ขจร

ขจร

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 3,115

[16.4258401, 99.2157273, ขจร]

ขจร ชื่อสามัญ Cowslip creeper
ขจร ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma cordata (Burm. f.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Telosma minor (Andrews) W. G. Craib) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE - ASCLEPIADACEAE)
ผักขจร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สลิด ขจร (ภาคกลาง), ผักสลิด (นครราชสีมา), กะจอนขะจอนสลิดป่าผักสลิดคาเลาผักขิก เป็นต้น

ลักษณะของขจร
        ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง
        ใบขจร หรือ ใบสลิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์หรือใบพลู ปลายใบเรียวแหลมยาวเป็นติ่ง (คล้ายใบต้นข้าวสาร) โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง ไม่มีจัก จะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร
        ดอกขจร หรือ ดอกสลิด ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามหรือออกเป็นพวง ๆ คล้ายพวงอุบะตามซอกใบหรือโคนก้านใบ โดยในช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะแข็งเป็นสีเขียวอมสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม (หอมแรงกว่าดอกชำมะนาดหรือกลิ่นของใบเตย โดยจะหอมมากในช่วงเย็นถึงกลางคืน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ กลีบดอกย่นและบิด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก เชื่อมติดกันเองและเชื่อมติดกับยอดเกสรเพศเมีย แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชั้นกระบังรอบ ล้อมรอบก้านยอดเกสเพศเมียและเกสรเพศเมียเอาไว้ และมีชุดกลุ่มเรณูอยู่ 5 ชุด ซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายกับในดอกรัก เกสรเพศเมียจะมีรังไข่ 2 อัน แต่มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียร่วมกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม บ้างว่าจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
        ผลขจร หรือ ฝักขจร ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาวปลายแหลม (คล้ายฝักนุ่นที่ยังเล็ก) ผิวผลเรียบ ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกตะเข็บเดียว ภายในผลหรือฝักมีเมล็ดลักษณะแบนจำนวนมาก และมีปุยสีขาวติดอยู่ที่ปลายเมล็ด เมล็ดปลิวว่อนคล้ายกับนุ่นที่มีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว โดยจะออกผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของขจร
1. ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
2. ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
3. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, ยอดใบอ่อน)
4. แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น, เปลือก)
5. ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดใบอ่อน)
6. ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
7. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
8. รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
9. รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[1]บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา (ราก)
10. ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
11. ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด (ดอก)
12. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
13. ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
14. ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
15. ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
16. รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
17. ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา (ราก)
18. ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ข้อควรระวัง ! : ลำต้นเป็นพิษต่อสุกร

ประโยชน์ของขจร
1. ยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนดอกยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้มดอกขจร
    แกงจืดดอกขจร แกงเลียง ขจรผัดไข่ ขจรชุบแป้งทอด ยำดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร ผัดน้ำมันหอย ผัดกับปลาหมึก เป็นต้น (ยอดอ่อนคือส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด)
2. ในสมัยก่อนจะนำดอกขจรมานึ่งให้สุก ผสมกับมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ขูดฝอย นำมาปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย งา และเกลือเล็กน้อย ใช้ทำเป็นขนมที่เรียกว่า "ขนมดอกขจร" แต่ใน
    ปัจจุบันไม่ค่อยพบว่ามีขายแล้ว
3. ดอกสวยของขจร นอกจากจะรับประทานเป็นผักได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในงานดอกไม้สด ด้วยการนำไปร้อยอุบะติดชายมาลัยหรือเครื่องแขวนต่างๆ ได้อีกด้วย
4. เถาของต้นขจรมีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้
5. นอกจากจะปลูกเพื่อนำดอกมารับประทานแล้ว ก็ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
6. บ้างระบุว่าเนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้

คุณค่าทางโภชนาการของขจรในส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม
1. พลังงาน 72 แคลอรี
2. คาร์โบไฮเดรต 10.6 กรัม
3. โปรตีน 5.0 กรัม
4. ไขมัน 1.1 กรัม
5. ใยอาหาร 0.8 กรัม
6. น้ำ 80.5 กรัม
7. เถ้า 1.0 กรัม
8. วิตามินเอ 3,000 หน่วยสากล (บ้างว่า 3,150 หน่วยสากล)
9. วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
10. วิตามินบี 2 0.12 มิลลิกรัม
11. วิตามินบี 3 0.17 มิลลิกรัม
12. วิตามินซี 68 มิลลิกรัม
13. ธาตุแคลเซียม 70 มิลลิกรัม
14. ธาตุเหล็ก 1.0 มิลลิกรัม
15. ธาตุฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม

คำสำคัญ : ขจร

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ขจร. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1573&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1573&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,553

บอนส้ม

บอนส้ม

บอนส้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นตามที่ชื้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบบอนส้ม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ประมาณ 60 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,069

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,376

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,988

งาดำ

งาดำ

งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 5,724

เคี่ยม

เคี่ยม

ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,034

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,287

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,750

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 8,059

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลักษณะลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 – 80 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ  ออกจากลำต้นบริเวณข้อแบบสลับ  ประกอบด้วยใบย่อย    3 - 5 ใบ ออกจากจุดเดียวกันใบย่อยเป็นรูปไข่ใบตรงกลางค่อนข้างจะใหญ่กว่าใบทางด้านข้างทั้งสองข้าง  ดอกออกตามซอกใบและที่ปลายยอดมีกลีบดอก  4  กลีบ  สีเหลือง มีเกสร ตัวผู้ 8-30 อัน อับละอองเกสรเป็นเส้นยาวที่ปลายมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นเหม็นเขียว  ผลเป็นชนิดแคปซูล มีลักษณะเป็นฝัก ยาว 4-10 ซม. มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,549