กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 6,442

[16.4258401, 99.2157273, กล้วยน้ำว้า]

        กล้วยน้ำว้า (Banana) เป็นพืชผลไม้จำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในเชียงใหม่หรือเชียงรายเรียกกล้วยใต้ ส่วนจันทบุรีเรียกกล้วยมะลิอ่อง หรือชัยภูมิเรียกกล้วยอ่อง และในอุบลราชธานีเรียกกล้วยตานีอ่อง เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์กล้วยชนิดหนึ่งที่ผสมผสานระหว่างกล้วยป่าและกล้วยตานี ปลูกง่าย รสชาติอร่อย เป็นที่นิยมบริโภคกันมาก มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ น้ำว้าขาว น้ำว้าแดง และน้ำว้าเหลือง

ลักษณะทั่วไปของกล้วยน้ำว้า
        กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

ประโยชน์และสรรพคุณของกล้วยน้ำว้า
        ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าทางสมุนไพรนั้นมีมากมาย เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนของต้นกล้วยเลยก็ว่าได้ มีดังนี้
        ราก – ใช้ต้มดื่มแก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ตลอดจนช่วยสมานแผลภายใน และอาการท้องเสีย ผื่นคัน หรือบิด ให้รสฝาดเย็น
        ใบ – นำไปปิ้งไฟสามารถปิดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือต้มอาบแก้ผื่นคัน ให้รสเย็นจืด
        ยาง – ช่วยในการห้ามเลือด และสมานแผล ให้รสฝาด
        ผลดิบ – สามารถนำไปหั่นบดเป็นผง หรือชงน้ำร้อนรับประทาน ช่วยแก้อาการท้องเสียเรื้อรังที่เป็นสาเหตุให้อาหารไม่ย่อย และช่วยรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหารได้ ให้รสฝาด
        ผลสุก – ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสหวาน
        หัวปลี – ช่วยแก้โรคโลหิตจาง ลดระดับน้ำตาลในเลือด และแก้กระเพาะอาหารในลำไส้ ให้รสฝาด
        น้ำคั้นจากหัวปลี – ช่วยบำรุงโลหิต แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ให้รสฝาดเย็น
        นอกจากความอร่อยและหาซื้อรับประทานได้ง่ายของกล้วยน้ำว้าแล้ว ยังมีความเชื่อว่าหากรับประทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนก่อนแปรงฟันจะช่วยลดกลิ่นปากได้ด้วย และยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารรับประทานกันได้มากมาย เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยกวน กล้วยทอด กล้วยปิ้ง ฯลฯ

คำสำคัญ : กล้วยน้ำว้า

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กล้วยน้ำว้า/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กล้วยน้ำว้า. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1458&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1458&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บอนส้ม

บอนส้ม

บอนส้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นตามที่ชื้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบบอนส้ม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ประมาณ 60 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,103

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,214

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,101

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,168

พุดตาน

พุดตาน

พุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,704

ย่านาง

ย่านาง

ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,622

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,557

ผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,319

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,542

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,094