ตับเต่านา

ตับเต่านา

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 3,908

[16.4258401, 99.2157273, ตับเต่านา]

ตับเต่านา ชื่อสามัญ Frogbit, Frog bit
ตับเต่านา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydrocharis dubia (Blume) Baker (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hydrocharis morsus-ranae L.) จัดอยู่ในวงศ์ HYDROCHARITACEAE
สมุนไพรตับเต่านา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักตับเต่า ผักตับเต่านา ตับเต่าน้ำ ผักเต่า ผักปอดม้า บัวฮาวาย เป็นต้น
ตับเต่า มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรกก็คือ ตับเต่านา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocharis dubia (Blume) Backer. (วงศ์ Hydrocharitaceae) ซึ่งเป็นชนิดที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ครับ ชนิดนี้สังเกตง่าย ๆ ก็คือดอกจะเป็นสีขาว ส่วนอีกชนิดคือ ตับเต่า หรือ ผักอีแปะ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimulus orbicularis Benth. (Scrophulariaceae) ชนิดนี้ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนครับ ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้เช่นเดียวกับตับเต่านา (ข้อมูลจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

ลักษณะของตับเต่านา
         ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร
         ใบตับเต่านา ใบจะโผล่อยู่เหนือน้ำหรือลอยบนผิวน้ำ ก้านใบยาว แต่ถ้าในฤดูแล้งที่มีน้ำน้อยก้านใบจะสั้นลง ส่วนลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปไข่กว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ แตกที่ข้อของลำต้นเป็นกลุ่มชูขึ้นเหนือน้ำ และมีรากเกิดเป็นกระจุกอยู่ทางด้านล่างของกลุ่มใบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างจะสีอ่อนกว่า และมักจะมีเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายกับฟองน้ำอยู่บริเวณกลางใบ ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยพยุงลำต้น
          ดอกตับเต่านา ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกดอกตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว โคนกลีบดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นแบบแยกเพศโดยมีกาบหุ้มช่อดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ส่วนกลีบดอกเป็น 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปกลม มีขนาดประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีอยู่ 9-12 อัน ส่วนรังไข่เป็นรูปยาวรี มีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
          ผลตับเต่านา ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสันอยู่ 6 สัน

สรรพคุณของตับเต่านา
1. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
2. ช่วยแก้เสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
3. ช่วยแก้ลม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
หมายเหตุ : สรรพคุณดังกล่าวข้างต้นนี้มีที่มาจากวิกิพีเดีย แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่ามีแหล่งอ้างอิงมาจากไหนและใช้ส่วนไหนเป็นยา

ประโยชน์ของตับเต่านา
1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อช่วยคลุมผิวน้ำ
2. ต้นอ่อนหรือยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

คำสำคัญ : ตับเต่านา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตับเต่านา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1627&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1627&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

นุ่น

นุ่น

ต้นนุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในแถบอันดามัน และมีปลูกมากในเขตร้อนทั่วไปเพื่อใช้ปุยจากผลนำมาทำหมอนและที่นอน ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,485

บัวหลวง

บัวหลวง

บัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง มีความแข็งเล็กน้อย หากตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูปกลม ๆ อยู่หลายรู โดยส่วนของไหลจะเป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดหรือวิธีการแยกไหล มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 13,242

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,387

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,393

ผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,677

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,729

มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน

ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,941

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,908

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,617

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,234