้สึกของผู้ส่งสารได้ ในปัจจุบันการส่งสารผ่านจดหมาย โปรเตอร์ นั้นยังนิยมใช้ในส่วนราชการเป็นส่วนมาก ส่วนบุคคลทั่วไปแทบจะหมดบทบาทไปแล้ว ขอบคุณความทรงจำของคนในรุ่นเก่าที่สะท้อนความทรงจำจากตัวอักษรด้วยลายมือ ลายใจให้เป็นหน้าประวัติศาสตร์ความทรงจำของเมือง

(เรื่องเล่า คุณระพี วงศ์นุ้ย , ข้อมูลจากเอกสาร หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลถนอม กิติขจร, ภาพได้รับความกรุณาจากคุณระพี วงศ์นุ้ย)

คำสำคัญ : เขื่อน

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/807368816019994

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2065&code_db=610001&code_type=TK006

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2065&code_db=610001&code_type=TK006

Google search

Mic

"ยันฮี" มา "บ้านนา" หาย

 “เขื่อนภูมิพล” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปีพ.ศ. 2500 เดิมชื่อ เขื่อนยันฮี ส่วนที่มาของชื่อ มีหลากหลายเวอร์ชัน ทั้งที่บอกว่า เป็นการเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ย่านรี” ที่เป็นชื่อหุบเขาที่สร้างเขื่อน บ้างก็บอกว่ามาจากลักษณะของลำน้ำปิงในช่วงนี้ ที่มีลักษณะแคบ ยาว เวลาพายเรือ หรือแพ ต้องคอยใช้ไม้ยันขอบแกะแก่ง เพื่อไม่ให้เรือ/แพแตก หรือบางคนก็เชื่อตามตำนานของพระนางจามเทวี ที่เชื่อว่า ลำน้ำนี้เป็นที่อาบน้ำของพระนาง แล้วระดับน้ำในแม่น้ำก็สูงถึงของลับของพระนาง ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ส่วนจะเชื่อแบบไหน?? ก็สุดแต่ใจ...

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 463

โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา

โปสเตอร์เก่า เล่าขานความทรงจำเขื่อนพระราชา

การเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก ภายหลังการเกิดโครงการสร้างเขื่อนพระราชา อันเป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ของเมืองไทย เหตุการณ์ที่ชาวตากไม่เคยลืมคือ เมื่อมีโอกาสได้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จมาเปิดเขื่อนภูมิพล บริเวณอำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยมีนายกรัฐมนตรีลูกหลานชาวเมืองตาก(จอมพลถนอม กิติขจร) เป็นผู้กล่าวคำถวายรายงานโครงการสร้างเขื่อนที่เมืองตาก 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 361

ประวัติอำเภอสามเงา

ประวัติอำเภอสามเงา

เล่าสืบต่อกันว่า ในอดีตกาลครั้งกระโน้น พระนางจามเทวีได้เสด็จทางชลมารค ขึ้นมา ตามลำน้ำปิงจะไปครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)พอถึงหน้าผาริมน้ำแห่งหนึ่งก็เกิดอัศจรรย์ปั่นป่วนอากาศวิปริต พายุฝนโหมกระหน่ำหนัก พระนางไม่สามารถที่จะเสด็จต่อไปได้ ต้องพาข้าราชบริพารขึ้นไปประทับหลบภาวะวิปริตของดินฟ้าอยู่ ณ ที่นั้นถึง 3 วัน 3 คืน สภาพดินฟ้าอากาศก็ยังไม่คลี่คลายลง พระนางจึงเสด็จขึ้นไปบนหน้าผาและทรงจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าหากพระนางมีบุญญาบารมีที่จะได้ครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) จริงแล้ว ก็ขอให้อากาศวิปริตของดินฟ้าอากาศจึงหายไป อย่าได้เป็นอุปสรรคในการเดินทางของพระนางต่อไปอีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,889