ตรีผลา

ตรีผลา

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 1,990

[16.4258401, 99.2157273, ตรีผลา]

        ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม
        เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี จนปัจจุบันได้มีการนำยาตำรับตรีผลามาใช้ในรูปของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกันอย่างกว้างขวาง ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงคนชรา และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกาเพราะมีส่วนช่วยลดน้ำหนักและล้างพิษในร่างกาย และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
         โดยตัวยาทั้งสามจะช่วยควบคุมพิษข้างเคียงของกันและกัน เช่น รสเปรี้ยวของลูกสมอพิเภกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย จึงต้องใช้ลูกสมอไทยและลูกมะขามป้อมซึ่งมีรสฝาดและขมไปช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้องและลดอาการท้องมวน เป็นต้น

สรรพคุณของตรีผลา
1. ช่วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
2. ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง ป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย
3. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีอายุยืนยาว
4. ช่วยชะลอความแก่ชรา คงความอ่อนเยาว์
5. ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณผ่องใสยิ่งขึ้น
6. มีส่วนช่วยทำให้แผลสิว จุดด่างดำหายและจางเร็วยิ่งขึ้น
7. ตรีผลามีประโยชน์ช่วยทำให้หลับสบาย หลับลึก และตื่นมาอย่างสดชื่น มีชีวิตชีวา ไม่ง่วงนอน
8. ช่วยปรับธาตุ ปรับสมดุลในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
9. มหาพิกัดตรีผลา (สมอพิเภก 3 ส่วนใช้แก้ธาตุไฟ / สมอไทย 2 ส่วนช่วยแก้ธาตุลม / มะขามป้อม 1 ส่วนช่วยแก้ธาตุดินและน้ำ) สูตรช่วยแก้กองปิตตะ แก้ธาตุไฟกำเริบในช่วงฤดูร้อนหรือธาตุร้อนในร่างกาย
10. มหาพิกัดตรีผลา สูตรแก้กองวาตะ สำหรับฤดูฝน (สมอพิเภก 1 ส่วน / สมอไทย 3 ส่วน / มะขามป้อม 2 ส่วน)
11. มหาพิกัดตรีผลา สูตรแก้ในกองเสมหะ สำหรับฤดูหนาว (สมอพิเภก 1 ส่วน / สมอไทย 3 ส่วน / มะขามป้อม 2 ส่วน)
12. ใช้ตรีผลาเพื่อป้องกันและแก้ไขโรคต่าง ๆ ในทุกฤดูกาล ให้ใช้ผลไม้ทั้ง 3 อย่างในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน จะช่วยทำให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
13. ประโยชน์ตรีผลาช่วยบำรุงเส้นเสียง
14. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
15. ช่วยควบคุมความดันโลหิต ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
16. ช่วยป้องกัน ยับยั้ง และต่อต้านเซลล์มะเร็ง ชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
17. ช่วยต่อต้านเนื้องอก ช่วยทำลายเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งตับ
18. ช่วยป้องกันหวัด
19. ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคหวัด และวัณโรค
20. ตรีผลามีสรรพคุณช่วยขับสารพิษ ล้างพิษในร่างกาย ระบบน้ำเหลือง ล้างน้ำเหลืองเสีย ชำระเมือกในลำไส้
21. ตรีผลาช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก และมวลไขมันออกจากร่างกาย
22. ช่วยในการขับถ่ายระบายท้องหากใช้ก่อนนอน
23. เป็นยาที่ช่วยควบคุมการขับถ่ายและหยุดถ่ายโดยอัตโนมัติ
24. ตรีผลารักษาริดสีดวง และช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
25. ช่วยปกป้องไต
26. ช่วยต่อต้านโรคไขข้ออักเสบอย่างประสิทธิภาพ
27. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ ด้วยการรับประทานตรีผลาร่วมกับมหาหิงคุ์เป็นประจำ
28. ปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปผลิตเป็นเครื่องดื่ม น้ำตรีผลา ตรีผลาแคปซูล ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย
        ตรีผลาสามารถหาซื้อมาใช้ได้ง่ายในรูปของเครื่องดื่ม แต่ถ้าจะทำเองก็ได้โดยใช้สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม อย่างละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วใส่น้ำพอประมาณ ใช้รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1 แก้ว เช้าและเย็น แต่ถ้าอยากจะได้แบบเข้มข้นก็ให้ใส่น้ำน้อย ๆ หรือถ้าอยากได้แบบเจือจางก็ใส่น้ำเยอะหน่อย หรืออีกสูตรให้ใช้สมอพิเภก 100 กรัม / สมอไทย 200 กรัม / มะขามป้อม 400 กรัม นำมาใส่ในหม้อต้มกับน้ำ 6 ลิตร แล้วต้มจนเดือดประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นให้ใส่น้ำตาลทรายแดง 600 กรัมและเกลืออีก 1 ช้อนชา เคี่ยวจนเข้ากันแล้วจึงยกออกจากเตาไฟ กรองเอาแต่น้ำมาใส่ขวดแช่เย็นไว้ จะดื่มร้อน ๆ เป็นชาก็ได้ ดื่มได้ทุกเวลา เช้า กลางวัน เย็น โดนไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ 
         สำหรับตัวยาทั้ง 3 นี้ มะขามป้อมกับสมอไทยนั้นหาซื้อได้ง่ายในรูปของสด แต่สมอพิเภกอาจจะหายากซักหน่อย หรือจะหันไปใช้ของแห้งทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือเรื่องความสะอาดที่อาจจะปนเปื้อนเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะมะขามป้อม ดังนั้นควรเลือกซื้อให้ดี ๆ หน่อย ถ้าเจอราก็ให้ทิ้งไปเลยไม่ต้องเสียดาย เพราะบางทีความร้อนสูงก็ไม่อาจจะฆ่าเชื้อราเหล่านี้ได้ การรับประทานเข้าไปแทนที่จะช่วยบำรุงร่างกาย แต่อาจจะเป็นโทษต่อร่างกายซะเอง

ข้อควรระวัง : สำหรับสตรีในช่วงมีประจำเดือนควรงดการรับประทานตรีผลา เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมามากกว่าปกติ และสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่แนะนำให้รับประทาน

คำสำคัญ : ตรีผลา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตรีผลา. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1621&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1621&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 8,871

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,276

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 19,878

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,028

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,906

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,226

ผักขี้มด

ผักขี้มด

ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 1,795

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,511

คันทรง

คันทรง

คันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,123

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,264