ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,758

[16.3937891, 98.9529695, ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง]

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่           
          วัดคูยาง ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สภาพเดิมของวัดเคยเป็นวัดร้างมาครั้งโบราณไม่น้อยกว่า 400 ปี เคยมีซากโบราณสถาน อุโบสถและแท่นพระประธานก่อด้วยศิลาแลง วัดเดิมชื่ออะไร ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด ไม่มีใครรู้ได้แน่นชัด แต่ทราบต่อมาว่าเมื่อราวสมัยรัชกาลที่ 4 ระหว่าง พ.ศ. 2394-2399 ได้มีการสร้างวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งวัดเดิม ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้เข้าร่วมทัพไปปราบเมืองศรีสัตนาคหุต ตีเมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบางได้สำเร็จ จึงได้รับบำเหน็จเป็นเชลยชาวชาวเวียงจันทน์ ขมุ และยาง (กะเหรี่ยง) มาหลายร้อยครัวเรือน และได้จัดตั้งบ้านเรือนอยู่ตรามเขตนอกเมืองกำแพงเพชร และที่ปากคลองสวนหมากฝั่งนครชุม ชาวขมุและชาวยางที่เข้ามาปักหลักสร้างฐานมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงขออนุญาตต่อเจ้าเมืองกำแพงเพชร ทำการสร้างอุโบสถด้วยการขุดคูขนาดกว้าง 6 วา ลึก 2 วา แล้วเอาดินขึ้นมาถมพื้นที่ และยังเอาดินมาทำเป็นอิฐ กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ วิหาร ส่วนทางด้านทิศใต้ได้สร้างหอไตรเอาไว้กลางคูน้ำ เพื่อป้องกันมดปลวกเข้ามารบกวนพระคัมภีร์ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของชาวยางที่มุ่งส่งเสริมพระพุทธศาสนา ชาวบ้านเลยให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดคูยาง” (ยาง หมายถึง ชาวกะเหรี่ยง) เมื่อได้มีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ของวัดคูยางเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2523 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถทางด้านหน้า และพระนามาภิไธย ย่อ ส.ก. มาประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถทางด้านหลังของอุโบสถวัดคูยาง ถัดมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 ได้ทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปประธาน ซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 9 นิ้ว ว่า “พระพุทธวชิรปราการ”
          วัดคูยางจึงถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองกำแพงเพชร ด้วยเหตุเพราะมีโบราณสถานโบราณวัตถุ และมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินและบุคคลสำคัญได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนอยู่เป็นประจำ ดังหลักฐานที่ได้มีการบันทึกเอาไว้ ดังนี้
          เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2449 พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จวัดคูยาง พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ได้กล่าวไว้ดังนี้ “...วัดคูยางมีลำคูกว้างประมาณ 6 หรือ 8 วา มีน้ำขัง กุฏิและหอไตตั้งอยู่ในน้ำ แปลกอยู่ต่อข้ามคูเข้าไปจนถึงพระอุโบสถ ทางที่เข้าไปเป็นทิศตะวันตกด้านหลังหันหน้าออก ทุ่งมีพะรอุโบสถหลังย่อมหลังหนึ่ง วิหารใหญ่หลังหนึ่ง ก่อด้วยศิลาแลงเสริมอิฐถือปูน หลังคา เห็นจะผิดรูป เตี้ยแบนไป หลังวิหารมีพระเจดีย์มีฐาน 3 ชั้น อย่างพระเจดีย์เมืองนี้แต่ข้างบนแปลงเป็นพระปรางค์ เห็นจะแก้ไขขึ้นใหม่โดยพังเสียแล้ว ไม่รู้ว่ารูปทรงเดิมเป็นอย่างไร ในวิหารมีพระพุทธรูปต่าง ๆ ข้างจะดี พระครูเลือกไว้ให้เป็นพระ 4 ลีลา สูงศอกคืบกับอะไรอีกองค์หนึ่ง ต้นเต็มที่ไม่ใชอบจึงได้เลือกเอาเอง 4 องค์ เป็นพระยืนกำแพงโบราณแท้ เช่น เขรมองค์ 1 พระนาคปรกขาดฐาน เขาหล่อฐานเติมขึ้นไว้องค์ 1 พระกำแพงเก่าอีกองค์หนึ่ง พระชินราชจำลองเหมืองพอใช้อีกองค์ 1 กลับจากวัดหยุดถ่ายรูปบ้าง จนเที่ยงจึงได้ลงเรือเหลือง” ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พร้อมด้วยพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายา ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดคูยาง ปัจจุบันวัดคูยาง เป็นวัดอารามหลวง เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยของพระภิกษุ สามเณรและเป็นวัดศูนย์รวมการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร และภายในวัดยังมีความน่าสนใจของโบราณสถานให้ศึกษาอีกหลายอย่าง อาทิ หอไตรกลางน้ำ วิหารที่ประดิษฐานพระประธาน ตู้ พระธรรม และเจดีย์เก่า และน่าจะเป็นเรื่องที่ดี หากจะมีการสืบค้นข้อมูลถึงผู้คนและภาพถ่ายเก่า เพื่อบันทึกเรื่องราวสาระดี ๆ และเอกลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองกำแพงเพชร เอาไว้ให้คงอยู่ตลอดกาล

 

คำสำคัญ : ในหลวงเสด็จกำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง. สืบค้น 19 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1286&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1286&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,352

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,655

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,758

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 3,461

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,220

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,026

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,295

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 4,162

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 882

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,911