มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 5,942

[16.4258401, 99.2157273, มะกอกเกลื้อน]

มะกอกเกลื้อน ชื่อสามัญ Kenari, Upi
มะกอกเกลื้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium subulatum Guillaumin จัดอยู่ในวงศ์มะแฟน (BURSERACEAE)
สมุนไพรมะกอกเกลื้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะเลื่อม (พิษณุโลก, จันทบุรี), มักเหลี่ยม (จันทบุรี), โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี), มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี), มะเหลี่ยมหิน (มหาสารคาม), มะเกิ้ม (ภาคเหนือ), กอกกัน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะกอกเลื่อม (ภาคกลาง), มะกอกเลือด (ภาคใต้), มะกอกกั๋น (คนเมือง), มะเกิ้ม (ไทลื้อ), เกิ้มดง เพะมาง สะบาง ไม้เกิ้ม (ขมุ), ซาลัก (เขมร) เป็นต้น

ลักษณะของมะกอกเกลื้อน
         ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดกลม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาว ๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักพบขึ้นตามบริเวณป่าไม้ผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง และตามบริเวณป่าหญ้าหรือทุ่งหญ้าทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร
         ใบมะกอกเกลื้อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวียน มีใบย่อยประมาณ 2-5 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ใบประกอบยาวประมาณ 12-14 เซนติเมตร แกนกลางยาวประมาณ 8.5-12 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่แกมวงรี รูปรีแกมรูปไข่ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบมนเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่เลื่อยตื้น ๆ ตามรอยหยักมีขนเป็นกระจุก มีหูใบแต่หลุดร่วงได้ง่าย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร แผ่นใบกึ่งหนา คล้ายแผ่นหนัง หลังใบด้านบนมีขนขึ้นประปรายที่เส้นกลางใบและขอบใบ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนสั้น ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป ท้องใบมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-15 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร ก้านใบรวมมีหูใบแคบ 1 คู่ ขนาดประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนใบแก่เป็นสีแดงเข้ม
         ดอกมะกอกเกลื้อน ออกดอกเป็นช่อเชิงลดตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้จะยาวกว่าช่อดอกเพศเมีย โดยช่อดอกเพศผู้มักออกเป็นแบบช่อกระจุกแยกแขนงยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียมักออกเป็นช่อกระจะยาวเพียง 8-10 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมีขนทั่วไป กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลือง มี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรองกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยหรือรูปถ้วย ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉก ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ขอบหยัก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมกันที่ฐานเป็นท่อสั้น ๆ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรีมี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 2 เม็ด ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
          ผลมะกอกเกลื้อน ออกผลเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีผลประมาณ 1-4 ผล ช่อยาวประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ รูปกลม หรือรูปกระสวย ผลอ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเขียวอมเหลือง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.7-3.5 เซนติเมตร บริเวณขั้วผลมีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดอยู่กับก้านช่อดอก ขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกระสวย 3 เมล็ด เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งมาก ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของมะกอกเกลื้อน

  1. ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้มะกอกเกลื้อนทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบ ช่วยบำรุงร่างกายให้มีกำลังแข็งแรง (ทั้งต้น)
  2. ตำรายาไทยจะใช้ผลนำมารับประทานเป็นยาแก้ไอ หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอ (ผล)
  3. ผลใช้รับประทานเป็นยาช่วยขับเสมหะ น้ำลายเหนียว หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกิน (ผล)
  4. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นมะกอกเกลื้อนเป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน (เปลือกต้น)
  5. แก่นมีรสเฝื่อนใช้เป็นยาแก้โลหิตระดูพิการ (แก่น)
  6. ยางสดใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการคัน ตุ่มคันหรือเม็ดผื่นคัน (ยาง)
  7. แก่นใช้เป็นยาแก้ประดง (อาการของโรคผิวหนังที่เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมากและมักมีไข้ร่วมด้วย) (แก่น)

ประโยชน์ของมะกอกเกลื้อน

  1. ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้ มะกอกเกลื้อนจัดเป็นพืชป่าเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประชาชนสามารถเก็บผลมาขายได้ โดยการนำผลมาดองและแช่อิ่มแทนลูกหนำเลี้ยบรับประทาน หรือจะใช้ผลแก่รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกก็ได้
  2. เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน ใช้รับประทานได้
  3. ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม

คำสำคัญ : มะกอกเกลื้อน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกอกเกลื้อน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1678&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1678&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,871

สมอพิเภก

สมอพิเภก

สมอพิเภก (Belleric Myrobalan) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในป่า พบมากบริเวณที่ชุ่มข้างริมน้ำหรือแหล่งน้ำ นิยมใช้ประโยชน์จากผล และเปลือก ในด้านสมุนไพรทางยา และในด้านอื่นๆที่ได้จากต้น อาทิ การแปรรูปไม้ การให้ร่มเงา เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,462

หญ้าใต้ใบ

หญ้าใต้ใบ

ลูกใต้ใบ หรือ หญ้าใต้ใบ ที่ทุกคนรู้จัก เป็นยาสมุนไพรที่มีผลทางยาหลายประการ ลูกใต้ใบมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หมากไข่หลัง ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีทุกภาคของประเทศไทย หญ้าใต้ใบมีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาและแอฟริกา

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,677

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,579

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,936

สับปะรด

สับปะรด

สับปะรด มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ มักจะอยู่ใกล้ ๆ ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเราก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย (สับปะรดศรีราชา ผลใหญ่ เนื้อฉ่ำ สีเหลืองอ่อน), พันธุ์อินทรชิต (หรือพันธุ์พื้นเมือง), พันธุ์ภูเก็ต (ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ), พันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด) เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 8,421

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 12,612

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,769

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 6,290

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ

หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,373