กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้ชม 2,140

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี]

             พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง พบว่า เมืองพิษณุโลกมีพลเมือง 15,000 คน เมืองสวรรคโลก มี 7,000 คน เมืองพิชัย รวมทั้งเมือง สวรรคบุรี มี 90,000 คน เมืองสุโขทัย มี 5,000 คน เมืองกำแพงเพชรและเมืองนครสวรรค์ มีเมืองละ 3,000 คนเศษ จากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการ ซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้น คือ พระยายมรามให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก พระยาพิชัยราชา ให้เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก พระยาสีหราชเดโชชัย ให้เป็นประยาพิชัย พระยาท้ายน้ำ ให้เป็นพระยาสุโขทัย พระยาสุรบดินทร์ เมืองชัยนาท ให้เป็นพระยากำแพงเพชร พระยาอรุรักภูธร ให้เป็นพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั่นอ่อนแอในสงคราม มีรังสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราช และให้บัญชาการมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย เมื่อจัดการหัวเมืองเหนือเสร็จแล้ว จึงเสด็จกลับกรุงธนบุรี 

ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2           
             พระเจ้ามังระทราบว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ เกรงว่าไทยจะแข็งแกร่งขึ้น จึงคิดมาตีเมืองไทยให้ราบคาบอีกครั้งหนี่ง โดยยกกำลังลงมาจากเชียงใหม่ทางหนึ่ง อีกทางหนึ่งยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ กำลังทั้งสองส่วนนี้จะยกมาบรรจบกันที่กรุงธนบุรี ดังนั้นจึงส่งกำลังเพิ่มเติมเข้ามาให้โปสุพลา แล้วให้โปสุพลาเป็นแม่ทัพยกลงมาจากเชียงใหม่ ส่วนกำลังที่จะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์นั้น พระเจ้าอังวะให้ปะกันหวุ่น ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ได้เป็นแม่ทัพ ประกันหวุ่นได้เตรียมการตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โดยให้เกณฑ์มอญตามหัวเมืองที่ต่อแดนไทย 3,000 คน มอบภารกิจให้แพกิจาคุมกำลัง 500 คน มาทำทางที่จะยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ วางแผนตั้งยุ้งฉางไว้ตามเส้นทาง ตั้งแต่เชิงเขาบรรทัดด้านแดนพม่า มาถึงตำบลสามสบ ท่าดินแดงในแดนไทย         
             ครั้นนั้นมีพระยามอญเป็นหัวหน้า 4 คน คือ พระยาเจ่ง เจ้าเมืองเตริน เป็นหัวหน้ามาทำทางอยู่ในป่าเมืองเมาะตะมะ พม่าได้ทำทารุณกรรมพวกมอญด้วยประการต่าง ๆ พวกมอญโกรธแค้นจึงคบคิดกันกับแพกิจากับทหารพม่าฆ่าเสีย แล้วรวมกำลังกันยกกลับไป มีพวกมอญมาเข้าด้วยเป็นอันมาก เมื่อเห็นเป็นโอกาสจึงยกไปตีเมืองเมาะตะมะได้ แล้วขยายผลยกขึ้นไปตีเมืองสะโตง และเมืองหงสาวดีได้ทั้งสองเมือง แล้วขยายผลต่อไปโดยเข้าตีเมืองย่างกุ้ง รบพุ่งติดพันกับพม่าอยู่ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ทรงเห็นว่าพม่าจะต้องปราบปรามมอญอยู่นาน เป็นโอกาสที่ไทยจะชิงตีเมืองเชียงใหม่ตัดกำลังพม่าเสียทางหนึ่งก่อน จึงมีรับสั่งให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองฝ่ายเหนือมีจำนวน 20,000 คน ไปรวมพลรออยู่ที่บ้านระแหงแขวงเมืองตาก แล้วให้เกณฑ์คนในกรุงธนบุรี และหัวเมืองชั้นในเป็นกองทัพหลวง มีจำนวน 15,000 คน พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนเรือออกจากพระนคร เมื่อวนอังคาร แรม 11 คำ เดือน 12 ปีมะเมีย พ.ศ.2317 ขึ้นไปทางเมืองกำแพงเพชร แล้วให้ประชุมทัพที่บ้านระแหง ตรงที่ตั้งเมืองตากปัจจุบัน พ.ศ.2318 ทัพพม่ายกมาตีเมืองกำแพงเพชรทางเมืองกำแพงเพชรเห็นเหลือกำลังจึงพากันหนีเข้าป่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพมาช่วยขับไล่พม่าแต่พ่ายกลับไป เหตุการณ์ช่วยนี้มีความน่าสนใจตามความเชื่อของชาวบ้านที่กำแพงเพชรเกี่ยวกับที่หลบภัยของกษัตริย์หรืออุโมงค์ 32 ปล่องและสระมรกต เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากทรงกู้เอกราชได้ แต่ยังต้องทำศึกสงครามกับพม่า ซึ่งในตอนหนึ่งประมาณ พ.ศ.2318 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองกำแพงเพชรนับหมื่นคน พระยาสุรบดินทร์เจ้าเมืองกำแพงเพชร เห็นเหลือกำลังจะสู้รบจึงเทครัวหนีเข้าป่าแล้วไปแจ้งข่าวยังสมเด็จพระเจ้าตาก พระองค์ท่านทรงให้ยกทัพหลวงมาปราบพม่าที่ตั้งอยู่ในเมืองกำแพงเพชร เมื่อพิจารณาถึงสถานที่หลบภัยของเจ้าเมืองกำแพงเพชรแล้ว อาจเป็นอุโมงค์ 32 ปล่องก็เป็นไป เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปเกือบสิบกิโลเมตร ซึ่งในสมัยโบราณเป็นป่าทึบจึงใช้หลบภัยได้ง่าย

เหตุการณ์สำคัญในสมัยธนบุรี คือศึกอะแซหวุ่นกี้         
            อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ
         
            ในปีมะเมีย พ.ศ.2317 อะแซหวุ่นกี้ปราบปรามพวกมอญเสร็จสิ้นแล้ว เป็นแต่ยังรอกองทัพพม่าที่เข้ามาตามครัวมอญอยู่เมืองเมาะตะมะ จึงได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าอังวะที่เมืองร่างกุ้ง และได้รับมอบหมายให้นายทัพมาตีเมืองไทย อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าไทยทำศึกเข้มแข็งกว่าเก่า จึงคิดจะใช้แบบอย่างครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง คือยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีหัวเมืองเหนือ ตัดกำลังไทยเสียชั้นหนึ่งก่อน  แล้วเอาเมืองเหนือเป็นที่มั่น ยกกำลังทั้งทางบกและทางเรือ ลงมาตีกรุงธนบุรีทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา จึงพักบำรุงรี้พลอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ แล้วมีคำสั่งไปยังโปสุพลา โปมะยุง่วน ซึ่งถอยหนีไทยไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน ให้ยกกลับมาตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ตั้งแต่ในฤดูฝน แล้วให้เตรียมเรือรบ เรือลำเลียง และรวบรวมเสบียงอาหารลงมาส่งกองทัพอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งจะยกเข้ามาในต้นฤดูแล้ง โปสุพลา โปมะยุง่วน จึงรวบรวมกำลังยกลงมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือน 10 ปีมะแม พ.ศ.2318 ทางฝ่ายพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงดำรัสให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ให้ยกกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่ ให้เจ้าพระยาจักรีคุมกองทัพกรุงธนบุรีหนุนขึ้นไป มอบภารกิจให้ตีพม่าถอยจากเชียงใหม่แล้วให้เลยตามขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงแสนไม่ให้พม่ามาอาศัยอีกต่อไป ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ตั้งทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพใหญ่เข้ามาทางด้านแม่ละเมา ก็รีบยกทัพกลับมาทางเมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย ครั้นมาถึงเมืองพิษณุโลกจึงปรึกษากันถึงการสู้ศึก เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าพม่ายกมาเป็นกองทัพใหญ่ กำลังฝ่ายไทยทางเหนือมีน้อยกว่าทางพม่าอยู่มาก จึงควรตั้งรับศึกในเมืองพิษณุโลก คอยกองทัพกรุงธนุบรียกขึ้นไปช่วย
             ฝ่ายกรุงธนบุรี ได้ข่าวว่าอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาทางหัวเมืองเหนือ และขณะเดียวกันก็จะยกมาจากเมืองตะนาวศรี เข้ามาทางใต้อีกด้วย จึงมีดำรัสสั่งให้เกณฑ์กองทัพให้เจ้ารามลักษณ์หลานเธอ ซึ่งเป็นกรมขุนอนุรักษ์สงคราม คุมกำลังออกไปรักษาเมืองเพชรบุรี คอยป้องกันพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านสิงขร แล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกทัพหลวงมีกำลังพล 12,000 เศษ ออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม ขึ้นไปรักศึกที่ยกมาทางหัวเมืองเหนอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จขึ้นไปถึงเมืองนครสวรรค์ ในชั้นต้นทรงจัดวางระบบการคมนาคมที่จะให้กองทรัพหลวงกับกองทัพที่เมืองพิษณุโลกไปมาถึงกันได้สะดวก มีรับสั่งให้พระยาราชาเศรษฐีคุมกำลังชาวจีน จำวน 3,000 คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ คอยระวังรักษาเส้นทางลำเลียงและระวังข้าศึกที่จะยกมาทางลำน้ำโขง แล้วพระองค์เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปทางลำน้ำแควใหญ่ไปถึงปากพิง แขวงเมืองพิษณุโลก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ให้ตั้งค่ายหลวงอยู่ที่ปากพิง ด้วยเป็นปางคลองลัดทางเรือไปมาระหว่างลำน้ำแควใหญ่ที่ตั้งเมืองพิษณุโลกกับลำน้ำยมที่ตั้งเมืองสุโขทัย อยู่ได้เมืองพิษณุโลกลงมาเป็นระยะทางเดินหนึ่งวัน แล้วให้แม่ทัพนายกองคุมกำลังไปตั้งค่ายสองฟากลำแม่น้ำเป็นระยะขึ้นไป แต่กองทัพหลวงถึงเมืองพิษณุโลกให้จัดกองตระเวนรักษาเส้นทางคมนาคมทุกระยะ และให้มีกองปืนใหญ่ทหารเกณฑ์หัดเตรียมไว้เป็นกองหน้า สำหรับสนับสนุนทั่วไป ในเวลาที่ต้องการได้ทันท่วงที ให้พระศรีไกรลาศคุมพล 50 คน ทำทางริมลำน้ำสำหรับเดินกองทัพแต่ปากพิง ผ่านไปตามค่ายที่ตั้งอยู่ ตลอดถึงเมืองพิษณุโลก         
            ฝ่ายกองมอญที่พระยาเจ่งคุมไปดักพม่าที่เมืองกำแพงเพชร ได้ซุ่มสกัดทางพม่าที่ยกไปจากเมืองสุโขทัย พม่าไม่รู้ตัวก็แตกหนี ยึดได้เครื่องศัตราวุธของข้าศึกมาได้ แต่พม่ามีกำลังมากกว่าพอกองหลังตามมาทัน พระยาเจ่งก็ต้องล่าถอย กองทัพพม่าที่ยกมาเมืองกำแพงเพชรนั้นอะแวหวุ่นกี้สั่งให้ลงมาตีเมืองนครสวรรค์ อันเป็นที่รวบรวมเสบียงอาหารของกองทัพไทย และได้ตัดกำลังฝ่ายไทยที่จะยกไปช่วยเมืองพิษณุดลกด้วย พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้กองทัพพระยาราชภักดีและพระยาพิพัฒน์โกษาถอยลงมาสมสบกองทัพพระยาราชาเศรษฐี รักษาเมืองนครสวรรค์ เมื่อกองทัพพม่าทราบว่า กองทัพไทยตั้งรักษาเมืองนครสวรรค์แข็งแรง จึงยับยั้งตั้งค่ายอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร แล้วแต่งกองโจรเดินลัดป่าด้านตะวันตกอ้อมหลังเมืองนครสวรรค์ลงไปเมืองอุทัยธานี (เก่า) พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบความเคลื่อนไหวของข้าศึกว่าพม่าที่กำแพงเพชรตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโนนศาลาค่ายหนึ่ง บ้านถลกบาตรค่ายหนึ่ง บ้านหลวงค่ายหนึ่ง ลัวแยกกำลังลงไปทางเมืองอุทัยธานีกองหนึ่ง ทรงเกรงว่าข้าศึกจะไปซุ่มดักทางคอยตีกองลำเลียงข้างใต้เมืองนครสวรรค์ลงมา จึงโปรดเกล้าให้แบ่งกำลังพลในกองทัพหลวง จำนวน 1,000 คน ให้เจ้าอนิรุทธเทวาบัญชาการทั่วไป แล้วแยกออกเป็นกองน้อยสามกอง กองที่หนึ่งให้ขุนอินทรเดช กองที่สองให้หลวงปลัดกับหลวงสรวิชิต นายด่านเมืองอุทัยธานีบังคับ กองที่สามให้เจ้าเชษฐกุมารบังคับ ยกกำลังมาคอยป้องกันการลำเลียงเสบียงอาหาร และเครื่องอาวุธยุทธภัรฑ์ ซึ่งส่งขึ้นไปจากทางใต้แล้วแบ่งคนกองอาจารย์ลงมาช่วยที่เมืองนครสวรรค์กับให้ลงไปตั้งอยู่บ้านคุ้งสำเภา แขวงเมืองชัยนาทอีกกองหนึ่ง ทางใต้เมืองพิษณุโลกก็ให้ถอนกองทัพพระยาโหราธิบดี หลวงรักษ์มณเฑียรจากบ้านท่าโรงลงมาตั้งค่ายที่โคกสลุตในแขวงเมืองพิจิตรให้พระยานครชัยศรีลงมาตั้งที่โพธิประทับช้าง คอยป้องกันนักลำเลียงที่จะขึ้นไปตามลำน้ำแขวงเมืองพิจิตร อะแซหวุ่นกี้ให้กะละโบคุ้มกำลังมาตีค่ายไทยที่ตั้งอยู่เหนือปางพิง ให้มังแยยางน้องชายคุมกำลังข้ามฟากมาโอบหลังกองทัพหลวงที่ปางพิงทางด้านตระวันออก ตั้งค่ายรายประชิดกองทัพหลวงหลายค่าย สู้รบกันอยู่หลายวัน พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากนัก จะตั้งสู้รบอยู่ที่ปากพิงต่อไปจะเสียที ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 4 จึงให้ถอยทัพหลวงจากปากพิงมาตั้งมั่นอยู่ที่บางข้าวตอก แขวงเมืองพิจิตร กองทัพที่ตั้งรักษาตามระยะต่าง ๆ ก็ถอยตามทัพหลวงลงมาโดยลำดับหมดทุกกอง ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรีสีห์เห็นว่าจะรักษาเมืองพิษณุโลกต่อไปไม่ได้ เพราะขัดสนเสบียงอาหาร ถ้าอยู่ช้าไปจะเสียทีแก่พม่าจึงตกลงให้เตรียมการทิ้งเมืองพิษณุโลกให้เปิดประตู้เมืองยกกำลังออกตีค่ายพม่าทางด้านตะวันออก ตีหักออกไปได้แล้วรีบเดินกองทัพไปทางบ้านมุงดอนชมพู ยกกำลังข้ามเขาบรรทัดไปตังรวบรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ 4 เดือน จึงได้เมือง อะแซหวุ่นกี้ก็ยกกำลังเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองพิษณุโลก เมื่ออะแซหวุ่นกี้ได้เมืองพิษณุโลกแล้วเห็นว่าเสบียงอาหารอัตคัดมาก จึงจัดกำลังสองกองให้มังเยยางูคุมมาทางเมืองเพชรบูรณ์ทัพหนึ่งให้ไปรวบรวมเอาเสบียงอาหารที่เมืองเพชรบูรณ์และเมืองหล่มศักดิ์ส่งไปให้กะละโบ่คุมกำลังอีกกองหนึ่งยกมาทางเมืองกำแพงเพชร เพื่อแสวงหาเสบียงอาหารเช่นเดียวกัน เมื่อกำลังทั้งสองกองยกไปแล้ว อะแซหวุ่นกี้ก็ได้รับท้องตราว่า พระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์ จิงกูจาราชบุตรได้รับราชสมบัติ มีรับสั่งให้กองทัพกลับไปเมืองอังวะโดยเร็ว อะแซหวุ่นกี้จึงยกกองทัพกลับไปทางเมืองสุโขทัย เมืองตากไปออกทางด้านแม่ละเมา และสั่งให้กองทัพกะละโบ่ค่อยกลับไปพร้อมกับมังเยยางู พระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวว่าอะแซหวุ่นกี้ได้เมืองพิษณุโลกแล้วเลิกทัพกลับไปก็ทรงโสมนัสพระทัยยิ่งนัก คงเป็นเพราะหวังพระทัยว่าเมื่อทัพพม่าสิ้นเสบียงหมดกำลังก็เมืองอยู่ในเงื้อมมือไทย พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้กองทัพติดตามข้าศึกเป็นหลายกอง ให้พระยาพิชัยกับพระยาพิชัยสงครามยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาทุกขราษฏรเมืองพิษณุโลก หลวงรักษโยธา หลวงอัคเนศรเป็นกองหน้า พระยาสุรบดินทร์เป็นกองหลวงยกไปกองหนึ่ง ให้พระยาเทพอรชุน พระยารัตนพิมล พระยานครชัยศรียกไปกองหนึ่ง ให้พระยาธิเบศรบดีคุมพลอาสาจามยกไปกองหนึ่ง ทั้ง 4 กองนี้ ให้ไปตามตีกองทัพอะเซหวุ่นกี้ที่กลับไปทางเมืองตากแล้วให้พระยาพลเทพ หมื่นเสมอใจราษฏร์ หลวงเนาวโชติยกไปกองหนึ่ง พระยาราชภักดียกไปกองหนึ่งไปตามกองทัพมังเยยางู ซึ่งยอกไปทางเพชรบูรณ์ ให้พระยานนครสวรรค์กับพระยาสวรรคโลกยกไปตามกองทัพกาละโบ่ ซึ่งยกไปทางเมืองกำแพงเพชร ส่วนกองทัพหลวงอยู่รอรับครอบครัวราษฏรที่หนีออกมาจากเมืองพิษณุโลกอยู่ 11 วัน แล้วมีรับสั่งให้พระยายมราชมารักษาค่ายที่บางข้าวตอก คอยรวบรวมครอบครัวราษฏรต่อไป ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม 14 ค่ำ เดือนหก ปีวอก พ.ศ.2319 ก็เสด็จยกทัพหลวงมาประทับอยู่ที่ค่ายบางแขม แขวงเมืองนครสวรรค์ กองทัพไทยที่ยกติดตามกองทัพทังเยยางูไปที่บ้านนายมใต้เมืองเพชรบูรณ์ก็เข้าโจมตีฝ่ายข้าศึกหนีขึ้นไปทางเหนือ เข้าไปในแดนล้านช้างแล้วกลับพม่าทางเมืองเชียงแสน กองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เมื่อทราบว่าพม่าเลิกทัพกลับไปก็ยกำลังจากเพชรบูรณ์ไปทางป่าพระพุทธบาทผ่านแขวงลพบุรีขึ้นไปตามตีพม่า พระเจ้ากรุงธนบุรีประทับอยู่ที่ค่ายหลวงตำบลบางแขม ครั้นถึงเดือน 7 ปีวอก พ.ศ.2319 ทรงทราบว่ามีพม่าตั้งอยู่ที่กำแพงเพชร ประมาณ 2,000 คน จึงมีรับสั่งให้กองทัพพระยายมรามเดินบกไปทางฝั่งแม่น้ำด้านทิศตะวันตกกองหนึ่ง ให้กองทัพพระยาราชสุภาวดียกขึ้นไปทางฟากตะวันออกกองหนึ่ง ให้พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านโคนใต้เมืองกำแพงเพชรยกกำลังขึ้นไปสมทบกัน ณ วังพระธาตุ (เป็นวัดที่อยุ่นอกเขตเมืองไตรตรึงษ์) กับทัพพระยายมราชไปทางปากน้ำโบฟากตะวันตก และทัพพระยาราชสุภาวดีไปทางตะวันออกตามตีพม่าที่เมืองกำแพงเพชร 

ตีทัพพม่าที่เมืองกำแพงเพชร         
            ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปตั้งอยู่ที่ปากคลองขลุง ฝ่ายพม่าได้ยกหนีขึ้นไปทางเหนือ พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จกลับคืนพระนคร เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 14 คำ เดือน 7 กองทัพไทยไล่ตามตีกำลังพม่าที่ยังตกค้างอยู่ในไทยจนถึงเดือน 10 ปีวอก จึงขับไล่พม่าออกไปจากบ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรบุรีต่อกับเมืองนครสวรรค์ หนีออกไปทางด้านเจดีย์สามองค์ สมครามครั้งนี้ได้รบกันตั้งแต่เดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. 2318 ถึงเดือน 10 ปีวอก พ.ศ. 2319 เป็นเวลา 10 เดือน
           ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงมีทะแกล้วทหารหาญคู่พระทัยหลายคน คือ
           1. พระยาสุรบดินทร์
           2. พระยาอนรุักษ์ภูธร
           3. พระยากำแหงสงคราม
           4. พระยาพิชัยดาบหัก
           5. พระยาท้ายน้ำ
           6. พระยาพิพิธราชา
           7. เจ้าพระยาจักรี (แขก)
           8. เจ้าพระยาพิชัยราชา (หรือพิไชยราชา)
           9. เจ้าพระยาสุรสีห์
           10. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1291&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1291&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,112

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,259

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,370

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,399

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,134

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,246

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,713

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,788

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 732

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,729