เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้ชม 2,050

[16.378346, 99.5340804, เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย]

          เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ ทำนา จนหมดสิ้น แต่ยังมีคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ว่า เคยมีร่องรอยของถนนโบราณที่ตัดมาจากเมืองกำแพงเพชรถึงเมืองคณฑี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งของเมืองคณฑีในสมัยโบราณ
          แม้จะไม่มีร่องรอยของคูน้ำและคันดินในเขตตำบลคณฑีเป็นหลักฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองคณฑีอย่างแท้จริง แต่ก็พบว่ายังมีซากโบราณอีกหลายแห่งในท้องถิ่นนี้ มีการพบซากโบราณสถานทั้งแบบกำแพงเพชรและสุโขทัย เช่น ที่วัดกาทิ้งยังมีฐานวิหารเหลืออยู่ และที่วัดปราสาทซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในปัจจุบันยังมีซากเจดีย์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และจากการสำรวจของนักประวัติศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ใต้จากบริเวณบ้านโคนลงไปยังไม่ปรากฏพบร่องรอยของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยจนถึงเมืองพระบางที่นครสวรรค์ หลักฐานและข้อมูลเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นเด่นชัดว่าบริเวณดังกล่าวในเขตตำบลคณฑีเป็นเขตของเมืองโบราณคณฑีทั้งสิ้น
          เมืองคณฑี คงเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในแว่นแคว้นสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยาคงได้รับภัยสงครามหรือเกิดการร้างเมือง ทำให้เมืองใหญ่ลดฐานะลงมาเป็นชุมชน
          หลักฐานสำคัญที่กล่าวมาถึงเมืองคณฑี คือศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเมืองคณฑี คือศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) และจารึกหลักที่ 3 (นครชุม) ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญและแสดงให้เห็นว่าเมืองคณฑีมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และมาเจริญรุ่งเรืองในสมัยกรุงสุโขทัย
          ศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) พ.ศ. 1835 ด้านที่ 4 กล่าวถึงอาณาเขตของบ้านเมืองในสสมัยสุโขทัย บ้านเมืองอยู่รวมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรือง ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มีป่าหมากป่าพลูอยู่ทั่วทุกหนแห่ง มีอาณาเขตกว้างขวาง โดยเฉพาะในบรรทัดที่ 19-20 กล่าวถึงอาณาเขตทางทิศใต้ไว้ว่า “เบื้องหัวนอนรอดคณฑีพระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทเป็นที่แล้ว” ขยายความจากจารึกนี้ได้ความว่า อาณาเขตทางด้านทิศใต้ของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น กินอาณาเขตตั้งแต่เมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (สวรรค์บุรี) สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ลงไปถึงนครศรีธรรมราช ตลอดจนแหลมมาลายู
          ศิลาจารึกหลักที่ 3 (นครชุม) พ.ศ. 1900 เป็นศิลาจารึกที่พระยาลิไทเสด็จมาประดิษฐานพระธาตุและปลูกพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม เมื่อ พ.ศ. 1900 พร้อมทั้งจัดทำศิลาจารึก มีข้อความสรุปได้ดังนี้
         1. พระยาลิไท ได้ขึ้นเสวยราชย์ครองกรุงสุโขทัย โดยการสนับสนุนของบรรดาเจ้าเมืองและมิตรสหายต่าง ๆ
         2. ได้นำพระมหาธาตุและต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จากลังกาเทวีมาประดิษฐานไว้ที่เมืองนครชุม
         3. การนับอายุเฉลี่ยของผู้คนจะลดถอยไปอีก 1 ปี จาก 100 ปี เหลือ 99 ปี
         4. ความศรัทธาในพุทธศาสนาจะลดน้อยถอยลงไป ศีลจะเหลือน้อย การแต่งกายของพระสงฆ์จะเหลือเพียงผ้าเหลืองที่เหน็บหูไว้เท่านั้น โลกจะถูกกาลล่มสลาย บรรดาพระธาตุจะมารวมกันที่พระบรมธาตุนครชุม แล้วไฟบรรลัยกัลป์ก็จะเผาไหม้พระบรมธาตุและล้างโลกให้สิ้นสุดไปพร้อม ๆ กัน
         5. ได้เล่าย้อนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง ว่ามีอาณาเขตกว้างขวาง เมื่อสิ้นยุคของพ่อขุนรามคำแหงแล้ว บ้านเมืองในแว่นแคว้นได้แตกเป็นเมืองต่าง ๆ ตั้งตัวเป็นอิสระ ซึ่งในบรรดาของเมืองที่ตั้งตัวเป็นอิสระนั้นมีเมืองคณฑีรวมอยู่ด้วย
          จารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 19 จารึกไว้ว่า “เมืองคณฑี พระบางหาเป็นขุนหนึ่ง เมืองเชียงของหาเป็นขุนหนึ่ง... เป็นขุนหนึ่ง เมืองบางพานหาเป็นขุนหนึ่ง เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง ต่างทำเนื้อทำตนเขาอยู่”
          ความหมายจากจารึกหลักนี้ ได้ความว่า “เมื่อสิ้นสมัยของพ่อขุนรรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยได้แตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ บรรดาหัวเมือง ได้แก่ เมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) เชียงทอง (ตาก) เมืองบางพาน (กำแพงเพชร) และเมืองบางฉลัง (สุโขทัย) เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ต่างตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ยอมขึ้นแก่กรุงสุโขทัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยพระยาลิไทเมืองคณฑีคงมีเจ้าเมืองที่มีความเข้มแข็งขึ้นปกครองบ้านเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองจนกล้าที่จะตั้งตนเป็นอิสระจากการปกครองของกรุงสุโขทัยได้ จนเป็นเหตุให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องมาปราบปราม
          หลักฐานจากศิลาจารึกทั้ง 2 หลักดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าเมืองคณฑีเป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เคยรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจนแยกตนเป็นเมืองอิสระในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ก่อนที่จะเข้ามาสวามิภักดิ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อสิ้นยุคของพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว เมืองคณฑีก็เสื่อมความสำคัญลง จากเมืองกลายเป็นชุมชนใหญ่ริมแม่น้ำปิง

คำสำคัญ : คณฑี

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1374&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1374&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,634

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,045

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,568

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,229

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,414

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,113

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,861

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,445

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,730

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,083