นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 3,456

[16.3194159, 99.4823679, นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร]

เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง  เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์

          เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม
          เจดีย์เจ็ดยอดงามสม หมายถึง ภายในกำแพงเมืองโบราณของนครไตรตรึงษ์ มีวัดประจำเมืองคือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2449 เมื่อถึงนครไตรตรึงษ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “วิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง เรียกว่าเจดีย์เจ็ดยอด จะเป็นด้วยผู้มาตรวจตราค้นพบ สามารถจะถางเข้าไปได้แค่เจ็ดยอดแต่ที่จริงคราวนี้ เขาถางได้ดีกว่า จึงได้พบมากกว่า 7 คือ พระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์สามด้าน” เจดีย์เจ็ดยอด มีเจดีย์รายล้อม พระมหาเจดีย์ อยู่ 3 ด้าน รวม 14 องค์ ลักษณะเจดีย์ เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นลักษณะเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างก่อเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำาบัวหงาย จึงเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ ส่วนยอดพังทลาย ฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออก ทำเป็นซุ้มพระยื่นออกมา รายรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐหลายองค์ มีลักษณะที่งดงามมากสม เป็นวัดประจพเมืองไตรตรึงษ์ เมืองสวรรค์ชั้นที่สามสิบสามหรือดาวดึงส์เมืองแห่งอินทราธิราชเจดีย์เจ็ดยอดจึงงาม สมกับเมืองไตรตรึงษ์อย่างที่สุด
          ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์มีนิทานเล่ากันมาว่า เจ้าเมืองไตรตรึงษ์มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตา ทรงพระนามว่า นางอุษา ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไปด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่านายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวน ครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตนำกินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดา นึกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจน มาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อ ไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยมะเขือของนายแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้า พยายามสอบถามอย่างไรพระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่าใครคือพ่อของเด็กในท้อง ครั้นเมื่อพระกุมารได้เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้บรรดาขุนนางและเหล่าราษฎร์ทั้งหลายให้นำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกินของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาชายหนุ่มในเมืองต่างก็รีบเดิน ทางเข้าวังพร๎อมของกินดี ๆ นายแสนปมทราบข่าวก็เข้าวังมาด้วยเช่นกัน โดยถือเพียงข้าวสุกติดมือมาก้อนเดียว แต่พระกุมารรับไปเสวย ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้ว ที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพรํ มิหนำซ้ำยังอัปลักษณ์จึงขับไล่ออกจากวัง นายแสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้าไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามได้ดังสารพัดนึก (บางตำนานว่าเป็นฆ้อง) นายแสนปมอธิษฐานให้ปุ่มปมตามตัวหายไปแล๎วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอบ้านเมือง ขึ้นมาเมืองหนึ่งให้ชื่อว่าเมืองเทพนคร และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ท้าวแสนปม ปกครองไพรํฟ้าด้วยความสงบสุข และเชื่อกันว่าราชโอรสของท้าวแสนปมคือพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้ชื่อเสียงของท้าวแสนปมดังไปทั่วประเทศ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า นำไปพระราชนิพนธ์ เรื่องท้าวแสนปม ทำให้คนทั้งประเทศรู๎จักท้าวแสนปมมากขึ้น
           วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง หมายถึง ที่นครไตรตรึงษ์มีวัดขนาดใหญ่ นอกเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามลำน้ำปิง มีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เรียกว่า วัดวังพระธาตุ หลวงพ่อเจริญ ชูโชติ หรือพระครูสถิตวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดวังพระธาตุ อายุ 78 พรรษา บวชมา 58 พรรษา หลวงพ่อเล่าว่าเมื่อตอนที่หลวงพ่อมาอยู่ที่วัดวังพระธาตุนี้ก็พบว่ามี โบสถ์ เจดีย์ และวิหารอยู่แล้ว แต่ก่อนวัดแห่งนี้ไม่มีพระจำพรรษาอยู่เลย จะเริ่มมีพระมาจำพรรษาอยู่ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2493 และแต่ก่อนที่วัดแห่งนี้เป็นป่ารกร้าง บริเวณพระวิหารมีเนินดินและต้นไม้ ใหญ่ปกคลุมจนแทบมองไม่เห็นพระวิหาร ต่อมากรมศิลปากรก็ได้มาบูรณะให้ใหม่จนมีสภาพปัจจุบัน และยังพบว่า มีอุโมงค์จากเจดีย์ไปถึงแม่น้ำ ที่ทราบว่ามีอุโมงค์จากแม่น้ำไปถึงเจดีย์ ก็เพราะว่าเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจากแม่น้ำก็จะไหลเข้าไปในอุโมงค์ก็จะได้ยินเสียงสัตว์น้ำส่งเสียงบริเวณเจดีย์ และยังมีความเชื่อว่าในป่าบริเวณวัดมีเมืองลับแลอยู่ด้วย เนื่องจากมีคนเคยเห็นว่ามีคนกวักมือเรียกให้เข้าไปบริเวณป่านั้นด้วย นอกเมืองเก่า ไตรตรึงษ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีวัดโบราณที่สำคัญวัดหนึ่ง ประชาชนเรียกขานกันว่าวัดวังพระธาตุ เชื่อกันว่า ภายในพระมหาเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬบูชา ชาวบ้านในเขตใกล้กับวัดทั่วไปพบปรากฏการณ์มหัศจรรย์ คือ พระบรมธาตุจากวัดวังพระธาตุ จะลอยมามีขนาดประมาณผลส้มเกลี้ยงลอยวนไปมา แล้วลอยมาที่วัดเสด็จในเมืองกำแพงเพชร แล้วลอยไปที่วัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นอย่างนี้ทุกปีมา จนกระทั่งวัดเสด็จได้ชื่อว่าวัดเสด็จ คือพระบรมธาตุเสด็จนั่นเอง เป็นที่กล่าวสรรเสริญกันไปในยุค 50 ปีที่ผ่านมา เหตุผลที่เรียกขานกันว่าวัดวังพระธาตุเพราะหน้าวัดเป็นห้วงน้ำใหญ่ เรียกกันโดยสามัญว่า วังเมื่อมีพระธาตุตั้งอยู่ จึงเรียกกันว่าวังพระธาตุ ท่านเจ้าอาวาสพระครูสถิตวชิรคุณ ได้เล่าให้ฟังว่า บริเวณวังน้ำหน้าวัดใกล้กับศาลท้าวแสนปมเดิม มีวังน้ำขนาดใหญ่ มีอุโมงค์เข้าไปถึงองค์พระเจดีย์ มีสมบัติซ่อนอยู่มากมาย เมื่อน้ำปิงขึ้นสูงน้ำจะไหลเข้ามาตามอุโมงค์ จนมาถึงฐานพระมหาเจดีย์ มีแผ่นหินใหญ่ปิดไว้ แต่ปัจจุบันไม่มีหลักฐานให้เห็น นอกจากคำบอกเล่าเท่านั้น สถานที่สำคัญของวัดวังพระธาตุคือ พระมหาเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สมัยสุโขทัยขนาดใหญ่มากที่สุดเท่าที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล๎วจากกรมศิลปากร ศิลปะงดงามสร้างด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ เมื่อในปีพุทธศักราช 2449 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชร แวะที่วัดวังพระธาตุ ทรงบันทึกไว้ว้า ...พระธาตุนี้มีฐานแท่นซ้อนสามชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ เรียกว่า ทะนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉนเจ็ดปล้องปลีแล้วปักฉัตร ไม่ผิดกับพระเจดีย์เมืองฝาง.....องค์พระเจดีย์ ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร 4 ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญ อยู่ทิศตะวันออกเยื้องไม่ตรงกลางเขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล๎พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่ง ทั้งยืนหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เวลานี้มีพระซึ่งมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักกันมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาอยู่ที่นี้ คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิที่เยื้องหน้าพระธาตุ... พระวิหารสภาพชำรุดแต่เดิมเห็นแคํเนินดินเท่านั้น สร้างด้วยอิฐเป็นฐานเสาเป็นศิลาแลง คงสร้างในสมัยเดียวกับพระเจดีย์ เป็นวิหารยกพื้นมีบันไดห้าขั้นทางทิศเหนือและทิศใต้ สภาพได้รับการบูรณะแล้วบางส่วนเป็นรายละเอียดของวัดวังพระธาตุ
         เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์ นครไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร สร้างสมัยพระเจ้าชัยศิริหรือพระเจ้าศิริชัยเชียงแสนตาม ตำนานท้าวแสนปม และกำเนิดพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยา เมื่อราวปีพุทธศักราช 1547 เมืองไตรตรึงษ์มีกำแพงเมืองสามชั้นที่เรียกกันว่าตรีบูร สภาพกำแพงเมืองชั้นในยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ คูเมืองยังลึกและงดงามมาก กำแพงเมืองชั้นนอกสุดถูกปาดไปเป็นถนนส่วนหนึ่ง กำแพงชั้นกลางยังพอให้เห็นอยู่บ้างเล็กน้อย กำแพงชั้นในบางส่วนถูกไถเพื่อทำไร่น้อยหน่า ไร่มันสำปะหลังไปบ้าง การมาสำรวจเมืองไตรตรึงษ์ในครั้งนี้ พบว่าแนวกำแพงเมืองคูเมืองได้รับความเสียหายมาก กว่าเมื่อห้าปีที่ผานมาความจริงเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองที่สง่างามตั้งบนชัยภูมิที่เหมาะสม คือตำบลมอพระธาตุ น้ำท่วมไม่ถึงมีแม่น้ำปิงเป็นแนวคูเมือง ผันน้ำจากลำน้ำปิง มาหล่อเลี้ยงคูเมืองทั้งสามชั้น ต้องตามตำรับพิชัยสงคราม แต่กลับเป็นเมืองที่ทิ้งร้าง มาราว 200 ปี ถ้ามีโอกาสชุบชีวิตเมืองไตรตรึงษ์ขึ้นมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมจะสามารถทำได้สมบูรณ์ยิ่งใหญ่มากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกำแพงเพชรเลยทีเดียวเพราะแวะชมได้ง่ายและอยู่ไม่ห่างจากถนนพหลโยธิน ได้ไปพบกับคุณสมานและคุณสมพงษ์ วันเชื้อ สองสามีภรรยา ผู้พบเครื่องปั้นดินเผา แวดินเผา ลูกปัดโบราณจำนวนมาก ทั้งสองท่านเล่าว่าทุกวันที่มีฝนตกจะมีเครื่องปั้นดินเผาและลูกปัดโบราณสมัยทวาราวดี ลอยขึ้นมาจากดินจำนวนมาก
         ในบริเวณเมืองเก่าไตรตรึงษ์มีวัดประจำเมือง เรียกกันโดยสามัญว่าวัดเจดีย์เจ็ดยอดรูปทรงงดงาม แม้กรมศิลปากรจะขุดแต่งแล้ว แต่เมื่อเข้าไปใกล้เจดีย์ทั้งเจดีย์ถูกเจาะเข้าไปทุกด้าน ทั้งด้านบนและด้านล่าง เจดีย์รายทั้งหมดได้ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง ร่องรอยถูกขุดใหม่ ๆ ยังปรากฏอยู่ ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นพูดกันว่าป้องกันได๎ยากมาก เพราะผู้ขุดมาขุดในเวลายามวิกาล เมืองไตรตรึงษ์ในอดีตเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่มากมานับพันปี เป็นต้นกำเนิดของปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยา ในอนาคตเมืองไตรตรึงษ์อาจเหมือนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หรือเนรมิตให้เหมือนเวียงกุมกามที่เชียงใหม่ รับรองได้ว่าจะงดงามอย่างที่สุด 
        เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์ จึงเป็นคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์อย่างแท้จริง เมื่อผ่านเมืองนครไตรตรึงษ์ควรอย่างยิ่งที่ท่านจะได้ แวะชมความยิ่งใหญ่ของนครไตรตรึงษ์ แล้วท่านจะประทับใจอย่างที่สุด

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1334&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1334&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 17,380

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,265

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,120

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,068

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,414

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,643

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,039

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,472

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,421