เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 3,461

[16.4258401, 99.2157273, เพชรสังฆาต]

เพชรสังฆาต ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissus quadrangularis L. จัดอยู่ในวงศ์องุ่น (VITACEAE)

สมุนไพรเพชรสังฆาต มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สันชะควด (กรุงเทพ), ขั่นข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น

ลักษณะของเพชรสังฆาต

  • ต้นเพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน 
  • ใบเพชรสังฆาต ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว 2-3 เซนติเมตร
  • ดอกเพชรสังฆาต ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ที่ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน
  • ผลเพชรสังฆาต ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ ในผลมีเมล็ดกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ด โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

ประโยชน์ของเพชรสังฆาต ที่โดดเด่นก็คงหนีไม่พ้นการใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยมีงานวิจัยของ พญ. ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ ได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่างดาฟลอน (Daflon) โดยผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และที่สำคัญยังพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย ผลการวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้เป็นอย่างดี

แต่สรรพคุณในการรักษาริดสีดวงของสมุนไพรเพชรสังฆาตใช่ว่าจะรักษาริดสีดวงได้หายขาดเสมอไป การจะหายช้าหรือเร็วก็ยังขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมากหรือน้อยแค่ไหนด้วย รวมไปถึงนิสัยการรับประทานอาหาร การดูแลตัวเองด้วยว่าคุณหมั่นรับประทานผักหรืออาหารที่มีเส้นใยมากน้อยแค่ไหน และสำหรับผู้ที่เป็นมากในระดับหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเพชรสังฆาตหรือยาดาฟลอนก็ช่วยแค่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น ต้องผ่าตัดอย่างเดียวครับ

สรรพคุณของเพชรสังฆาต

  1. เพชรสังฆาตใช้ปรุงเป็นยาธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร (น้ำจากต้น)
  2. น้ำจากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล (น้ำจากต้น)
  3. น้ำจากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดจมูก แก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ (น้ำจากต้น)
  4. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ต้น)
  5. ใช้เถาเพชรสังฆาตคั้นเอาน้ำมาดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (เถา, น้ำคั้นจากต้น)
  6. ช่วยรักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (ใบยอดอ่อน)
  7. เพชรสังฆาตมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ (เถา)
  8. แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ (เถา, น้ำคันจากต้น)
  9. แก้กระดูกแตก หัก ซ้น (เถา)
  10. ใช้เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก (ใบ, ราก)
  11. ใช้เป็นยารักษาริดสีดวง
    • ด้วยการใช้เถาเพชรสังฆาตสดๆ ประมาณ 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้ออาหาร นำมารับประทานด้วยการสอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขามเปียก หรือใบผักกาดดองแล้วกลืนลงไป ห้ามเคี้ยว เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีผลึก Calcium Oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมาก การรับประทานสดๆ อาจทำเกิดอาหารคันในปาก ระคายต่อเยื่อบุในปากและในลำคอได้ และการรับประทานจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน อาการของโรคริดสีดวงก็จะดีขึ้น (เถา)
    • หรือจะใช้เถาแห้งนำมาบดเป็นผง ใส่แคปซูลเบอร์ 2 ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและช่วงก่อนนอน รับประทานไปสัก 1 อาทิตย์ก็จะเห็นผล (เถา)

คำสำคัญ : เพชรสังฆาต

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เพชรสังฆาต. สืบค้น 23 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1762&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1762&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,167

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,416

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 9,755

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,439

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,338

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน ล้างสะอาด ตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด มีรสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด มีพิษบวมแดง ฝีที่เต้านม ขาเน่าเบื่อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,055

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,428

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,848

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,142

มะนาว

มะนาว

หลายคนสงสัยว่า แล้วคำว่า Lemon ที่ในบ้านเราเข้าใจว่ามันคือมะนาว แล้วตกลงมันคืออะไร จริง ๆ แล้วเลมอน (Lemon) ความหมายที่ถูกต้องของมันก็คือ ผลส้มชนิดหนึ่งที่มีหัวท้ายมนหรือมะนาวที่มีผลเป็นลูกออกสีเหลืองใหญ่ ไม่ใช่ผลกลมๆ สีเขียวลูกเล็กๆ อย่างมะนาวที่เราคุ้นเคย การปลูกมะนาว เดิมแล้วมะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้จีงรู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยนี่เอง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,660