จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้ชม 1,275
[16.4569421, 99.3907181, จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม]
นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง สภาพภูมิประเทศจึงเหมาะแก่การสร้างเมืองเป็นอย่างยิ่ง สมดังที่รื่นตัวเอกของนวนิยายทุ่งมหาราชได้กล่าวไว้ว่า
“ ที่นี่ดีทุกอย่างสำหรับจะอยู่จะกินจะตาย ” และ “ปากคลอง ที่เต็มไปด้วยป่าไม้, ข้าว, ไต้, น้ำมันยาง, สีเสียด, ยาสูบ, หนังสัตว์...” และ “คลองสวนหมากมีแต่จะเติบโตต่อไปโตวันโตคืนต่อไปหลายครั้งมาแล้ว มันเคยพินาศด้วยไฟป่า หลายครั้งมาแล้วเหมือนกันที่มันเคยย่อยยับไปด้วยอุทกภัยและโรคระบาด แต่ทุกครั้งภัยธรรมชาติเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งมันไว้ได้ ผู้ที่เหลืออยู่จะต่อสู้ดิ้นรนต่อไป ชีวิตใหม่ ๆ จะเกิดขึ้น ครอบครัวใหญ่ ๆ จะมาตั้งรกรากผืนแผ่นดินใหม่ ๆ จะถูกหักโค่น โก่งร้าง ป่าแดง ตั้งแต่พระเจดีย์กลางทุ่งมาจนถึงวังกระทะ และชานดงเศรษฐีกลายเป็นนา ป่ายางและเบญจพรรณระหว่างคลองเหนือคลองใต้ราบลงไปกลายเป็นบ้านไร่ หัวยาง วังยาง ก็กลายสภาพจากชุมนุมขึ้นเป็นหมู่บ้านในเวลาใกล้เคียงกัน”
หมายแต่งตั้ง นายชุ่ม ศุภดิษฐ์ ให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ตำบลคลองสวนหมาก ดังเนื้อความในหมายมีดังนี้ ”ที่ ๒ จากพระกำแพงพลล้าน ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร ประกาศแก่บรรดาผู้ได้พบและอ่านหมายนี้ ให้ทราบทั่วกันว่าตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร,ศ, ๑๑๖ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๗ โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตามสมัครใจของลูกบ้านเพื่อให้เป็นหัวหน้าดูแลกิจ สุข ทุกข์ ของราษฎรในหมู่บ้าน บัดนี้ราษฎรในหมู่ที่ ๕ ตำบลคลองสวนหมาก แขวงอำเภอเมือง โดยมากด้วยกันได้เห็นว่า นายชุ่ม บุตรนายเชื่อม แดงพัน เป็นผู้สัตย์ซื่อ โอบอ้อมอารีต่อชาวบ้านสมควรจะเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่นี้ได้ … หมายตั้ง เมื่อ ณ วันที่ ๑๑ เดือนกรกฎาคม ๒๔๕๖”จึงเป็นหลักฐานสำคัญ
ตำบลคลองสวนหมากเปลี่ยนมาเป็นตำบลนครชุมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ตาม พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่งพุทธศักราช ๒๔๘๒ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตราไว้ ณ วันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ ว่ารักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น" จึงได้เปลี่ยนชื่อจากตำบลคลองสวนหมากมาใช้ชื่อเป็น ตำบลนครชุมดังในปัจจุบัน จากเมืองนครชุมมาเป็น บ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม ในปัจจุบัน
คำสำคัญ : นครชุม, บ้านปากคลองสวนหมาก
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม. สืบค้น 9 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1407&code_db=610001&code_type=01
Google search
จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,256
ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,104
ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 3,787
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,047
เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,541
เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,188
กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,553
เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,289
กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า)
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,937
พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,445