กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้ชม 5,167

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย]

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ : เจ้าเมืองสุโขทัยเชื้อสายบ้านโคนเมืองกำแพงเพชร
           ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 
           ข้อความในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ในหนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 หน้า 17 ได้กล่าวถึงราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ว่า มีมเหสีชื่อนางเสือง โอรสองค์โตเสียชีวติเมื่อยังเล็ก โอรสองค์ที่ 2 พ่อขุนบานเมือง โอรสองค์ที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง หรือรามราช องค์ที่ 4 และ 5  เป็นราชธิดา 
            จากจารึกหลกัที่ 2 และ 1 นั้นไม่ได้กล่าวถึงเชื้อชาติตระกูล หรือถิ่นฐานของพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์ ว่ามาจากที่ใด ตามหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์ของการขึ้นครองราชและสิ้นรัชกาลนั้น พอจะสรุปได้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1780-1792 และสิ้นรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 1821หรือ พ.ศ. 1822 (เพราะพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 1821 หรือ 1822) 

พระร่วงผู้ครอบครองเมืองสุโขทัยมาจากไหนบ้าง
          ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  กล่าวถึงพระร่วงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุโขทัย มีถึง 3 ราชวงศ์ ได้แก่
          1. พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน)
          2. พระร่วงจากเมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี)
          3. พระร่วงจาก เมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร) 

พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย จังหวัดลำพูน
          จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงอรุณราชกุมารเมืองสวรรคโลก ในหนังสือประชุม พงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 88-92 มีข้อความที่สรุปได้ว่า พระยาอภัยคามินีราช เมืองหริภุญไชย (ลำพนู) ได้ออกไปจำศีลอยู่ในเขาใหญ่ ได้เสพเมถุน (สังวาส) กับนางนาค (สาวชาวบ้าน) จนเกิดราชบุตรองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “อรุณราชกุมาร” เมื่อโตขึ้นพระยาอภัยคามินีราชให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย มีพระนามว่า “พระยาร่วง” 
          พระยาร่วง ได้เสด็จไปเมืองจีน มีความชอบทางพนัน ชอบเล่นว่าว มีวาจาสิทธิ์ พระร่วงได้ สิ้นพระชนม์ เมื่อคราวที่ทรงเล่นน้ำที่กลางแก่งหลวง แล้วจมหายไป ไม่สามารถจะตามหาพระศพได้  เมื่อปี พุทธศกัราช 1200 จุลศกัราช 152 ปีชวด สัปตศก 

พระร่วงจากเมืองละโว้  จังหวัดลพบุรี
          จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงเมืองสุโขทัย ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 99-102 มีข้อความที่กล่าวไว้ว่า นายคงเครา ซึ่งเป็นนายส่วยน้ำดูแลสระน้ำ ทะเลชุบศรที่เมืองละโว้ เป็นน้ำที่ชาวกัมพูชานำไปเสวยทุก ๆ 3 ปีจะมาขน 1 ครั้ง นายคงเครามีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ นายร่วง เป็นคนที่มีวาจาสิทธิ์ หลังจากนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว ไพร่ทั้งหลายก็ยกนายร่วงเป็นนายกองบังคับไพร่ดูแลสระน้ำทะเลชุบศรต่อไป
          ครั้นเมื่อครบกำหนดมาขนน้ำ นักคุ้มของกัมพูชาควบคุมไพร่มาขนน้ำที่เมืองละโว้ นำเกวียนมา 50 เล่ม แต่ละเล่มใส่ลุ้งน้ำ (ภาชนะใส่น้ำรูปทรงกระบอกเตี้ยๆ) เล่มละ 25 ใบ เมื่อถึงเมืองละโว้ ได้เรียกหา นายคงเคราให้เปิดประตูเพื่อตักน้ำ พบแต่นายร่วงซึ่งไพร่ได้อธิบายว่านายร่วงบุตรของนายคงเคราเป็นผู้ควบคุมดูแลแทน นายร่วงได้บอกนักคุ้มว่าน้ำที่นำมาขนน้ำนั้นจะเสียเวลา ขนน้ำไปได้น้อย   ครั้งนี้ให้สานเป็นชะลอมใส่น้ำไปดีกว่า จะได้น้ำทีละมาก ๆ ใช้ได้นาน ไม่ต้องมาขนบ่อย นักคุ้มจึงถามว่าชะลอมตาห่าง จะใส่น้ำได้หรือ นายร่วงกล่าวว่ากลัวจะไม่มีน้ำมาใส่ชะลอมเสียมากกว่า ด้วยความกลัวนักคุ้มจึงเกณฑ์ ไพร่สานชะลอมเล่มละ 25 ใบ ครั้นกำหนดจะเดินทางกลับ จึงเปิดประตูเอาชะลอมจุ่มน้ำแล้วยกขึ้นใส่เกวียน เดินทางไปกัมพูชา มาถึงด่านแห่งหนึ่งคนคุมน้ำมาสงสัยในใจอยู่ว่าชะลอมจะขังน้ำได้หรือ ก็เกิดบันดาลให้มีน้ำไหลล้นออกมาจากชะลอมทุกคนต่างก็เห็นว่ามีน้ำ จึงกล่าวสรรเสริญถึงความสักสิทธิ์ของนายร่วง ในขณะที่กองเกวียนผ่านไปนั้น ผู้คนก็เล่าลือกันว่าชะลอมที่บรรทุกมานั้นมีแต่ชะลอมเปล่า ไม่มีน้ำ เมือถึงกัมพูชา กษัตริย์กัมพูชาเรียกนักคุ้มผู้คุมเกวียนไปสอบถาม นักคุ้มได้ทูลเรื่องราวทุกประการ บรรดานายนายทัพนายกองได้ยกชะลอมที่บรรทุกมานั้นเทลงไปในหม้อน้ำ ก็เกิดมีน้ำเต็มหม้อน้ำและล้นออกมา 
            กษัตริย์กัมพูชาทรงตกพระทัยเห็นว่านายร่วงเป็นผู้ที่มีบุญมาเกิด จึงคิดจับตัวมาฆ่าเสีย นายทัพนายกองจึงเกณฑ์ทหารไปตามจับนายร่วงรู้ข่าวก็หนีไปทางเมืองพิจิตร ไปถึงสุโขทัยอาศัยวัดอยู่และได้อุปสมบทเป็นภิกษุ จึงได้เรียกว่า “พระร่วง” ทหารขอมที่รับอาสามาจับนายร่วงมาถึงเมืองละโว้ ได้ถามหานายร่วง ชาวบ้านบอกว่าขึ้นไปเมืองเหนือ ทหารได้แยกกันไป ไปถึงเมืองสวรรคโลก  ชาวบ้านบอกว่าเขาเล่าลือกันว่าไปอยู่เมืองสุโขทัยบวชเป็นภิกษุอยู่ ครั้นเมื่อตามไปถึงสุโขทัยเห็นพระร่วงกำลังกวาดวัด ทหารขอมจึงถามว่าพระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงบอกให้คอยอยู่เดี๋ยวจะไปบอก ขอมก็คอยอยู่จนกลายเป็นหินจนถึงวันนี้
            เมื่อปีพุทธศกัราช 1502 กษัตริย์สุโขทัยสิ้นพระชนม์ ไม่มีวงศานุวงศ์ เสนาบดีได้ประชุมเพื่อหาบุคคลมาเป็นเจ้าเมือง ก็เห็นแต่พระร่วงบวชอยู่ที่วัดเหมาะที่จะเป็นเจ้าเมืองได้ ก็พร้อมใจกันไปที่วัดเชิญพระร่วงลาผนวช รับพระร่วงเข้ามาครองเมืองสุโขทัย

 พระร่วงจากเมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)
             จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 177-188 ได้กล่าวถึงพระร่วง องค์หนึ่ง ซึ่งภายหลังได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเจ้าเมืองสุโขทัย โดยมี อัยกา (ปู่) และชนก (พ่อ) เป็นเจ้าเมือง กำแพงเพชร โดยจะขอนำเรื่องราวโดยย่อมาเสนอดังนี้
             เมื่อจุลศกัราช 536 (พศ. 1717) พระเจ้าสุริยราชาเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยราชา ได้มาครอบครองเมืองกำแพงเพชร โดยมีพระโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้าจันทรกุมาร อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าจันทรกุมารเสด็จประพาสป่าพร้อมด้วยทหารจำนวนมาก พบหญิงสาวนางหนึ่งมีรูปโฉมงดงาม พระองค์มีความเสน่หา รักใคร่และได้นางนั้น จนเกิดโอรสมีพระนามว่า พระร่วง พระเจ้าจันทกุมาร ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรต่อจากพระเจ้าสุริยราชา เมื่อจุลศกัราช 570  (พ.ศ.1751) ทรงพระนามว่าพระเจ้าจันทราชา ในเวลาต่อมาทรงทิ้งเมืองกำแพงเพชรไปครองเมืองสุโขทัย พระเจ้าจันทราชาขึ้นครองราชย์ได้ 30 ปี ก็สิ้นพระชนม์ พระร่วงได้ขึ้นครองราชเป็นเจ้าเมือง สุโขทัยต่อมา เมื่อ พ.ศ. 1781
             ในปลายรัชกาลนั้น มีชาวมอญชื่อมะกะโท เขา้มาคา้ขายในเมืองสุโขทัย แล้วเลิกเข้าไปฝากตัวอยู่กับนายช้างพระที่นั่งโรงใน ช่วยดูแลรักษาเก็บกวาดมูลช้างทำให้โรงช้างสะอาดอยู่เสมอ นายช้างให้ความเมตตารักใคร่ นายมะกะโท ทำความดีเรื่อยมาจนเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้า จนได้เลื่อนให้มะกะโท ขึ้นเป็นขุนวัง ตำแหน่งกรมวัง มะกะโทมีความรักใคร่พระนางสุพรรณเทวี พระราชธิดาของพระร่วงเจ้า จึงตัดสินใจพาพระราชธิดานั้นหนีออกจากสุโขทัยไปอยู่ที่บ้านตะเกาะวุนซึ่งเป็นบ้านเดิมของตน ในเวลาต่อมาด้วยอำนาจวาสนาของมะกะโท ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเมาะตะมะ ทรงพระ นามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว
             พระร่วงได้ครองราชยสมบัติเป็นเป็นสุขมาช้านาน เมื่อแรกขึ้นครองราชยส์มบัติมีพระชนม์ ได้ 35 พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ 35 พรรษา รวมพระชนมาย ุ75 พรรษาก็เสด็จสวรรคต
             พระร่วงจากกำแพงเพชร คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
             เจ้าเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” จากศิลาจารึก และ “พระร่วง”  จากประชุมพงศาวดาร ย่อมเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้
             1. พระร่วงได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 1781-1821 ซึ่งตรงกับศักราชที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ตามที่นักประวัติศาสตร์ตรวจสอบไว ้
             2. พงศาวดารพม่าได้บันทึกว่า มะกะโท เข้ามารับราชการที่กรุงสุโขทัยกับพระร่วง เมื่อ พ.ศ. 1815 ซี่งเป็นช่วงที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยังครองเมืองสุโขทัยอยู่
             3. จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ในหนา้ 112-113 มีข้อความตอนหนึ่งเชื่อว่าพ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ ประสูติที่บ้านโคน กำแพงเพชร ดังข้อความต่อไปนี้
             “ ได้ยินว่าที่ตำบลที่บ้านโคน ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนาง เทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น จึงเกิดบุตรชายหนึ่งและบุตรชายคนนั้น มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าร่วง”
             ผู้แปลหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายว่า บ้านโค อาจเป็น บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร   

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1292&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1292&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,942

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน    อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,433

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,650

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,817

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,555

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 5,103

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,427

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,270

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 8,756

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,787