มะดัน

มะดัน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 10,335

[16.4258401, 99.2157273, มะดัน]

มะดัน ชื่อสามัญ Madan (ตรงตัว)

มะดัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana Pierre จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)

สมุนไพรมะดัน มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของมะดัน

  • ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน และดอกเพศจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10-12 อัน
  • ผลมะดัน หรือ ลูกมะดัน ลักษณะของผลจะคล้ายรูปรีปลายแหลม ผลมีสีเขียว ลักษณะผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด ด้านในผลมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ดติดกัน เมล็ดแข็งและขรุขระ โดยในผลจะมีวิตามินซีสูงและยังมีสารอาหารหรือสารสำคัญอย่างเบตาแคโรทีน รวมไปถึงแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

สรรพคุณของมะดัน

  1. ในทางเภสัชวิทยาพบว่ามะดันมีสารสำคัญซึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้
  2. สรรพคุณมะดันผลช่วยแก้อาการคอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มชื่นคอ (ผล)
  3. ใบและรากปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้กระษัย (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  4. ใบปรุงเป็นยาต้ม ช่วยขับฟอกโลหิต (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้เบาหวาน (ราก)
  6. มะดันมีสรรพคุณช่วยรักษาไข้หวัด (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  7. ช่วยแก้ไข้ทับระดู (รก, ราก, เปลือกต้น)
  8. ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการทำเป็นยาสูตรดองเปรี้ยวเค็ม (ใบ, ผล)
  10. ใช้เป็นยาแก้เสมหะ เสมหะพิการ กัดเสมหะในลำคอได้เป็นอย่างดี หรือจะปรุงเป็นยาต้มกินก็ได้ (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  11. สรรพคุณของมะดันผลใช้ทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม ช่วยฟอกเสมหะ ล้างเสมหะ (ผล)
  12. ผลมะดันนำมาดองน้ำเกลือ ใช้รับประทานเพื่อแก้อาการน้ำลายเหนียวหรือเป็นเมือกในลำคอ (ผล)
  13. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ โดยปรุงเป็นยาต้ม (ราก)
  14. ช่วยขับปัสสาวะ (ราก, ใบ)
  15. ใบมะดันและรากปรุงเป็นยาต้มช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือจะทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็มก็ได้เช่นกัน (ราก, ใบ, ผล)

วิธีการปรุงเป็นยาต้ม ด้วยการใช้ใบหรือผลประมาณ 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยาแล้วต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที และบางตำราบอกให้ต้มแบบไม่ใช้ไฟแรง ให้น้ำค่อยเดือดๆ และต้ม 3 ส่วน เคี่ยวจนเหลือ 1 ส่วน โดยขนาดที่รับประทานคือครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว (125-250 cc) สรรพคุณช่วยแก้กระษัย ฟอกโลหิต ฟอกประจำเดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางไม่ควรรับประทานอาหารหรือยาที่มีรสเปรี้ยวเพราะจะยิ่งไปกัดฟอกโลหิตมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ประโยชน์ของมะดัน

  1. ประโยชน์ของมะดันช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้ เพราะมีสารกลุ่ม AHA และ BHA โดยได้มีการนำมาใช้ในวงการเครื่องสำอาง ใช้เป็นส่วนผสมในสบู่ โทนเนอร์ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น
  2. มีการนำมะดันมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพแล้วกรองเอาน้ำมาใช้ บ้างก็ใช้ปรุงในเครื่องดื่ม บ้างก็นำไปใช้ทำเป็นโทนเนอร์เช็ดหน้า
  3. ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้สด โดยจิ้มกับพริกเกลือ
  4. ผลสามารถนำไปแปรรูปเป็นมะดันแช่อิ่ม หรือ มะดันดองแช่อิ่ม
  5. ผลมีรสเปรี้ยวจัด ใช้แทนมะนาวได้ เช่น การตำน้ำพริก น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกทรงเครื่อง น้ำพริกสับกากหมู หรือใช้ใส่ในแกงที่ต้องการความเปรี้ยวอย่างแกงส้มหรือต้มยำ เป็นต้น
  6. ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้
  7. ยอดอ่อนนำมาใส่ต้มปลา ต้มไก่ จะให้รสเปรี้ยวแทนมะนาวได้และยังทำให้รสชาติของอาหารหวานและหอมขึ้นด้วย
  8. กิ่งของมะดันนำมาใช้หนีบไก่ปิ้งหรือไก่ปิ้งไม้มะดัน จะช่วยทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น
  9. ต้นมะดันเป็นไม้ที่ทนน้ำท่วมขังได้ดีมากที่สุดชนิดหนึ่ง มันจึงเหมาะถ้าจะปลูกไว้ในบริเวณที่อาจเกิดน้ำท่วม
  10. ต้นมะดันมีทรงพุ่มที่สวยงาม จึงเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประดับสถานที่ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : มะดัน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะดัน. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1715&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1715&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,527

พันงูขาว

พันงูขาว

ลักษณะทั่วไป   เป็นต้นวัชพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากเป็นระบบรากแก้ว ทรงพุ่ม กิ่งอ่อนมีสีเขียวหรือสีแดง เป็นสี่เหลี่ยมมีขนสีขาว  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ฐานใบเรียว แหลมมากกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ดอก   ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ปลายขอด ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อย มีสีเขียวติดอยู่บนก้านดอก  ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงแข็ง 2 กลีบ เมื่อแก่จะกลายเป็นหนามแหลมติดบนผลมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วงแดง  มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็นเส้นกลม มักจะออกดอกในฤดูร้อน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,639

ผักชี

ผักชี

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,564

มะขามป้อม

มะขามป้อม

มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมะขามป้อกันนะครับมะขามป้อมถือเป็นที่รู้จักกันดีในวงการการแพทย์ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายกับนานาคุณประโยชน์ ลักษนะของมะขามป้อม ผลสด เป็นผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2cmในปัจจุบันนี้มีมะขามป้อมพันธ์ยักษ์ซึ่งขนาดผลใหญ่กว่าผลปกติ2-3เท่าในมะขามป้อมมี สารอะนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินA B3 Cและยังมีสารอาหารจำพวก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,688

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,473

สะแกนา

สะแกนา

สะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,886

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,704

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญเป็นไม้พุ่ม เป็นดอกไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกกลางแจ้งในดินที่มีอาหารเพียงพอและระบายน้ำได้ดี โดยมีลำต้นตั้งตรง ความสูงของลำต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ มีการแตกกิ่งก้านตั้งแต่บริเวณโคน มีหนามแหลมขึ้นมามากตามลำต้นและกิ่ง และความยาวของหนามนี้จะไม่เท่ากัน หนามอ่อนสีน้ำตาลแกมแดง เมื่อหนามแก่จะกลายเป็นสีเทา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปทรงไข่ โคนมน ปลายแหลม และขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,659

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,999

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,081