มะกา

มะกา

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 10,102

[16.4258401, 99.2157273, มะกา]

มะกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia ovata Decne. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
สมุนไพรมะกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้องแกบ (เชียงใหม่), ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น), ซำซา มะกาต้น (เลย), มัดกา มาดกา (หนองคาย), มาดกา (นครราชสีมา), กอง กองแกบ (ภาคเหนือ), ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
หมายเหตุ : ข้อมูลจาก The Plant List ระบุว่าสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

ลักษณะของมะกา
        ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย
        ใบมะกา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น
         ดอกมะกา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง
         ผลมะกา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

สรรพคุณของมะกา

  1. แก่นมีรสขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น) ส่วนเปลือกต้นมีรสฝาดขม เป็นยาแก้กระษัย แก้พิษกระษัย (เปลือกต้น) ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้ใบมะกาเป็นยาแก้โรคกระษัย ด้วยการใช้ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด และรากต้นเสาให้ อย่างละเท่ากัน นำมาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร แล้วใส่เกลือทะเล 1 กำมือ ใช้น้ำยารับประทาน (ใบ)
  2. ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)
  3. ทั้งห้าส่วนเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)
  4. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
  5. ช่วยฟอกโลหิต (แก่น) ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
  6. รากและใบเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ) ส่วนใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)
  7. ใบมีรสขมขื่น สรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้ ถ่ายพิษตานซางในเด็ก (ใบ)
  8. ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิต (ใบ)
  9. ใบที่ตายนำมานึ่งมวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาขับเสมหะ (ใบ) ส่วนแก่นก็เป็นยาขับเสมหะเช่นกัน (แก่น) 
  10. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  11. เมล็ดทำให้ฟันแน่น (เมล็ด)
  12. ช่วยชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ (ใบ)
  13. ช่วยขับลม (ใบ, ทั้งห้า)
  14. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
  15. เปลือกต้นใช้กินเป็นยาสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
  16. ใบสดนำมาปิ้งไฟ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน (ใบ) ด้วยการใช้ใบแห้งปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 15-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอนเป็นยาระบาย (ใบ)
  17. ช่วยระบายอุจจาระธาตุ (แก่น)
  18. ช่วยคุมกำเนิด ช่วยขับระดู แก้มุตกิดของสตรี (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไตพิการ (แก่น)
  20. ช่วยบำรุงน้ำดี (ใบ)
  21. ช่วยบำรุงน้ำเหลือง ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ)
  22. เปลือกต้นมีรสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
  23. ช่วยแก้เหน็บชา (ใบ)

หมายเหตุ : ใบสดไซ้ท้องทำให้คลื่นเหียน ต้องนำมาปิ้งไฟให้พอกรอบเสียก่อนแล้วจึงนำไปใช้ มักใช้ใบยาต้ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะกา

  • จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยท้องผูก ด้วยการใช้ใบแห้งในขนาด 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แล้วแช่ไว้นาน 10-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลดี แต่มีอาการข้างเคียงคือ ปวดท้อง คลื่นไส้
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ

 

คำสำคัญ : มะกา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกา. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1682&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1682&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,941

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน ล้างสะอาด ตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด มีรสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด มีพิษบวมแดง ฝีที่เต้านม ขาเน่าเบื่อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,468

โหราบอน

โหราบอน

โหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,522

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,058

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,263

จันทนา

จันทนา

จันทนา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,736

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง (Peanut, Groundnut, Monkeynut, Arachis) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือและอีสานเรียก ถั่วดิน ส่วนประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเรียก ถั่วคุด เป็นต้น ซึ่งถั่วลิสงนั้นจัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทางทวีปอเมริกาใต้ มีทั้งสายพันธุ์ป่าซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 ชนิดด้วยกัน และสายพันธุ์สำหรับปลูกซึ่งจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวเรียกว่า Hypogaea โดยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,776

มะเขือพวง

มะเขือพวง

มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,311

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,194

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,573