จันทนา

จันทนา

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 3,415

[16.4258401, 99.2157273, จันทนา]

จันทนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna hoaensis Pit. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรจันทนา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า จันทน์ขาวจันทน์ตะเบี้ยจันทน์ตะเนี้ย (ภาคตะวันออก, เขมร), จันทน์หอม (ระยอง), จันทนา จันทน์ใบเล็ก (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ทนา เป็นต้น

ลักษณะของจันทนา
       ต้นจันทนา
 จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงของจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-400 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ชอบดินร่วนซุยและทนแล้งได้ดี
       ใบจันทนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 24 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม
,        
ดอกจันทนา ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกประมาณ 8-12 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายจะแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายกลีบม้วนลง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองติดอยู่ข้างในผนังหลอด
        ผลจันทนา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี สีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ พอแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนประมาณ 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของจันทนา
1. แก่นช่วยรักษาโรคเลือดลม (แก่น) หรือจะใช้แก่นจันทนาผสมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยา ซึ่งประกอบไปด้วย แก่นจันทนา แก่นจันทน์แดง กระดูกหมาดำ งาช้าง รากชะอม รากชุมเห็ดเทศ
    รากผักหวานบ้าน รากมะกอกเผือก รากมะกอกฟานซ้อม รากมะลืมดำ รากมะลืมแดง รากหญ้าขัด และหัวถั่วพู โดยนำมาฝนกับน้ำข้าวเจ้า ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคเลือดลม แต่ถ้า
    เป็นมากจนตัวแดงหรือแดงเป็นลูกตำลึงสุกก็ให้นำมาทาด้วย (แก่น)
2. ช่วยบำรุงเลือดลม (แก่น)
3. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (แก่น)
4. แก่นหรือเนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยบำรุงประสาท (แก่น) ช่วยทำให้เกิดปัญญาและราศี (แก่น)
5. ช่วยบำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว (แก่น)
6. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์ (แก่น)
7. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (แก่น)
8. ช่วยบำรุงตับและปอด (แก่น)
9. ช่วยแก้ปอด ตับ และดีพิการ (แก่น)
10. ช่วยแก้ลม (แก่น)
11. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้ (แก่น) แก้ไข้ร้อน แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี แก้ไข้กำเดา (แก่น)
12. ช่วยแก้อาการเหงื่อตกหนัก (แก่น)
13. ชวยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (แก่น)
14. ช่วยขับพยาธิ (แก่น)
15. ช่วยบำรุงผิวหนัง บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น (แก่น)
16. จันทนาจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเบญจโลธิกะ" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา),
      แก่นจันทน์แดง, แก่นจันทน์ชะมด, ต้นเนระพูสีไทย, และต้นมหาสะดำ โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน ช่วยกล่อมพิษทั้งปวง (แก่น)
17. จันทนาจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดจันทน์ทั้งห้า" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์เทศ และ
      แก่นจันทน์ชะมด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น)
18. จันทนาจัดอยู่ในรับยาพระโอสถนารายณ์ คือตำรับยา "มโหสถธิจันทน์" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรจันทน์ทั้งสอง ได้แก่ จันทน์แดงและจันทน์ขาว (เข้าใจว่าคือแก่น
      จันทนา) ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีก 13 ชนิด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อน หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของ
      แก่นหรือเนื้อไม้)
19. จันทนายังปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) คือ ตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่น
      จันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับยาอีก โดยตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (ไม่ระบุ
      ส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่นหรือเนื้อไม้)
20. จันทนายังปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาจันทน์ลีลา" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับยา โดยเป็นตำรับยาที่ช่วย
      บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของจันทนา
สารสกัดของแก่นจันทนาด้วยแอลกอฮอล์ไม่เป็นพิษต่อหนูในความเข้มข้น 10 กรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว

ประโยชน์ของจันทนา
1. แก่นของจันทนาสามารถนำมาใช้ในการทำมาทำเป็นธูปหอมได้
2. เนื้อไม้หรือแก่นใช้บดหรือฝนผสมกับน้ำ นำไปปรุงแต่งเป็นเครื่องหอมได้

คำสำคัญ : จันทนา

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จันทนา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1594&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1594&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

การะเกด

การะเกด

สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,068

ผักชี

ผักชี

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,714

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,970

ผักชีล้อม

ผักชีล้อม

ต้นผักชีล้อม จัดเป็นพืชล้มลุกที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นผิวดิน ลำต้นกลวงอวบน้ำ ผิวภายนอกเป็นร่อง ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ขายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเม็ด การแยกไหลและการปักชำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 1-3 ชั้นเรียงสลับ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรีแคบหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นผลเดี่ยว ผลแห้งแก่แล้วแตกเป็นสองส่วน ลักษณะของผลค่อนข้างกลมเป็นสัน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 18,855

กานพลู

กานพลู

กานพลู (Clove) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในภาคเหนือเรียกจันจี่ เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของกานพลู มีรสเผ็ด และมีเพาะปลูกกันมากที่สุดในแถบประเทศอินโดนีเซีย, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา เป็นต้น โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกานพลูนี้มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักนิยมนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยไว้สูดดม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,230

จุกโรหินี

จุกโรหินี

ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,793

พลูคาว

พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 2,063

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,848

ดาวเรือง

ดาวเรือง

ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,739

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,740