ผักขวง

ผักขวง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้ชม 3,862

[16.4258401, 99.2157273, ผักขวง]

ผักขวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Glinus oppositifolius (L.) Aug.DC. จัดอยู่ในวงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)
สมุนไพรผักขวง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), สะเดาดิน ผักขวง (ภาคกลาง), ขี้ก๋วง, ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "ขวง" เป็นต้น

ลักษณะของผักขวง
        ต้นผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป
        ใบผักขวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น 
        ดอกผักขวง ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
        ผลผักขวง ลักษณะของผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย 

สรรพคุณของผักขวง
1. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ (ทั้งต้น)
2. ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก (ทั้งต้น)
3. ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง (ทั้งต้น)
4. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ (ทั้งต้น)
5. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู (ทั้งต้น)
7. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
8. ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ (ทั้งต้น)
10. ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ (ทั้งต้น)
11. ผักขวงจัดอยู่ในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้เพื่อดี (ไข้ที่เกิดจากดีพิการ มีอาการปวดศีรษะ ไข้สูง) อันประกอบไปด้วยตัวยา 7 สิ่ง ได้แก่ ผักขวง, เครือเขาด้วย, รากขี้กา,
      รากขัดมอน, ต้นผีเสื้อ, หญ้าเกล็ดหอย และน้ำผึ้ง
12. ในพระคัมภีร์โรคนิทาน มีตำรับยาที่เข้าด้วยผักขวง 1 ตำรับ คือ ยาสุมกระหม่อมในช่วงฤดูฝน (แก้อาการปวดศีรษะและจมูกตึง) ระบุให้ใช้ผักขวง, ใบหญ้าน้ำดับไฟ, ใบหางนกยูง, ฆ้อง
      สามย่าน, เทียนดำ, ไพล, หัวหอม, ดอกพิกุล และดินประสิวขาว นำมาบดสุมกระหม่อมแก้ปวดศีรษะและจมูกตึง
13. ส่วนในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการปฏิสนธิของทารกในครรภ์ การคลอด และโรคเด็กต่างๆ ก็มีกล่าวถึงตำรับยาที่เข้าด้วยใบผักขวงและรากผักขวงอีก 7 ตำรับด้วยกัน
      อันได้แก่
         - ยาแก้เตโชธาตุพิการ(เป็นอาการของธาตุไฟทั้ง 4 พิการ คือ ปรินามัคคี (ร้อนอกร้อนใจ ไอ ท้องขึ้น บวมตามมือตามเท้า เกิดมองคร่อ), ปริทัยมัคคี (มือเท้าเย็น ร้อนใน เย็นนอก ชีพจรเต้นผิดจังหวะ), ชรัคคี (หนักหัว ตาฟาง หูตึง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ชาตามเนื้อตามตัว), สันตัปปัคคี (เย็นในอก กินอาหารไม่ได้ อาหารจุกในท้อง เกิดลม 6 จำพวก พัดปั่นป่วนภายใน หายใจขัด หรือถึงกับเป็นลมสลบไป)) ท่านให้เอารากผักขวง, รากช้าพลู, รากเจตมูลเพลิง, รากมะแว้งทั้งสอง, ก้านสะเดา และบอระเพ็ด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มเคี่ยว 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้กินเป็นยา ถ้าไม่หายให้เพิ่มยาเข้าไปอีก 8 สิ่ง ได้แก่ โกฐเขมา, ไคร้ต้น, ผักแพวแดง, ผลมะขามป้อม, ว่านเปราะ, รากสวาด, หญ้ารังกา และอบเชยเทศ อย่างละเท่ากัน นำมาบรรจบเข้ากับยาเดิมเป็นขนานเดียวกัน แล้วนำมาต้มเคี่ยว 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้เป็นยาแก้ธาตุไฟพิการ
        - ยาแก้มูกเลือดตานโจร(ตานขโมยหรือตานซาง เป็นอาการของเด็กอายุ 5-13 ขวบ ที่เกิดจากพยาธิต่าง ๆ ทำให้เด็กมีอาการซูบซีด ผอมแห้งแรงน้อย พุงโรก้นปอด หัวโต นอนผวา ตกใจง่าย ขี้อ้อน) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบเทียน, ใบทับทิม และขมิ้นอ้อย อย่างละเท่ากัน นำมาบดทำเป็นแท่งละลายกับน้ำเปลือกแคต้มดื่ม
        - ยาแดงแก้ลงท้องท่านให้เอาใบผักขวง, ใบระงับ, กรักขี, จันทน์ทั้งสอง, ผลจันทน์, ดอกจันทน์, ผลเบญกานี, เนระพูสี, สน, สัก, สังกรณี, ว่านกีบแรด, ว่านร่อนทอง, ฤาษีประสมแล้ว และสีเสียดทั้งสอง อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ใช้เหล้าเป็นกระสายทำแท่ง ใช้กินกับน้ำเปลือกแคแดง แก้อาการลงท้อง
        - ยาแก้ทรางสกอเจ้าเรือนและทรางกระตัง(เป็นทรางจร) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบการ่อน, ใบชุมเห็ดเทศ, ใบฝ้ายเทศ, ใบเพกา, ใบฟักข้าว, ใบน้ำเต้า, ใบมะระ, ใบระงับพิษ และขมิ้นอ้อย อย่างละเท่ากัน นำมาบดปั้นเป็นแท่งไว้ละลายน้ำซาวข้าว ใช้เป็นยาชโลมแก้พิษต่าง ๆ ที่เกิดทรางสกอและทรางกระตัง (ทรางสะกอ เป็นซางประจำวันพุธ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาแล้วเป็นต่อเนื่องจนอายุได้ขวบเศษ มีอาการที่เกิดต่อเนื่องสลับซับซ้อน ส่วนทรางกระตัง เป็นซางที่เกิดขึ้นหลังคลอด เกิดเขม่าเมื่อมีอายุได้ 1 เดือน จากนั้นแม่ซาง 3 ยอด จึงจะทยอยขึ้นพร้อมบริวาร และมีอาการอย่างอื่นทั้งข้างในและข้างนอกเรื่อยมาจนถึงอายุ 11 เดือน ซึ่งจะเกิดอาการตกมูกเลือด ลงท้อง)
        - ยาประจำท้องกุมารอายุ 2 เดือน(นับแต่วันคลอด) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบสะเดา, ใบขอบชะนางแดง, ใบคนทีสอ, และบอระเพ็ด นำมาบดละลายกับน้ำร้อนกินเป็นยาประจำท้องกันสำรอกใน 2 เดือน (แต่อายุของทารกเพิ่มขึ้น ตัวยาจะเปลี่ยนไปด้วย)
        - ยาจันทรรัศมีเป็นตำรับยาที่นำมาบดทำแท่งกินตามกำลังของทารก เพื่อแก้หืด แก้ปวง แก้คลั่ง แก้ลมบ้าหมู แก้ตัวพยาธิ แก้อาการฟกบวม และแก้ตามเสมหะ ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบขี้กาแดง, ใบผักบุ้งขัน, ใบพุทรา, ใบมะกรูด, ใบมะนาว, ใบมะงั่ว, ใบมะยมตัวผู้, ใบประคำไก่, ใบส้มซ่า, กุ่มทั้งสอง, กระชาย, กระทือ, กระเทียม, ข่า, ขมิ้นอ้อย, ตรีกะฏุก, จันทน์ทั้งสอง, ไพล, หอมแดง, เมล็ดพรรณผักกาด, ว่านกีบแรด, และว่านร่อนทอง อย่างละเท่ากัน และเอาพริกไทยเท่าทั้งหลาย นำยาทั้งหมดมาบดให้เป็นจุณแล้วทำเป็นแท่งไว้ให้กุมารกินกับน้ำกระสายต่าง ๆ ตามแต่โรคที่รักษา กล่าวคือ ละลายน้ำส้มซ่า (แก้สันนิบาต), ละลายน้ำขิง (แก้ป่วง), ละลายน้ำดอกไม้ (แก้คลั่ง), ให้แซกดีงูเหลือม (แก้ตานเสมหะและแก้ตัวพยาธิ), ละลายน้ำเหล้า (เป็นยาทาแก้อาการฟกบวม)
        - ยาน้ำดับไฟซึ่งเป็นตำรับยาชโลมดับพิษทางผิวกาย ท่านให้เอาผักขวง, ใบโคกกะออม, ใบน้ำเต้า, ใบสะเดา, ใบตำลึงตัวผู้, ใบสมี, ใบมะลิ, ใบมะม่วงกะล่อน และขมิ้นอ้อย นำมาบดทำเป็นแท่งไว้ละลายน้ำมะลิสด ใช้เป็นยาชโลมดับพิษได้ดีนัก

ประโยชน์ของผักขวง
1. ผักขวงเป็นผักที่มีรสขมคล้ายสะเดา บางแห่งจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า "สะเดาดิน" โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับ
    น้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่น ๆ แกงแค แกงเมือง หรือแกงกับปลาทูนึ่งรับประทาน
2. คุณค่าทางโภชนาการของผักขวง 100 กรัม จะประกอบไปด้วยพลังงาน 30 กิโลแคลอรี, น้ำ 3%, โปรตีน 3.2 กรัม, ไขมัน 0.4 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 3.4 กรัม, ใยอาหาร 1.1 กรัม, เถ้า 1.7
    กรัม, แคลเซียม 94 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.45 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2.7 มิลลิกรัม, วิตามินซี 19 มิลลิกรัม

คำสำคัญ : ผักขวง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักขวง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,351

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ลักษณะต้นขี้เหล็กเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบอ่อนประมาณื20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ คล้ายใบทรงบาดาล หรือใบของชุมเห็ดไทย จะออกเป็นช่อสีเหลืองดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองสวย ผลมีลักษณะแบนอวบและยาวประมาณ 15 ซ.ม. คล้ายกับฝักแค นิเวศวิทยา  เป็นพรรณไม้พบอยู่ทั่วไปของประเทศไทย นิยมปลูกเป็นไม้ร่มตามริมถนน ออกดอกตลอดปี 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,789

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,580

ขิง

ขิง

ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อในจะเป็นสีนวลๆ มีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของขิง ขึ้นโดยการแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาบนดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อสีเหลืองอมเขียว แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ส่วนผลจะมีลักษณะกลมและแห้ง ข้างในมีเมล็ดมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,312

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-1 เมตร มีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วไปตามลำต้นและตามกิ่งก้านที่โคน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และมาดากัสการ์ ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นตามพื้นที่เป็นหิน เขาหินปูน หรือพื้นที่ปนทรายที่แห้งแล้ง ตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 2,129

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,837

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,929

เห็ด

เห็ด

หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 14,148

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,132

จอก

จอก

ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,164