เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,663

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี]

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1326&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1326&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,213

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,159

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,791

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 5,014

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,351

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,926

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 3,104

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,107

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,708

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 4,125