โมกหลวง

โมกหลวง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 3,269

[16.5055083, 99.509574, โมกหลวง]

ชื่อวิทยาศาสตร์  Holarrhena  antidysenterica  Wall.ex  A. Dc.
ชื่อวงศ์  APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ  มูกมันน้อย  มูกหลวง  มูกมันหลวง  โมกทุ่ง  โมกเขา  โมกหลวง  โมกใหญ่ ยางพุด  หนามเนื้อ

ลักษณะทั่วไป
         ต้น  เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร
         ใบ  เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด
         ดอก  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย
         ผล  มีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร
         นิเวศวิทยา  โมกหลวงเป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าแล้งทั่วไป
         ออกดอก  ฤดูแล้ง
         ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกลำต้นใช้ปรุงเป็นยาโรคบิด ทำให้เจริญอาหาร ใบใช้เป็นยาระงับปวดตามกล้ามเนื้อ  ดอกใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้บิด ท้องเดิน ถ่ายพยาธิในลำไส้เล็ก แก้โรคผิวหนัง ขับลม เป็นยาฝาดสมานเป็นต้น

ภาพโดย : https://www.thairath.co.th/media/mSQWlZdCq5b6ZLkvN19DtwmTU48rVuCK.jpg

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). โมกหลวง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=111&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=111&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,432

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,110

โคกกระสุน

โคกกระสุน

ต้นโคกกระสุน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 160 เซนติเมตร เป็นพืชจำพวกหญ้าที่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้นมา มีขนตามลำต้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทรายที่ค่อนข้างแห้ง มีการระบายน้ำดี เจริญงอกงามได้ดีในช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามทางรถไฟ ตามที่รกร้าง ตามสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,002

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,582

โหราบอน

โหราบอน

โหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,412

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,633

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,147

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,137

ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน

ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุกลำต้นอวบน้ำ สีเขียวอมม่วง แตกกิ่งก้านโปร่งแผ่ราบไปตามพื้นดิน ตามลำต้นมีขนละเอียด  ใบเป็นใบเดียวออกจากลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ รูปร่างใบค่อนข้างกลม รูปไข่กลับปลายใบมนหรือหยักเว้าอีกใบหนึ่ง    ก้านใบยาว โคนก้าน ใบแผ่ออกเป็นกาบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก ดอกมีสีขาว อมชมพูมี กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบ ปลายกลีบดอกโค้งมนออกดอกตลอดปี ผลมีลักษณะเป็นฝักติดอยู่ตามซอกใบ ส่วนล่างของผักจะฝังจม อยู่ในง่ามใบภายในฝักมีเมล็ดสีดำรูปไตขนาดเล็กอยู่ภายใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,000

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,882