สะแกนา
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 9,201
[16.4258401, 99.2157273, สะแกนา]
สะแกนา ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums
สะแกนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Combretum attenuatum Wall.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)
สมุนไพรสะแกนา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขอนแข้ ขอนแด่ จองแข้ (แพร่), แก (อุบลราชธานี), แพ่ง (ภาคเหนือ), แก (ภาคอีสาน), สะแก (ภาคกลาง), ซังแก (เขมร-ปราจีนบุรี) เป็นต้น
ลักษณะของสะแกนา
- ต้นสะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 15-20 เมตร) เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ตามป่าละเมาะทั่วไป ป่าเต็งรัง หรือริมธารน้ำชายป่า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 250 เมตร
- ใบสะแกนา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือเว้าเป็นแอ่งตื้น ๆ โคนใบสอบแคบไปยังก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร
- ดอกสะแกนา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงที่โคนที่เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ กลีบเลี้ยงเป็นสีขาวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ สีขาวอมเหลือง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายมน หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม
- ผลสะแกนา ผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว ผลเมื่อแก่หรือสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลแดง 2เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกระสวย มีสัน 4 สัน ตามยาว
สรรพคุณของสะแกนา
- ต้นและใบใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่าง ๆ (ต้น,ใบอ่อน) เมล็ดมีสรรพคุณแก้มะเร็ง (เมล็ดแก่) ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้มะเร็งที่ตับ ปอด ลำไส้ กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ (ราก)
- เมล็ดมีสรรพคุณแก้ซาง ตานขโมย (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]ทั้ง 5 ส่วน มีรสเมาใช้เป็นยาแก้ซางตานขโมย พุงโรก้นปอด (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ผอมแห้ง (เมล็ด, ราก)
- ใบอ่อนมีรสฝาดเมา สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ใบอ่อน)
- ใช้เป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม (เมล็ด, ราก)
- ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
- ช่วยแก้เสมหะ (ราก)
- ต้นและรากมีรสเมา มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียนเป็นโลหิต (ต้น,ราก)
- เมล็ดมีรสเบื่อเมานำเมล็ดมาตำ (ให้ใช้เมล็ดแก่ในขนาด 1 ช้อนคาว หรือประมาณ 3 กรัม หรือใช้เมล็ดประมาณ 15-20 เมล็ด นำมาสับให้ละเอียด) ผสมกับไข่ทอดให้เด็กกินเพียงครั้งเดียวขณะท้องว่าง เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็กได้ดีมาก โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายออกมาก็ให้รับประทานยาถ่ายเอาตัวออกมา (เมล็ดแก่) กระพี้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย (กระพี้) ส่วนรากมีรสเมาใช้เป็นยาเบื่อพยาธิเด็ก ฆ่าพยาธิ ขับพยาธิ (ราก) ทั้ง 5 ส่วนมีรสเมา สรรพคุณเป็นยาขับพยาธิในท้อง (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้บิดมูกเลือด (ใบอ่อน)
- รากมีรสเมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลาม (ราก)
- ช่วยแก้มูกเลือด ตกมกลูก (ราก)
- ช่วยแก้อุจจาระหยาบ เหม็นคาว (ทั้งต้น)
- กระพี้มีรสเบื่อร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้คันทวารเด็ก (กระพี้)
- ช่วยแก้ริดสีดวง (ราก, ราก)
- ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของขังหวัดอุบลราชธานี จะใช้ลำต้นเข้ายากับเบนโคก และเบนน้ำ เป็นยาแก้ปวดมดลูกและมดลูกอักเสบ (ลำต้น)[5]
- เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยขับน้ำคาวปลาสำหรับหญิงหลังคลอดบุตร (เนื้อไม้)
- ช่วยแก้กามโรคหนองใน แก้แผลในที่ลับ เข้าข้อออกดอก (ต้น)[1],[2],[5]ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้กามโรคที่เข้าข้อออกดอก หนองใน (ราก)
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก)
- ใบอ่อนใช้เป็นยารักษาแผลสด แก้บาดแผล (ใบอ่อน)
- ช่วยแก้คุดทะราด (เมล็ดแก่)
- ต้นใช้ปรุงเป็นยารักษาฝี (ต้น)
- ช่วยรักษาฝีมะม่วง ฝีต่าง ๆ (ราก)
- ช่วยแก้ฝีตานซาง (ทั้งต้น)
- ใบอ่อนใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ใบอ่อน)
หมายเหตุ : เราสามารถใช้เมล็ดสะแกนาเป็นยาได้โดยตรง โดยไม่ต้องนำมาแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์ และสามารถเก็บเมล็ดสะแกนาไว้ใช้เป็นยาได้หลายปีโดยไม่เป็นอันตราย แต่ต้องเก็บเมล็ดสะแกนาแล้วปิดให้สนิทและแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้น และการนำมาใช้ห้ามใช้เกินกว่าขนาดที่กำหนดเด็ดขาด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสะแกนา
- ในเมล็ดสะแกนามีสารจำพวก Flavonoid ที่ชื่อว่า Combretol และมี Bsitosterol, Carboxylic acid, Penacyclic, Triterpene เป็นต้น ส่วนในรากกับเมล็ดรวมกันมี Pentacyclic triterpen carboxylic acid ซึ่งได้แก่ 3B,6B,18B-trihydroxyurs-12-en-30-oic และ B-sitosterol, B-sitosterol glucoside เป็นต้น
- สารสกัดชั้นเอทานอลสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 (IC100 : 12.5 mcg/ml) และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 integrase ได้ (IC50 : 2.5 mcg/ml) (เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
- สารสกัดเมทานอลจากใบสะแกนา แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับในหนูทดลองที่ถูกชักนำให้ตับถูกทำลายด้วย D-galactosamine, Lipopolysaccharide และในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-galactosamine และ tumor necrosis factor-Alpha โดยสามารถแยกสารสกัดบริสุทธิ์จากใบสะแกนาได้มากกว่า 30ชนิด และพบว่าสารประเภทฟลาโวนอยด์และไตรเทอร์ปีนชนิดไซโคลอาร์เทน (cycloartane -type triterpenes) ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการทำลายตับ
- สารสกัดด้วยเมทานอลจากเมล็ดสะแกนา มีฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective activity) เมื่อทำการทดลองในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-galactosamine และ tumor necrosis factor-Alpha เมื่อนำสารสกัดเมทานอลมาแยกให้บริสุทธิ์จะได้สารกลุ่ม triterpene glucosides ชนิดใหม่ ซึ่งแสดงฤทธิ์ปกป้องตับคือสาร quadranosides 1,2 และ 5 ที่ความเข้มข้น 50ไมโครโมลาร์ โดยสารทั้ง 3 แสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำลายเซลล์ตับได้ 37.6, 40.9, และ67.5% ตามลำดับ
- เมื่อให้วัวกินเมล็ดสะแก พบว่าจำนวนไข่ของพยาธิตัวกลมชนิด Neoascaris vitulorum ลดลงจนไม่พบอีกใน 1-3 สัปดาห์ต่อมา แต่มีผู้พบว่าเด็กนักเรียนที่กินเมล็ดสะแกนาชุบไข่ทอดในขนาด 1.5-3 กรัม ไม่ให้ผลในการขับพยาธิเส้นด้าน และมีอาการข้างเคียง คือ มีอาการมึนงงและคลื่นไส้ และเมื่อให้ไก่ไข่ที่ได้รับอาหารที่มีเมล็ดสะแกนาเป็นส่วนผสมในอัตรส่วน 1 กรัม ต่อ น้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาถ่ายพยาธิเปอราซิน (piperazine) ในขนาด 15 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวไก่ 1 กิโลกรัม ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดสะแก่นาเป็นส่วนผสมในอาหาร สามารถกำจัดพยาธิไส้เดือน (Ascaridia galli) ได้ 63% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาถ่ายพยาธิสามารถกำจัดพยาธิไส้เดือนได้ 100%
- จากการทดสอบความเป็นเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดสะแกนาด้วยเมทานอล 80% ด้วยการป้อนเข้าทางปากหนูเม้าส์เพศผู้และเพศเมีย และหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย พบว่ามีพิษปานกลางและทำให้สัตว์ทดลองตาย ส่วนการทดลองพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูเพศผู้และเพศเมีย เมื่อให้สารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ามีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับน้ำหนักในการเจริญเติบโต แต่ไม่มีผลต่อตับเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เมล็ดเมื่อให้ทางปากกับหนูแรทและหนูเม้าส์ในขนาด 0.582 และ 1.985 กรัมต่อกิโลกรัม ต่อครั่ง พบว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
- นอกจากนี้ยังได้ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดด้วยเอทานอล 80% โดยให้ทางปากกับหนูเม้าส์เพศผู้และเมีย และหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย พบว่ามีพิษปานกลาง และทำให้สัตว์ทดลองตาย แต่เมื่อฉีดสารสกัดเข้าทางช่องท้องหนูพบว่ามีพิษมาก และทำให้สัตว์ทดลองตาย ส่วนการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน ด้วยการป้อนสารสกัดทางปากทุกวัน ในขนาดวันละ 0.5, 1, และ 2 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่าหนูเม้าส์ไม่สามารถทนสารสกัดดังกล่าวในขนาด 1 และ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้ จากการตรวจสอบอวัยวะภายในพบว่ามีเลือดคั่งที่ลำไส้ ตับและไต ลำไส้โป่งบวม พบก้อนเลือดในหลอดเลือดต่าง ๆ พบภาวะเลือดคั่ง และมีเลือดออก ส่วนหนูแรทนั้นสามารถทนสารสกัดในขนาดวันละ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้นานถึง 1 สัปดาห์ โดยไม่แสดงอาการผิดปกติ
- ส่วนการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกองวิจัยทาวการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าเมื่อให้เมล็ดสะแกนาในขนาด 1.5 กรัมต่อกิโลกรัมเข้าทางปาก สัตว์ทดลองจะมีอาการขาลาก ตาโปนแดง และตายเมื่อเพิ่มขนาดของยา ดังนั้นการนำมาใช้ในคนจึงต้องระวังเรื่องขนานของยาที่ใช้ให้มาก
ประโยชน์ของสะแกนา
- ผลดิบนำมาแช่กับน้ำไว้ให้วัวหรือควายกินเป็นยาขับพยาธิได้
- ชาวบ้านมักจะเอาต้นสะแกนาไปทำฟืนกันมาก เพราะแก่นของต้นสะแกนามีความแข็งมากนั่นเอง
คำสำคัญ : สะแกนา
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สะแกนา. สืบค้น 22 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1786&code_db=610010&code_type=01
Google search
กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 16,884
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,811
ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,076
เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ ใบดกหนาทึบ สูงประมาณ 15-30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่งเปลือกเรียบ หนา สีเขียวอ่อนปนเทา เปลือกในสีชมพูอ่อน ถึงสีน้ำตาลแก่ ตามกิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบป้อม รูปหัวใจ โคนเว้า ปลายหยักเป็นติ่งสั้น เนื้อใบบาง หลังใบมีขนสาก ๆ สีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนสีเทานุ่ม ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละไม่เกิน 3 ช่อ ผลเล็ก ผิวแข็ง รวมกันอยู่บนก้านช่อเป็นก้อนกลม เมล็ดมีปีก โคนต้นเป็นพูพอน การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,936
ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 6,914
ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,974
แตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,380
บัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 3,028
ใบต่อก้าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-1 เมตร มีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วไปตามลำต้นและตามกิ่งก้านที่โคน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และมาดากัสการ์ ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นตามพื้นที่เป็นหิน เขาหินปูน หรือพื้นที่ปนทรายที่แห้งแล้ง ตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 2,934
ข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,641