เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,852

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก]

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร ต่อมาจนถึงสมัยของพระเจ้าชัยศิริ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพรหม ได้มีกองทัพของพวกมอญเข้ามารุกรานแคว้นโยนก ทำให้พระเจ้าชัยศิริต้องอพยพพาผู้คนลงมาทางใต้ และมาตั้งพักไพรพลอยู่ที่เมืองร้างตรงตรงข้ามกับ เมืองกำแพงเพชร (เมืองแปป) ต่อมามีชีปะขาวคนหนึ่งมาชี้ให้ตั้งพระนคร ณ สถานที่ซึ่งถือว่าเป็นชัยภูมิที่ดี ว่าแล้วชีปะขาวก็อันตรธานหายตัวไป พระเจ้าชัยศิริจึงแจ้งประจักษ์ในใจว่าองค์อัมรินทราธิราชแสดงมาชี้จุดให้ตั้งพระนคร จึงให้ตั้งพักพล ณ ที่นั้นอยู่เป็นเวลา 3 วัน แล้วจึงให้ฝังหลักเมืองตั้งเป็นพระนคร ล้อมระเนียดค่ายประตูหอรบครบบริบูรณ์ทั่วพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ครั้นสำเร็จจึงเสด็จขึ้นครองพระนคร ขนานนามว่าเมืองกำแพงเพชร และสถานที่ซึ่งพระอินทร์จำแลงกายเป็นชีปะขาว มาชี้ให้ตั้งพระนครนั้นได้ชื่อว่า เมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งเวลานั้นมีคนแสนครัวตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำตลอดสองฝากฝั่ง

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1325&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1325&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 958

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 789

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,772

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,880

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,489

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,835

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,232

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 613

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 16,274

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,168